คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว และการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เพราะปฏิบัติผิดกฎจราจรต่อมาหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยกล่าวกับโจทก์ว่าหากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ก็ไม่ต้องมาทำงานย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่านายจ้างสั่งให้โจทก์หยุดการทำงานไว้ก่อนจนกว่าจะได้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์กลับคืนมาเพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับว่าผู้มีหน้าที่ขับรถยนต์จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่อื่นในกรณีเช่นนี้ด้วยการที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานในระหว่างวันดังกล่าวโดยมิได้ยื่นใบลาหรือติดต่อมายังจำเลยจึงมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้สินค้าสูญหายแต่พิสูจน์ความประมาทเลินเล่อไม่ได้
โจทก์เกี่ยวข้องรับผิดชอบกับการเบิกจ่ายพัสดุโดยตรงเป็นผู้จ่ายตรวจ นับ คุมสินค้าอยู่ทุกวัน จำเลยผู้เป็น นายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เอาสินค้าไป และ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำการใดในหน้าที่การงานโดยปราศจากความระมัดระวัง หรือละเลยการอันจักต้องกระทำ ตามหน้าที่ หรืองดเว้นการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แม้โจทก์จะมี หน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบกับการเบิกจ่ายพัสดุโดยตรงและ สินค้าได้หายไป ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย จำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์กระทำการใดอันถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เพียงปรากฏข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่อยู่ในสถานที่ที่โจทก์ทำงานอยู่หายไป ยังไม่พอให้ถือได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: การคำนวณค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
ค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนแม้จะเป็นการจูงใจให้ขายสินค้าได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะ เดียวกันก็คือเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน ตามผลงานที่โจทก์ทำได้โดยตรงนั่นเอง ส่วนที่จำเลยได้กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างไร รวมทั้งจะมีการเรียกชื่อ เป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อวิธีการจ่ายค่านายหน้า อาจปรับได้กับความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง" ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมาข้างต้น จึงถือว่าค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษและ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยให้พนักงานหยุดพักได้วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 นาฬิกาตามแต่ผู้บังคับบัญชาจะเห็นสมควรโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งระบุว่า"พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนหรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์จึงหาได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในข้อดังกล่าวไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายรวมทั้งเงินสะสมด้วย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย รวมทั้งเงินสะสมด้วย คำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีนี้จึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อนและยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ต้องเสียค่าบริการพูดโทรศัพท์ตามอัตราที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกำหนด ค่าใช้บริการจึงเป็นสินจ้างและถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าโดยรับทำการงานเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น หนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว หากนายจ้างลดค่าจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มีข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล: การระบุลักษณะหนี้เป็นสินจ้างและการนับวันสุดท้ายของอายุความ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุของโจทก์ มีลักษณะเป็นสินจ้าง โจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลของโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความครบกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ การนับระยะเวลาวันสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องถือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรคมนาคม: โจทก์เป็นผู้ค้าเรียกค่าสินจ้าง อายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นนิติบุคคลมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการและการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมเพื่อความสะดวกแก่ประชาชน แม้โจทก์จะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ผู้ใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์โดยเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ค่าบริการดังกล่าวก็คือสินจ้าง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆ เมื่อโจทก์เรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรงกระทบต่อการทำงาน แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับก็มีผลให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วจะต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หรือไม่ แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ก็สามารถพิจารณาได้จากการกระทำของโจทก์ว่า เป็นการกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 หรือไม่ โจทก์ซึ่งมีอาการมึนเมาสุราได้ขอให้ ป.ผู้ร่วมงานช่วยตามหาภรรยาซึ่งหนีไป เมื่อ ป. ไปกับโจทก์ โจทก์ถือโอกาสพา ป. เข้าโรงแรมแล้วปลุกปล้ำแต่ ป. หนีมาได้ การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นความผิดอาญา เป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดี เป็นการประพฤติชั่วแล้ว ยังก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมงาน อันเป็นผลเสียกระทบกระเทือนถึงการงานของจำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
of 11