คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล
จำเลยที่1เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานครโดยจำเลยที่1ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวพฤติการณ์ของจำเลยที่1เห็นได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่1เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609และมาตรา618ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่1เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลายแม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีแล้วแต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษาส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และการชดใช้ค่าเสียหายโดยบริษัทประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่า ในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้น จำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากพายุ และประเด็นการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
จำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าอ้างว่าสินค้าได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 ในการขนส่งสินค้าทางทะเลข้อที่จำเลยนำสืบคงได้ความเพียงว่าในระหว่างการขนสินค้าได้เกิดพายุขึ้นและมีคลื่นใหญ่เท่านั้นจำเลยมิได้นำสืบว่ากรณีดังกล่าวมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายได้หรือมิอาจป้องกันมิให้สินค้าเสียหายได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา8 ผู้ร้องสอดใช้สิทธิร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)จึงมีฐานะเสมอด้วยโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา58วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้ร้องสอด พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ไม่มีผลย้อนหลังเมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2535ซึ่งเป็นเวลาหลังจากเกิดเหตุคดีนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่คดีนี้ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้ขนส่งตามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าให้แก่ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้าจากจำเลยเพื่อนำไปขอรับสินค้าจากเรือและเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการกับเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรกรมเจ้าทากองตรวจคนเข้าเมืองและการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำเรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่าและมีสิทธิเรียกเก็บค่าระวางและค่าบริการที่ชำระปลายทางได้โดยได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลเมื่อสินค้าที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือบุบสลายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต่อความเสียหายสินค้า กรณีขนส่งต่อเนื่อง
นอกจากจำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการต่าง ๆ แทนบริษัทผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศแล้วจำเลยยังเป็นผู้จัดการในการขนถ่ายสินค้าจากเกาะสีชังลงเรือฉลอมแล้วนำเข้ามาที่โรงพักสินค้าของบริษัทบ. เพื่อส่งมอบให้บริษัทย.ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งอีกด้วย เข้าลักษณะร่วมขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายซึ่งต้องร่วมรับผิดในความเสียหายของสินค้าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาททั้งนี้ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตอนใดในระหว่างการขนส่งและจำเลยจะได้เป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายนั้นหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นค่าภาษีสินค้าที่เสียหายจากอุบัติเหตุทางเรือ ศาลมีอำนาจพิพากษายกเว้นได้ แม้เป็นดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากร
สินค้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรอาจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นได้ตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 95 แต่ในกรณีกรมศุลกากรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยย่อมถือได้โดยปริยายแล้วว่า อธิบดีกรมศุลกากรได้ใช้ดุลพินิจไม่ยกเว้นค่าภาษีให้แก่จำเลยตามมาตรา 95 ดังกล่าวแล้ว กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 95 ที่ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ยกเว้นค่าภาษีแก่จำเลยได้ แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สินค้าพิพาทถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ผู้นำเข้าควรได้รับการยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียแล้วพิพากษายกฟ้องเพื่อให้อธิบดีกรมศุลกากรใช้ดุลพินิจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียให้แก่จำเลยหรือไม่ต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้แทนเรือและผู้ขนส่งร่วม กรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนถ่าย
บริษัทผู้ขนส่งสินค้าเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทอ.โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเล จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักร หรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากร หรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้า รวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้า ตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทผู้ขนส่งสินค้าและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบว่า เรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย มอบสำเนาใบตราส่งให้โจทก์ ทำหนังสือขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ขนตู้สินค้าขึ้นจากเรือ ขนสินค้าออกจากตู้สินค้าและเรียกค่าบริการจากโจทก์ การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าว สินค้าที่ขนส่งมาย่อมไม่อาจถึงมือผู้ซื้อได้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฮ. ผู้ขนส่งทอดแรก อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนทางทะเล โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในความบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าไปโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันใดโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าว จำเลยจะขอให้คิดจากอัตราในวันที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าซึ่งมีอัตราต่ำกว่าไม่ได้ คดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง จำเลยจะอ้างว่ามีข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลในต่างประเทศโดยไม่ปรากฏข้อตกลงดังกล่าวในคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จก่อนสินค้าเสียหาย ไฟไหม้เรือไม่ใช่เหตุคืนภาษี
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก บัญญัติว่า ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ และมาตรา 41 บัญญัติว่า การนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จ แต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจาก เรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเรือ ล. นำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2531ซึ่งเป็น ท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงและจะถ่ายของจากเรือ ความรับผิดในอัน จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่โจทก์นำเข้าจึงเกิดขึ้นในวันที่17 กรกฎาคม 2531 เมื่อโจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่ นำเข้าสำเร็จแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ล. ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าอากรขาเข้าที่ได้ชำระ ไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) ข้อ 2กำหนดให้ผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการค้าพร้อมกับการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และชำระภาษีในวันนำเข้าและ ป.รัษฎากรมาตรา 78 เบญจ(1) บัญญัติว่า วันนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าตามมาตรา 78 ตรี และมาตรา 78 จัตวา หมายความว่าวันที่ ชำระอากรขาเข้าพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคแรก บัญญัติว่า การเสียภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ(1)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยในวันดังกล่าว แม้ของ ที่โจทก์นำเข้านั้นจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ซึ่ง โจทก์ยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของดังกล่าวไปก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิ แก่โจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ได้ชำระ ไปแล้วคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จเมื่อเรือเข้าท่า แม้สินค้าเสียหายก่อนตรวจปล่อย และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องเหตุใหม่
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็น อันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่าย ของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้นเมื่อเรือนำของที่ โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อ ส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับ ของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมาย ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ(1)แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร)ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้วจึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29.
of 8