คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิโจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่: สิทธิของโจทก์ยังคงอยู่หากการถอนฟ้องมิได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล.ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล.ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาล แต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล.ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและ ล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำและการถอนฟ้องไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. โจทก์ได้ถอนฟ้องโดยระบุในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนฟ้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยต่อไปอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกัน มิใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไป และที่โจทก์ถอนฟ้องในคดีที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสามก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม - การบังคับคดีเกินความจำเป็น - สิทธิโจทก์
แม้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาและความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลยก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรกที่จะให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีเงินฝากอยู่กับโจทก์ 237,222.86 บาท และโจทก์สามารถตัดบัญชีชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีจำนวน 335,656.76 บาท ได้ แต่โจทก์กลับไปยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งมีราคาเป็นสิบล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินการบังคับคดีเกินความจำเป็น เมื่อจำเลยเองก็ไม่ได้ประวิงการบังคับคดี ทั้งได้ขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนภายใน 4 เดือน นับจากวันถูกยึดทรัพย์เช่นนี้จึงไม่สมควรที่จะให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิของโจทก์เมื่อจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลชั้นต้นขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1แล้วหากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยที่1คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์คดีถึงที่สุดแล้วต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1กับส่วนของพ.ออกขายทอดตลาดจำเลยที่2เป็นผู้ซื้อได้และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยที่2เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำเลยที่1โอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ให้แก่โจทก์นั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังประกาศขายทอดตลาดที่ดินส่วนของจำเลยที่1และพ. ตามคำสั่งศาลถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่1ไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาได้และเมื่อจำเลยที่1ได้คืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยนำมาวางไว้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของการบังคับคดีที่กำหนดไว้ก่อนหลังตามคำพิพากษาจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายการที่จำเลยที่2ซื้อที่ดินส่วนของจำเลยที่1และพ. จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลและจดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6361/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าตึกและผลกระทบต่อการบังคับคดี: ผู้เช่าอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์ การบังคับคดีไม่เกินคำพิพากษา
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์ก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินจำเลย เมื่อก่อสร้างเสร็จจำเลยยอมให้โจทก์จัดหาบุคคลมาเช่าตึกแถวดังกล่าวมีกำหนด 30 ปีต่อมาผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ตัวแทนโจทก์มีกำหนด 30 ปี โดยผู้ร้องได้จ่ายเงินให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ไป 300,000 บาทแต่ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยมอบอำนาจให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.เป็นตัวแทน สัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลย ส่วนโจทก์ทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย แต่มีข้อกำหนดว่าการทำสัญญาเช่านั้นให้ทำโดยตรงกับจำเลย มีกำหนดการเช่า 30 ปี สัญญาเช่าต้องนำไปจดทะเบียนการเช่า ดังนั้น การที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในตึกแถวห้องพิพาทโดยที่ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่ากับจำเลย จึงถือว่าผู้ร้องอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์ ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของโจทก์
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชดใช้หรือชำระเงินให้แก่จำเลยเดือนละ 68,000 บาท จนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารออกไปจากตึกแถวห้องพิพาทแม้มิได้มีข้อความใด ๆ ให้ขับไล่โจทก์และบริวาร ก็ตาม แต่ก็แสดงชัดเจนแล้วว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะต้องออกจากตึกแถวห้องพิพาท ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขับไล่ผู้ร้อง จึงมิใช่เป็นการบังคับคดีนอกเหนือคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911-3917/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าเช่าบ้าน: จำเลยไม่ใช่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน หรือโต้แย้งสิทธิโจทก์
ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้คืออธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงการคลังจำเลยมิได้เบิกจ่ายจากจำเลยโดยตรงจำเลยมิใช่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดจำเลยเป็นผู้ดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการจากเงินงบประมาณรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จำเลยกำหนดในคดีนี้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องเพียงแต่เป็นผู้ตอบข้อหารือของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่หารือไปว่ากรณีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งย้ายที่ทำการจากกรุงเทพมหานครไปตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีนั้นไม่ถือเป็นการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการเท่านั้นซึ่งการตอบข้อหารือของจำเลยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนั้นเป็นการปฏิบัติราชการภายในของฝ่ายบริหารระหว่างส่วนราชการของรัฐด้วยกันจำเลยจึงมิได้กระทำการใดที่ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดโดยตรงโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้จะมีการครอบครองต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ
ในชั้น ชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท2ประเด็นคือ1.โจทก์ให้คำมั่นจะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก6ปีหรือไม่2.โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ประเด็นพิพาทดังกล่าวเมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้วว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไปหรือไม่ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ครอบคลุมรวมถึงประเด็นที่จำเลยประสงค์ให้กำหนดไว้แล้วทั้งสองประเด็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมอีก คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมแม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญจำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538 สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา20ปีนับแต่วันที่13สิงหาคม2515จึงสิ้นสุดในวันที่13สิงหาคม2535โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา564การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยภายหลังสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วเพียง4วันแสดงว่าโจทก์ทักท้วงไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญากันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องครอบครองปรปักษ์ - จำเลยไม่โต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองตลอดมาโจทก์ขอรังวัดออกโฉนดทั้งแปลง เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่ารังวัดล้ำที่ดินจำเลยไม่ออกโฉนดให้โจทก์ จำเลยทอดทิ้งไม่เคยทำประโยชน์พิพาท โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองที่ดินของจำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินของจำเลยจนได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 และ 1375 แล้วก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองของโจทก์ดังกล่าวอย่างใด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7927/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ & การเพิกถอนนิติกรรม: สิทธิโจทก์เหนือกว่านิติกรรมที่ทำระหว่างคดีความ
พันตำรวจเอกป.ได้ยกที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของตนให้โจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองปลูกบ้านในที่พิพาทตลอดมาเกิน10ปีแล้วต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์พันตำรวจเอกป.ได้คัดค้านแม้ขณะนั้นคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลก็ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนและมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่พันตำรวจเอกป.ได้ยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่1และที่2เฉพาะส่วนที่พิพาทอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบได้ คำสั่งตัดพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่28กรกฎาคม2535และนัดฟังคำพิพากษาวันที่31สิงหาคม2535จำเลยมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนั้นได้แต่ก็หาได้ทำไม่จำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7789/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์ใหม่ได้
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ร่วม ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ไม่ได้ระบุว่าขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์คดีนี้ เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้อีกไม่ได้เพราะการเข้าร่วมเป็นโจทก์ถือว่าเป็นการฟ้องคดีใหม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงาน-อัยการผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้ และที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยนั้น จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ไม่ได้แล้วโจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้
of 14