คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิ่งราวทรัพย์ การสืบพยานก่อนฟ้อง และการรับฟังพยานหลักฐานผ่านล่ามที่ไม่ได้รับการรับรอง
การสืบพยานผู้เสียหายไว้ก่อนเพราะจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรอันยากแก่การนำมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ส่วนการสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีแม้จะมีการพิมพ์ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ก่อนสืบพยานได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ต้องการทนายความ"แต่จำเลยก็มิได้ยืนยันว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่กลับบอกว่าจำไม่ได้ว่าศาลถามหรือไม่ จึงต้องฟังว่าศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยในเรื่องทนายความแล้ว การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบ
การที่โจทก์จัดให้ อ. เพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่าม ให้เป็นล่ามการสืบพยานผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้นไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การโอนเช็ค, การฉ้อฉล, การสืบพยาน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้สืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ออกเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องคืนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีหนี้สินต่อกัน ซึ่งโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้ว จำเลยที่ 3 นำเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ไปฝากไว้กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 กับโจทก์มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้ง โจทก์ครอบครองเช็คพิพาทแทนจำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 เคยทำหนังสือยอมรับว่าเช็คพิพาท 3 ฉบับ ไม่มี
หนี้สินต่อกันตามสำเนาเอกสารท้ายคำให้การ ตามคำให้การดังกล่าวเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 เป็นคำให้การที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ทำให้มีประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันโอนเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
ประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นประเด็นในเรื่องที่โต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกขึ้นต่อสู้ตลอดมาทั้งในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและจำเลยไม่อาจยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นที่ได้ให้การต่อสู้ไว้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความ และพิพากษาให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาทได้ ทั้งนี้อาศัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5036/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษีและการให้ความร่วมมือของโจทก์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานตรวจสอบในการตรวจสอบภาษี โดยไม่ยอมตอบข้อซักถามใด ๆ อันเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบโดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ส่งมอบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในหมายเรียก แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมานั้นยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ยอมตอบข้อซักถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องอะไรบ้าง ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 25 ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ศาลพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้นเรื่องความสงบเรียบร้อย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเป็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญาและมีการชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ในอนาคต และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองกับโจทก์ตามสัญญาจำนองสี่ฉบับจริง แต่เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้อื่นที่ได้ชำระไปแล้วไม่ใช่หนี้ในคดีนี้ เป็นการขอแก้ไขคำให้การโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อเถียงเพื่อหักล้างข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งให้งดชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 จึงต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว ย่อมเป็นการล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะขอแก้ไขคำให้การได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การไม่ได้
จำเลยที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อศาลแพ่ง โจทก์นำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้อน เป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่จำเลยที่ 2จะขอแก้ไขได้ แม้จะเป็นการยื่นคำร้องภายหลังวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องกระทำก่อนสืบพยาน หากมิได้กระทำก่อนและไม่มีเหตุสมควร ศาลยกคำร้องได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเมื่อปี 2521 ในราคา 30,000 บาท โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ข้ออ้างที่ว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม แม้โจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ศาลควรพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นให้นัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์วันเดียวกัน ครั้นถึงวันนัดฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นให้สืบพยานจำเลยจนเสร็จ และถือว่าโจทก์ที่ไม่มาศาลไม่ติดใจสืบพยาน และมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในช่วงบ่ายโจทก์ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์เนื่องจากจดเวลานัดผิดพลาด ซึ่งขณะนั้นศาลชั้นต้นก็ยังมิได้พิพากษา ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า โจทก์ได้มาศาลก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาคำร้องของโจทก์ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า คดีต้องมีการสืบพยานจำเลยรวม 13 นัด โดยสืบพยานในช่วงเช้า 4 นัด และช่วงบ่าย 9 นัด แต่สืบพยานจำเลยได้เพียง 4 นัด นอกจากนี้อีก 9 นัด ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเอง 1 นัด และฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดี 8 นัด ซึ่งทุกนัดฝ่ายโจทก์มาศาล แสดงว่าฝ่ายโจทก์เอาใจใส่คดีมาตลอด การที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์ในช่วงเช้า แต่ไปศาลในช่วงบ่าย จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าทนายความโจทก์จดเวลานัดผิดพลาดจริง ชอบที่จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมหลังศาลถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ต้องพิจารณาเหตุผลสมควรเพื่อให้ความเป็นธรรม
ศาลชั้นต้นกำชับมิให้ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีไว้แล้ว การที่ในนัดสุดท้ายซึ่งเป็นวันสืบพยานจำเลยพร้อมสืบพยานโจทก์ โจทก์มิได้ไปศาล และศาลชั้นต้นขึ้นนั่งพิจารณาคดีสืบพยานจำเลยในเวลา 11 นาฬิกา จนเสร็จโดยถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน แล้วมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในเวลาบ่ายทนายโจทก์ได้ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอสืบพยานโจทก์โดยให้เหตุผลว่าจดเวลานัดผิดพลาดเป็นเวลาบ่าย ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ถือว่าเป็นเหตุผลสมควรที่จะให้โจทก์มีโอกาสนำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องมีการสืบพยานหลักฐานบางแล้ว จึงจะยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หมายถึง ผู้ยื่นคำขอจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่ได้ เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก
คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาคตในชั้นอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการสืบพยานจำเลยแม้แต่ปากเดียว จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยจะมายื่นคำร้องขออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องอนาถาต้องมีการสืบพยานก่อน หากไม่มีการสืบพยาน ศาลชอบที่จะยกคำร้องได้
ตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่มีความหมายว่าผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลย เนื่องจากในวันนัดไต่สวนคำร้องจำเลยไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ยกคำร้องของจำเลย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำร้องใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้ ศาลชอบที่จะยกคำร้องโดยไม่จำต้องรับคำร้องดังกล่าวไว้ไต่สวนอีกต่อไป
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาเป็นพับแก่จำเลยนั้น จึงเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีการสืบพยานเบื้องต้นก่อน จึงจะยื่นคำร้องใหม่ขอแสดงพยานเพิ่มเติมได้
จำเลยอ้างในคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาว่า จำเลยเป็นคนยากจนและจำเลยต้องถูกจำคุกตามคำพิพากษาศาลฎีกา ยิ่งทำให้ครอบครัวจำเลยซึ่งไม่มีรายได้อื่นต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจำเลยไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยโดยไม่มีการไต่สวน ทำให้จำเลยไม่ได้เสนอพยานหลักฐานเกี่ยวกับความยากจนของจำเลยต่อศาล หากจำเลยเสนอพยานหลักฐานแล้วจะทำให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นคนยากจน ขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจนและให้มีการพิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยใหม่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิขอสืบพยานเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิใช่จำเลยตกเป็นคนยากจนลงภายหลังและจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามมาตรา 156 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มีความหมายว่า ผู้ยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลยเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ของจำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า ตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาให้เป็นพับแก่จำเลย จึงไม่ถูกต้อง
of 98