คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ่งปลูกสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมหมดประโยชน์จากการถูกรอนสิทธิ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 30365 และคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 เป็นทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าบ้านโจทก์ขึ้นไปไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรต่อไปได้ ทางภาระจำยอมส่วนนี้จึงหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ ภาระจำยอมส่วนนี้จึงหมดไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภาระจำยอมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำทางภารจำยอม
ที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 30365 และคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 30363เป็นทางภารจำยอมหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าบ้านโจทก์ขึ้นไปไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรต่อไปได้ ทางภารจำยอมส่วนนี้จึงหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ ภารจำยอมส่วนนี้จึงหมดไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภารจำยอมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินเมื่อสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นตั้งอยู่บนที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอน/ขับไล่
แม้เดิมอ. จะเป็นผู้ปลูกสร้างตึกแถวพิพาทลงบนที่ดินพิพาทของตนเองโดยชอบก็ตามแต่ต่อมาอ. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่1กรณีจึงเป็นเรื่องตึกแถวพิพาทของจำเลยที่1ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทของโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยที่1โดยยอมให้จำเลยที่1มีสิทธิเป็นเจ้าของตึกพิพาทซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินดังกล่าวมาแต่เดิมแต่อย่างใดดังนั้นหากต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ตึกแถวพิพาทตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์อีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยที่1รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปแล้วแต่จำเลยที่1เพิกเฉยย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของตนได้โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ที่จะขอให้บังคับจำเลยที่1รื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้ เดิมจำเลยที่2ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับอ. ต่อมาอ. ทำพินัยกรรมยกตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่1เมื่ออ.ถึงแก่กรรมตึกแถวพิพาทตกเป็นของจำเลยที่1ซึ่งรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทของจำเลยที่2มาจากอ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองการอยู่ในตึกแถวพิพาทของจำเลยที่2จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุแล้วและโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทได้บอกกล่าวให้จำเลยที่1รื้อถอนตึกแถวพิพาทและได้บอกกล่าวให้จำเลยที่2ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยที่2เพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาโดยอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิดถือได้ว่าจำเลยที่2มีฐานะเป็นบริวารของจำเลยที่1โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่2ออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายกับจำเลยที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6189/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม ทางเดินร่วม การสร้างโรงรถบนที่ดินโต้แย้ง และกรรมสิทธิ์รวมในสิ่งปลูกสร้าง
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องมีใจความว่า ทางเดินพื้นคอนกรีตที่ได้ขยายขึ้นใหม่เพื่อเป็นทางคนและรถยนต์ผ่านเข้าออกระหว่างตัวบ้านกับถนนอรุณอัมรินทร์ภายในเส้นสีเขียวตามคำฟ้องข้อ 3 แผนที่ท้ายฟ้องหมายเลข 4ซึ่งเกิดขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยทั้งสองนั้น บัดนี้ได้ใช้ร่วมกันตลอดมาเป็นเวลาเกินสิบปีแล้วโจทก์จึงได้ภารจำยอมทางเดินพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แล้วนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วและเป็นประเด็นที่ยกขึ้นใหม่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม คำร้องขอเพิ่มเติม ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 แม้ในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ศ.ดำเนินคดีแทนโจทก์ จะไม่มีคำว่า ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ตาม แต่หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุให้ ศ.มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย ในกรณีที่จำเลยปิดประตูเหล็กห้ามมิให้โจทก์ใช้ที่ดินเป็นทางไปสู่ที่ดินและบ้านของโจทก์อันหมายถึงปิดทางในที่ดินพิพาท ซึ่งอาจจะเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นก็ได้แล้วแต่กรณี การฟ้องคดีตามคำฟ้องของ ศ. เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของการมอบอำนาจของโจทก์ บิดาโจทก์เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3064 เดิม และ ส.เจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2670 ได้สละที่ดินซึ่งคั่นกลางระหว่างที่ดินโจทก์กับจำเลยทั้งสองในปัจจุบันให้เป็นทางเดินร่วมกันเพื่อออกไปสู่ถนน ตั้งแต่ปี 2463 แล้ว จากนั้นบิดาโจทก์โจทก์ ญาติพี่น้องพร้อมทั้งบริวารได้ทางเดินดังกล่าวโดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภารจำยอมติดต่อกันมาเกินสิบปี โดยไม่มีผู้ใดทักท้วง เป็นการที่โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทโดยปรปักษ์ มิใช่โดยถือวิสาสะทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม แม้ทางในกรอบสีเขียวที่โจทก์อ้างว่าก่อนตั้งขึ้นโดยสัญญา ระหว่างโจทก์กับ ป. บิดาจำเลยจะมีอยู่ก็ตาม แต่ตามนิติกรรมการก่อตั้งมิได้มีระยะเวลากำหนดไว้ให้ใช้ได้นานเพียงใด ฉะนั้นคู่กรณีหรือผู้รับโอนสิทธิต่อมาย่อมจะยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยซึ่งรับโอนสิทธิและหน้าที่จากป.ไปปิดประตูเหล็กกั้นมิให้โจทก์และบริวารเข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาก่อตั้งทางภารจำยอมดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาทั้งยังมิได้สิทธิโดยอายุความ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในกรอบสีเขียวได้อีกต่อไป โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายให้แก่ป. บิดาจำเลยในการก่อสร้างทำพื้นคอนกรีตโรงรถกับประตูเหล็กเพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าก่อสร้างเพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความมั่นคงถาวรเป็นประโยชน์แก่การใช้ทรัพย์ของโจทก์มิใช่ช่วยออกเงินโดยเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์นั้นโจทก์จึงไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในพื้นคอนกรีตและสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินโจทก์และ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางผ่านและที่จอดรถในที่ดินภรรยา การสร้างสิ่งปลูกสร้างเกินสิทธิทำให้เกิดความเสียหาย
พ. และจำเลยที่ 2 ร่วมกันก่อสร้างตึกแถวขายโดยมีข้อตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถโดยจะไปจดทะเบียนภารจำยอมในภายหลัง ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ตามที่ตกลงกันไว้ แต่ข้อตกลงเช่นว่านั้นเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ไปจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเฉพาะเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถเท่านั้นดังนี้ การก่อสร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็น ที่จอดรถและประกอบกิจการอุตสาหกรรม ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำเช่นว่านั้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้ พ. สร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่จอดรถได้ แต่การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 1ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไป ถือว่าจำเลยที่ 1ได้ถอนการอนุญาตดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตเดินสายไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ไม่ผูกติดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 3 รวม 5 รายการ ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าตามสำเนาภาพถ่ายแผนผังสิ่งปลูกสร้างเอกสารท้ายฟ้อง ทั้งได้บรรยายข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวว่า โจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างระยะเริ่มต้นและระยะสิ้นสุดของเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ที่ไหน และมีสภาพอย่างไร รวมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดในเรื่องที่โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29 และ 32 โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 29 (3)ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 32 วรรคสอง ดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า และโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม พร้อมดอกเบี้ย
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องกระทำการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ยังสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม 2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534 ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่ 841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสามส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน 13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก 5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่26 เมษายน 2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลปรับเพิ่มค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันวางเงิน
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องกระทำการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่ยังสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ผู้ถูกเวนคืนระบุเรื่องว่า ขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนและสิ่งที่ส่งมากับหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาเกี่ยวกับค่าทดแทน และมีข้อความในหมายเหตุอีกว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่ตกลงทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 จะทำการวางเงินค่าทดแทนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว
สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนของจำเลยทั้งสองนั้น หลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายต่อกันแล้ว จำเลยที่ 1 จะมีหนังสือแจ้งโจทก์ผู้ถูกเวนคืนให้มารับเงินค่าทดแทนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ได้มาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1ต่อมาเมื่อครบกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์และมีหนังสือถึงโจทก์เรื่องแจ้งการวางเงินค่าทดแทน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการแจ้งโจทก์ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อไร และหนังสือฉบับดังกล่าวลงวันที่ 15 มีนาคม 2534 ดังนั้น โจทก์จะต้องได้รับหนังสือไม่เร็วกว่าวันที่ 15 มีนาคม 2534 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2534 ไม่เกินหกสิบวัน จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
อาคารโกดังคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวของโจทก์มีเนื้อที่ 841.30 ตารางเมตร ตรงกับเนื้อที่ตามฟ้องของโจทก์ แม้อาคารหลังนี้อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนเพียงบางส่วนเนื้อที่ 300 ตารางเมตรก็ตาม แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ขอให้เวนคืนส่วนที่เหลืออยู่ซึ่งใช้การไม่ได้แล้ว และไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ซึ่งถือว่ารัฐมนตรีฯ วินิจฉัยให้เจ้าหน้าที่เวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 วรรคสอง แล้ว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสามส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ ส่วนวันเริ่มต้นชำระดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย และปรากฏตามหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจำนวน4,149,515.37 บาท ไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม2534 ในนามของโจทก์ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจากเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวน 13,403,084.63 บาท แต่ต่อมาคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนได้แก้ไขราคาเบื้องต้นเฉพาะที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นอีก 5,607,000 บาท และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วเมื่อวันที่26 เมษายน 2536 นับแต่วันดังกล่าว ต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยจึงต้องลดลงจำนวน5,607,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ที่ดินต่อเนื่องต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันกับสิ่งปลูกสร้าง
อาคารคลังพัสดุของโจทก์มีพื้นที่ 3,360 ตารางเมตร ส่วนที่ดินอีก 98,944ตารางเมตร เป็นพื้นที่ในส่วนที่โจทก์มิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆโดยอยู่กระจัดกระจายกันไปและมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องอันจะใช้ไปด้วยกันกับอาคารคลังพัสดุ กรุงเทพมหานครจำเลยจะนำพื้นที่ดินที่โจทก์เช่ามาหักด้วยพื้นที่ที่โจทก์ใช้ก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างแล้วนำพื้นที่ส่วนที่เหลือมาประเมินรวมกับพื้นที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอาคารใดอาคารหนึ่งย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง
of 33