คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินบริคณห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสินบริคณห์ที่ภริยาทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ย่อมเป็นโมฆียะ แต่ยังไม่บอกล้างถือว่ามีผลใช้บังคับ
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่า โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสินบริคณห์โมฆียะแต่ยังไม่บอกล้าง โจทก์ฟ้องขับไล่ไม่ได้
ภริยานำเอาที่นาสินบริคณห์ไปให้จำเลยเช่าโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีสัญญาเช่านั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
แม้สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้บอกล้าง สัญญาเช่านั้นก็คงยังสมบูรณ์ การที่จำเลยเข้าทำนาโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมไม่เป็นละเมิด โจทก์จะฟ้องขับไล่หาว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่
ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมโดยพฤตินัยได้หรือไม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินบริคณห์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และประเด็นค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นภรรยาของโจทก์ ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์. และโจทก์ได้บอกล้างแล้วขอให้ศาลแสดงว่านิติกรรมเป็นโมฆะ. จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นภรรยาของโจทก์.และมีอำนาจทำนิติกรรมนั้นได้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายในการกู้ยืมและการฉ้อฉลเจ้าหนี้: ผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลย รู้เห็นการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยและได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยขายบ้านพิพาทให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ ดังนี้ ถือเท่ากับว่าผู้ร้องอนุญาตให้จำเลยทำนิติกรรมกู้เงินโจทก์โดยปริยายแล้วนิติกรรมการกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์จึงผูกพันสินบริคณห์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องผู้ร้องไม่มีสิทธิบอกล้างการที่จำเลยร่วมมือกับผู้ร้องแกล้งจำหน่ายบ้านพิพาทให้ตกเป็นของผู้ร้องในการหย่ากันมิให้เป็นสินบริคณห์ต่อไป โดยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327
โจทก์มีสิทธินำยึดบ้านพิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสามีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกส่วนของภริยาที่เป็นสินบริคณห์ แม้ยังไม่ได้แบ่งมรดก
ทรัยพ์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามีแม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกันก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์ และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของภริยาที่สมรสใหม่ และสิทธิของสามีในการฟ้องเรียกทรัพย์สินมรดกที่เป็นสินบริคณห์
ทรัพย์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามี แม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกัน ก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของภริยาและสามี: สินเดิม สินบริคณห์ อำนาจฟ้อง
ทรัพย์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามี. แม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกัน.ก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462. โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469. และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534. เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ในคดีมรดก: ศาลกะประเด็นถูกต้อง, การขอรับมรดกไม่ใช่กรมธรรม์ปิดปาก
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่ และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมา จึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ เป็นประเด็นขั้นที่สอง เมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย ไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก จำเลยย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลย หาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์ ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ เมื่อผู้ตายตาย จำเลยจึงขอโอนรับมรดก จำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ในคดีมรดก การรับมรดกย่อมสืบได้เมื่ออ้างว่าเป็นสินบริคณห์
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่ และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมาจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่เป็นประเด็นขั้นที่สองเมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก จำเลยย่อมนำสืบได้ว่าจำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลยหาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์ ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์เมื่อผู้ตายตาย จำเลยจึงขอโอนรับมรดกจำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ ศาลชอบธรรมในการกำหนดลำดับสืบพยาน และจำเลยมีสิทธิสืบหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องกรมธรรม์ปิดปาก
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า. ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า. ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่. และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่. ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมาจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น. ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่.เป็นประเด็นขั้นที่สอง เมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้.
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า. ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย. ไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย. และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก. จำเลยย่อมนำสืบได้ว่าจำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลย. หาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่.
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์. ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์. เมื่อผู้ตายตาย. จำเลยจึงขอโอนรับมรดก. จำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้.
of 15