คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นสุดสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระผูกพันตามสัญญาสัมปทานทำไม้, การสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน, และขอบเขตความรับผิดของผู้รับสัมปทาน
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า "ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้ บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด สิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่จำเลยยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง
ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทาน สัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทาน และบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่าหากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วย ความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธีการป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับสัมปทานยินยอมยกหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนหอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประมูลป่าไม้: หน้าที่บำรุงรักษาหลังสิ้นสุดสัญญา & การส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า"ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วนค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ตามวิธีการที่กรมป่าไม้ทั้งหมด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดสิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ จำเลย ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานโจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลงและกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทานสัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมี หน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่า หากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วยความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธี การป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับ สัมปทานยินยอมยกหกดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้ เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอน หอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าวจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีรายการเดินสะพัด และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญากับระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่ออีกคราวละ 6 เดือนตลอดไป หลังจากครบกำหนดสัญญา 12 เดือนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วได้มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักทอนบัญชี เพื่อชำระหนี้ แต่ก็ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันครบกำหนด ตามสัญญา แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่าเมื่อถึงกำหนด 12 เดือนและไม่มีการต่ออายุการเบิก เงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณี ที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิก เงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และการสิ้นสุดสัญญา
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปีเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ดังนี้ หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญาเมื่อไม่มีการเดินบัญชี
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัดทางบัญชี & อายุความหนี้
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลย คงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และเจ้าหนี้ฟ้องช้าเกินอายุความ
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลยคงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การต่ออายุโดยปริยาย การสิ้นสุดสัญญา และการคิดดอกเบี้ย
เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาอีก แม้โจทก์ไม่สนองรับแต่ก็ยอมให้มีการเดินสะพัดในบัญชีกระแสรายวันต่อไป การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับยอมให้ต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับ เมื่อครบกำหนดสัญญาก็ยังคงมีการเดินสะพัดในบัญชีต่อไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือ ถือได้ว่ามีการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปคราวละ 6 เดือน ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ปรากฏว่ามีการถอนเงินและการนำเงินเข้าบัญชีถึงวันที่ 7 เมษายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการถอนเงินจากบัญชีอีก จึงถือว่าคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะเดินสะพัดในบัญชีต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นกำหนดต่ออายุสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญา ต่อจากนั้นคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการเช่าเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต และขอบเขตของสิทธิการโอนการเช่าตามสัญญา
การเช่าทรัพย์สินนั้นปกติฝ่ายผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าจะสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าและในการดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ฉะนั้นสิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัวเมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าเป็นอันระงับไปไม่ตกทอดไปถึงทายาทที่สัญญาเช่าข้อ4ระบุว่าในระหว่างสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาผู้เข่ามีสิทธิที่จะโอนการเช่าให้แก่ผู้อื่นได้แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินให้แก่ผู้ให้เช่านั้นเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนการเช่าในระหว่างที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่ายังมีชีวิตอยู่ซึ่งอาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา544และเป็นเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาหาได้ตกทอดมายังจำเลยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่าหลังผู้เช่าเสียชีวิต: สิทธิการฟ้องขับไล่ทายาทและผู้เช่าช่วง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจาก ว.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ได้ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำ ประกอบ และผลิตสินค้า โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ขออนุญาตโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาท ทำ ประกอบ และผลิตสินค้าเรื่อยมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่า ว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไป ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจาก ร.มีกำหนดเวลา 30 ปีซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ร.ต้องยอมให้ ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตาม แต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแก่ความตาย สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ว.กับ ร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลง และมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างว.กับจำเลยที่ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว.จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจาก ว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้
เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้น กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัด และให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา 30 ปี ด้วย หรือแม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของ ว. หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ร.ผู้ให้เช่ากับ ว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว.
of 21