พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: เริ่มนับจากวันครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อ ไม่ใช่แค่วันส่งมอบ
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้วฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้รับขนส่งสินค้าต่อความเสียหายสินค้าที่เกิดขึ้นจากการดูแลรักษาที่ไม่ดีพอ
การขนส่งสินค้าพิพาทเป็นการขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย (CY/CY)ซึ่งผู้ส่งรับตู้สินค้าไปบรรจุ ตรวจนับสินค้าเข้าตู้ ผนึกดวงตราที่บานประตูตู้สินค้าและส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ ลานวางตู้สินค้าโดยผู้ขนส่งมิได้เกี่ยวข้องกับการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า คงมีหน้าที่ขนส่งตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าโดยผู้ส่งมายังจุดหมายปลายทางคือท่าเรือกรุงเทพตามที่ตกลงกันดังระบุไว้ในใบตราส่ง และส่งมอบตู้สินค้าที่ขนส่งให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ณ ลานพักสินค้าของจำเลยที่ 3เพื่อให้โจทก์ผู้นำเข้าทำพิธีการทางศุลกากรและดำเนินพิธีการออกสินค้าต่อไป ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่มีหน้าที่ที่จะต้องนำสินค้าที่ขนส่งไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งแต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้รับตราส่งที่จะต้องมารับสินค้าดำเนินพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการดูแลสินค้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือของจำเลยที่ 1และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้นำตู้สินค้าพิพาทไปเก็บไว้ที่ลายพักสินค้าหน้าโรงพักสินค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผู้ขนส่งได้มอบตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้วแม้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตัวแทนเรือจะมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 3 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งมอบและรับมอบตู้สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือเดินทะเลต่างประเทศโดยมิได้มอบตู้สินค้าให้แผนกโรงพักสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้ใส่กุญแจให้มั่นคงแข็งแรงก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงและที่ปฏิบัติต่อกันถือว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบตู้สินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้รับตู้สินค้าพิพาทไว้ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งโจทก์ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำสินค้าบุหรี่ออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต่อไปดังนี้ตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าจึงไม่ใช่ยังอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และถือว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทำไว้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนแล้วหน้าที่การขนส่งสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง แม้ต่อมาสินค้าจะสูญหายไป จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และมิใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 มาปรับใช้ให้จำเลยที่ 1รับผิดเพราะมาตรา 623 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งเสียก่อน และเมื่อโจทก์ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปโดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของผู้ขนส่งที่เกิดขึ้นแล้วจึงสิ้นสุดลง สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือและโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน การที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งนำตู้สินค้าขนถ่ายลงจากเรือแล้วนำมาเก็บไว้ที่ลายโรงพักสินค้าภายในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 เป็นวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของจำเลยที่ 3และของเจ้าพนักงานศุลกากร และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าดังกล่าวซึ่งรวมถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นด้วย จนกว่าจะมีการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกไปจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 และการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกจากอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่าเรือของจำเลยที่ 3 ก่อน รวมทั้งจำเลยที่ 3 เรียกเก็บค่าภาระซึ่งหมายถึงค่าฝากสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และโจทก์ต้องชำระก่อนนำตู้สินค้าหรือสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3ซึ่งในกรณีคดีนี้จำเลยที่ 3 ก็ได้เรียกเก็บค่าภาระ จากโจทก์และโจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ต้องถือว่าตู้สินค้าที่เก็บไว้ที่ลานพักสินค้าในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ตู้สินค้า รวมทั้งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าซึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยก็เป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่จะหามาตรการที่เหมาะสมมาดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นเอง ดังนั้นเมื่อสินค้าบุหรี่พิพาทที่บรรจุในตู้สินค้าที่จำเลยที่ 3 รับควบคุมดูแลรักษาสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรมและจำนวนสินค้าบุหรี่ที่สูญหายไปมีจำนวนมาก ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์จะถูกโจรกรรมไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าละเลยต่อหน้าที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลรักษา อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้าและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมไปถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้านั้นด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์สูญหายไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่ามีพนักงานของจำเลยที่ 2 ช่วยดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าด้วยก็มิอาจปัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้รับสินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าให้พ้นไปได้ ดังนี้จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 สำหรับค่าขาดกำไรที่โจทก์เรียกร้อง โดยคำนวณจากราคาสินค้าที่ขายหักด้วยจำตนวนต้นทุนสินค้า ได้ความว่าโจทก์ขาดกำไรไปตามจำนวนที่ฟ้องและนำสืบจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องราคาสินค้าที่สูญหายไปซึ่งเป็นราคาของสินค้าในขณะที่มาถึงท่าเรือกรุงเทพแต่โจทก์เรียกกำไรที่ได้จากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องนำค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ามาพิจารณาประกอบด้วย และเมื่อคู่ความมิได้มีการนำสืบถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในข้อนี้ให้รับฟังได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควร หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและในมาตรา 224 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในหนี้เงินในระหว่างผิดนัดไว้ร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น ที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารอันเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าบุหรี่ที่โจทก์ซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียแก่ธนาคารในเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารที่ได้ชำระราคาสินค้าบุหรี่ไป จึงมิใช่เหตุโดยตรงจาก การ กระทำละเมิดที่โจทก์จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมและการสูญหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งให้ผู้รับสินค้าปลายทางทราบถึงการที่เรือมาถึง จำเลยที่ 2 ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1ไปติดต่อผู้รับใบตราส่งเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้าจากเรือไปยังสถานที่เก็บหรือการเปิดตู้สินค้า จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ร่วมทำการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือและมอบให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์แล้วขนสินค้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือฯ และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งหลายคนหลายทอด ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำค่าใช้จ่ายอีก10 เปอร์เซ็นต์รวมเข้าเป็นค่าเสียหายด้วยไม่ถูกต้อง ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามใบตราส่งปรากฏชัดว่าสินค้ามีรวมทั้งหมด 5 หีบห่อ และได้มีการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าสินค้าสูญหายไป 4 หีบห่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สินค้าสูญหายไประหว่างการขนส่งของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือและมอบให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นผู้เปิดตู้คอนเทนเนอร์แล้วขนสินค้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือฯ และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งหลายคนหลายทอด ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำค่าใช้จ่ายอีก10 เปอร์เซ็นต์รวมเข้าเป็นค่าเสียหายด้วยไม่ถูกต้อง ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตามใบตราส่งปรากฏชัดว่าสินค้ามีรวมทั้งหมด 5 หีบห่อ และได้มีการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าสินค้าสูญหายไป 4 หีบห่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สินค้าสูญหายไประหว่างการขนส่งของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9349/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อสินค้าและการรับผิดชอบหนี้ของเจ้าของร้านกับผู้ดำเนินกิจการจริง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงทรัพย์ที่ซื้อขายกันว่าเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงพร้อมทั้งระบุราคามาด้วย นับว่าได้แสดงให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ได้พอสมควรแล้วและโจทก์ยังบรรยายถึงรายละเอียดขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงมาในคำฟ้อง รวมทั้งแนบสำเนาใบส่งของชั่วคราว 2 ฉบับ มาเป็นเอกสารท้ายฟ้องแล้วยังระบุวันที่ส่งของกับลายมือชื่อผู้ส่งและผู้รับของ อันทำให้ทราบได้ว่าสินค้าตามที่บรรยายฟ้องคือสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยิ่งขึ้น ส่วนที่ข้อความเกี่ยวกับขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว มีตัวอักษรที่ไม่ใช่อักษรภาษาไทยแตกต่างจากคำว่า "ดี" ในส่วนที่บรรยายฟ้องไว้เพียงตัวเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจได้ว่าในการบรรยายฟ้องโจทก์ได้พยายามจะแปลความหมายของตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาไทยดังกล่าวนั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า แม้สินค้าต่างจำพวก หากก่อให้เกิดความสับสนแก่สาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 10ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเครื่องบอกเวลาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2494 เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎห้ายอด บนยอดมงกุฎแต่ละยอดมีจุดกลมสีดำ ใต้มงกุฎมีอักษรโรมันคำว่า ROLEX (โรเล็กซ์) ส่วนจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 39 รายการดินสอ และสินค้าจำพวก 39 ทั้งจำพวกเมื่อปี2524 และปี 2526 โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎห้ายอดมีจุดกลมสีดำอยู่บนมงกุฎเช่นเดียวกัน ใต้มงกุฎต่างมีอักษรโรมันคำว่า Lolex ซึ่งมีลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกัน ทั้งยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า "โรเล็กซ์" ด้วย เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจึงคล้ายคลึงกันมาก แม้จำเลยจะจดทะเบียนในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ ก็นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น แม้จำเลยจะยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่าย แต่การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามานานกว่า80 ปี และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41(1)นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22 ไว้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามานานกว่า80 ปี และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41(1)นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22 ไว้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และอำนาจฟ้องคดีของโจทก์
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัยหลายประเภท โดยมีหนังสือรับรองของสถานกงสุลไทย ณ เมืองบอสตันรับรองความถูกต้องของเอกสารรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องและไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเอกสารดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับอนุญาตให้ตั้งสาขาของบริษัทประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยจากทางราชการ
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป.โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณ มณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป.เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป.ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ.และ จ.ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ และได้มอบอำนาจให้ พ.มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ.จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ส.ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้ แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์ก ดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ.ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีกรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด.และ อ.ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้ พ.จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือจำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์ก ดังนั้น คำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่ เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตันซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์กเป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทย และจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล.และเรือ ม.บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งป.พ.พ.
บริษัท ซ.ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัยเป็นหนังสือมาแสดง
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป.โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณ มณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป.เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป.ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ.และ จ.ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ และได้มอบอำนาจให้ พ.มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ.จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ส.ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้ แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์ก ดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ.ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีกรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด.และ อ.ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้ พ.จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือจำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์ก ดังนั้น คำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่ เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตันซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์กเป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทย และจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล.และเรือ ม.บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งป.พ.พ.
บริษัท ซ.ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัยเป็นหนังสือมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากมิได้มีส่วนทำให้สินค้าเสียหาย
แม้จำเลยกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยกันจะต้องรับผิดร่วมกันในความสูญหายหรือบุบสลายต่อผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับว่าจำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหรือไม่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสินค้าที่ขนส่งมิได้เกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการขนส่งทอดแรกของจำเลยแม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายของสินค้า แม้ความเสียหายเกิดบนเรือเดินทะเล ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการนำเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าช่วงจากเกาะสีชังไปยังท่าเรือกรุงเทพ เพื่อนำสินค้ามอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทาง เมื่อจำเลยที่ 2 จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทมีวัตถุประสงค์ทางการค้าเกี่ยวกับกิจการขนส่งลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้า และหากเรือเดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามาจากต่างประเทศมีระวางว่าง จำเลยที่ 2 สามารถรับจองระวางและเรียกเก็บค่าระวางได้ทันทีจำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลรับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ การที่จำเลยที่ 2ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลที่เกาะสีชังไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครเป็นการทำหน้าที่ขนส่งทอดหนึ่งในเส้นทางขนส่งทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แม้สินค้านั้นจะสูญหายและบุบสลายในเรือเดินทะเล ผู้ขนส่งหลายทอดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าสินไหม-ทดแทนให้แก่โจทก์
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดต่อความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่1เป็นตัวแทนเรือต่างประเทศเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือที่เกาะสีชังเมื่อเรือดังกล่าวเดินทางถึงจำเลยที่1เป็นผู้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบและติดต่อว่าจ้างจำเลยที่2ให้นำเรือลำเลียง2ลำไปขนถ่ายสินค้าจากเรือต่างประเทศโดยมีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ไปดูแลเมื่อเรือลำเลียงถึงท่าเรือกรุงเทพจำเลยที่1ต้องจ้างคนงานพร้อมด้วยอุปกรณ์ในการขนส่งสินค้าไปเก็บที่โกดังของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้วออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้โจทก์หรือตัวแทนไปรับสินค้าพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการขนส่งสินค้าของผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในสัญญาประกันภัยสินค้าและการรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้าย
การที่บริษัทเอผู้ขายและผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลได้รับชำระราคาสินค้านั้นแล้วได้ส่งใบตราส่ง ใบกรมธรรม์ประกันภัย ใบกำกับสินค้าและใบรายการบรรจุหีบห่อไปให้บริษัทบี ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของบริษัทเอว่าประสงค์จะโอนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไปให้บริษัทบีแล้ว และเมื่อปรากฎว่าสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหาย บริษัทบีก็ได้ทวงถามให้จำเลยซึ่งบริษัทเชื่อว่าเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย จึงทวงถามโจทก์ผู้รับประกันภัย โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทบีไป ย่อมทำให้เชื่อว่าบริษัทเอผู้เอาประกันภัยได้บอกกล่าวการโอนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไปยังโจทก์ผู้รับประกันภัยแล้ว มิฉะนั้นย่อมไม่มีเหตุที่โจทก์จะยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทบี ฉะนั้น สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมโอนไปยังบริษัทบี ตามป.พ.พ. มาตรา 875 วรรคสอง เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้บริษัทบี โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้
การที่จำเลยขอนำเรือเข้า ติดต่อขอเช่าเรือลากจูง นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือ-แห่งประเทศไทย และการที่จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าพิพาท เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับ-ขนของทางทะเลในขณะเกิดเหตุข้อพิพาท
การที่จำเลยขอนำเรือเข้า ติดต่อขอเช่าเรือลากจูง นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือ-แห่งประเทศไทย และการที่จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าพิพาท เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับ-ขนของทางทะเลในขณะเกิดเหตุข้อพิพาท