คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7619/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในที่ดิน: โจทก์ครอบครองต่อเนื่องแม้มีผู้เช่า สิทธิยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยซื้อจาก ป. มารดาจำเลย จำเลยมิได้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารและยอมรับข้อเท็จจริงว่ามารดาจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์จริง ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย จำเลยต้องแสดงพยานหลักฐานให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยตามฟ้องมุ่งประสงค์เพื่อแย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์มาเป็นของตนมิใช่กระทำในฐานะแทนผู้ใด หากพิสูจน์ไม่ได้ย่อมเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าในศาล: ข้อตกลงให้รังวัดที่ดินเพื่อวินิจฉัยสิทธิ และผลผูกพันตามข้อตกลง
การท้ากันในศาลก็คือการแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ในฝ่ายนั้นชนะ
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินค่าทดแทนจาก กฟผ. หลังโอนสิทธิในที่ดินที่ถูกเวนคืน การกำหนดราคาค่าทดแทนต้องเป็นธรรม
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 3 กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินแปลงใด ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ในขณะดำเนินการสำรวจเพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงหรือผู้ที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังดำเนินการสำรวจแล้วก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทน การใช้ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม และโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะเข้าไปใช้ที่ดินพิพาท โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30(1) และมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3
พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เหมือนกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ซึ่งต่างมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นเพียงแต่พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนี้ การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 30 จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการต่อสู้คดีที่ขัดแย้งกับข้ออ้างเดิม: ประเด็นการรบกวนการครอบครองและการอ้างสิทธิในที่ดิน
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมเสียสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 นั้น คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบแต่เพียงว่า จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องการรบกวนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เพราะการรบกวนการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงขัดกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การที่ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อกฎหมายดังกล่าวมาก็เป็นการสั่งรับมาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8992/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของร่วมที่ดินในการขอเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิเมื่อถูกโต้แย้งจากการจดทะเบียนโอนที่ดิน
จำเลยร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจไปเป็นหลักฐานการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทได้รับความเสียหายในผลแห่งคดีหากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ท้ายคำร้องขอจะระบุว่า ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ก็ต้องถือว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) โดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องสอด หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(2) ไม่และศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: กรณีพิพาทสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย แม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรมเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้นแต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท กรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกกรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1713 (1) (2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทและการตั้งผู้จัดการมรดก: กรณีที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรม เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้น แต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทกรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดก กรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทกับมรดก: ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดก
ที่ดินตามคำร้องขอไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายเพื่อขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ ส่วนผู้คัดค้านก็มิได้กล่าวอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอเท่านั้นเมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท ไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดกแต่ประการใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองต้องมีเจ้าของเดิม การอ้างสิทธิของตนเองขัดแย้งกับประเด็นการแย่งการครอบครอง
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยยืนยันว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาของสามีจำเลย บุคคลดังกล่าวได้ยกให้แก่จำเลยและสามีจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยจำเลยไม่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์คดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น
เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสองหรือไม่ หรือโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะประเด็นนี้ขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยได้ให้การและฟ้องแย้งไว้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดามารดาของสามีจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนและการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดิน การฟ้องแย้งขับไล่สิทธิในที่ดิน
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทน บ. การที่โจทก์ขอออกใบจองและต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ โดย บ. คัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวก็ดี การที่โจทก์คัดค้านการที่ บ. ขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ก็ดี ล้วนแต่ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวไปยัง บ. ว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทไว้แทน บ. อีกต่อไป
of 46