พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่เพิกถอนการรับอุทธรณ์คดีพิจารณาใหม่ และการสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งว่าคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาโจทก์ยังอุทธรณ์ไม่ได้ซึ่งมีความหมายว่าเป็นการไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์นั่นเองการที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยื่นตามคำปฎิเสธของศาลชั้นต้นนั้นแล้วคำสั่งนี้ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกมรดก: นับแต่วันสิ้นสุดการจัดการมรดก ไม่ใช่วันที่รู้
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง เป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง หาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียว จำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและ ท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีก ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบ โจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5 ปี นับแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527 เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2534 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง
ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียว จำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและ ท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีก ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบ โจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5 ปี นับแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2527 เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม2534 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อใด และเริ่มนับอายุความเมื่อใด
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกแทนที่ต้องฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งอายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองเป็นบทจำกัดอายุความฟ้องร้องเป็นกรณีพิเศษให้นับอายุความ5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงหาใช่นับแต่วันที่รู้ถึงการจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่ ทรัพย์มรดกคงมีที่ดินเพียงแปลงเดียวจำเลยได้โอนที่ดินมรดกโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนและท.เป็นผู้รับมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่24ตุลาคม2527โดยมิได้จัดการแบ่งมรดกให้แก่โจทก์และเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดที่จะจัดการต่อไปอีกถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้วเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเห็นว่าการจัดการมรดกไม่ชอบโจทก์ก็ต้องฟ้องภายในเวลาไม่เกิน5ปีนับแต่วันที่24ตุลาคม2527เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16ตุลาคม2534เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนผลประโยชน์จากหุ้นส่วนไปเป็นหุ้นในบริษัท ทำให้สิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนสิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท 2,000 หุ้น โดยไม่ได้ออกเงิน ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัท ก. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก. แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไป เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้น ส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้น ในบริษัท ก. อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้ว ข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไป ดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้น ส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่ แม้วินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนผลประโยชน์จากหุ้นส่วนไปเป็นหุ้นในบริษัท ทำให้สิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนสิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท 2,000 หุ้น โดยไม่ได้ออกเงิน ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัท ก. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก. แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไป เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก. อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้ว ข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไป ดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่ แม้วินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนผลประโยชน์จากห้างหุ้นส่วนไปเป็นหุ้นในบริษัท ทำให้สิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนสิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท2,000หุ้นโดยไม่ได้ออกเงินซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัทก. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัทก. แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไปเมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้นในบริษัทก. อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้วข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไปดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่แม้วินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ทายาทไม่ได้รับสิทธิเช่าต่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจาก ว.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ได้ให้จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำ ประกอบ และผลิตสินค้า โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ขออนุญาตโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาท ทำ ประกอบ และผลิตสินค้าเรื่อยมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่า ว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไป ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้ ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจากร.มีกำหนดเวลา30 ปี ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ร.ต้องยอมให้ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตาม แต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแก่ความตายสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ว.กับร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลงและมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว. จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ส่วนจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้ เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้น กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัด และให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา 30 ปี ด้วย หรือ แม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของ ว.หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ร.ผู้ให้เช่ากับว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาเดิมยังอยู่กินฉันสามีภริยาและไม่ถือว่าสิ้นสุด
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกันทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น3ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมืองเมียกลางนอกหรืออนุภรรยาและเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยาสำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึงหญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก2ประเภทก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยาแต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตามต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าบิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี2464ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง6คนและตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา5บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรสฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใดผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมาส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี2491ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน4คนแต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1452และมาตรา1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดภารจำยอมจากอายุความ 10 ปี ต้องบรรยายฟ้องชัดเจนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระยะเวลา10ปีที่เจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ทางภารจำยอมจนทำให้ทางภารจำยอมส่วนพิพาทสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399เป็นสาระสำคัญของสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ต้องบรรยายไว้ในฟ้องโดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองเมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า พ. และจำเลยมิได้ใช้ทางภารจำยอมส่วนพิพาท10ปีจนทำให้ทางภารจำยอมส่วนพิพาทสิ้นไปแม้ได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นเรื่องนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินตามมติ คชก. ต้องใช้สิทธิภายในกรอบเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นสิทธิจะสิ้นสุดลง
คชก.ตำบลบางหลวง มีมติให้โจทก์ซื้อที่นาจากผู้รับโอนในราคาไร่ละ30,000 บาท ด้วยเงินสดภายใน 30 วัน คชก.จังหวัดนครปฐมมีมติยืนยันมติของคชก.ตำบลบางหลวง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 12ตุลาคม 2533 ให้ยกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่า มติของ คชก.จังหวัดนครปฐมชอบแล้ว เมื่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิขอซื้อที่นาตามราคาและวิธีการชำระเงินดังกล่าวโดยโจทก์นัดให้จำเลยไปจดทะเบียนขายที่นาแก่โจทก์ในวันที่ 6 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาหลังมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นถึง4 เดือนเศษ โจทก์จึงไม่มีสิทธิซื้อที่นาจากจำเลย