คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิในสัญญาจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต และผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยทายาท ทำให้ค้ำประกันยังผูกพัน
การที่ผู้จำนองและผู้รับจำนองถึงแก่ความตายและทายาทของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าสวมสิทธิ์เป็นผู้จำนองและผู้รับจำนองต่อไปเช่นนี้ไม่มีลักษณเป็นการแปลงหนี้ตามกฎหมาย
ผู้จำนองตายทายาทของผู้จำนองได้ไปขอโอนรับมฤดกลงนามเป็นเจ้าของในหน้าโฉนดที่ดินที่จำนองแล้วมอบโฉนดให้ผู้รับจำนองยึดถือไว้ต่อไปดังนี้ ถือว่าทายาทของผู้จำนองยอมรับสภาพสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง อายุความย่อมสดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยสัญญามีข้อความว่าถ้าแม้ที่ดินราคาไม่พอกับต้นเงินที่รับจำนองไว้ จะยอมใช้ให้จนครบดังนี้ ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิมรดกเมื่อบุตรแยกเรือนและบิดาเสียชีวิต สิทธิในมรดกตกแก่ผู้รับพินัยกรรม
บุตร์ที่มีสามีแยกเรือนไปอยู่ต่างหาก เมื่อบิดาตายไม่ได้กลับเข้ามาปกครองมฤดกอีก มฤดกส่วนของบิดาต้องตกเปนของมารดา ๆ มีสิทธิจะทำพินัยกรรม์ยกให้แก่ใครก็ได้ วิธีพิจารณาแพ่ง ตัดสินไม่เกินฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8686/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในศาลเดียวกัน กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมรดก และการสืบสิทธิของคู่ความ
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3148/2545 กับคดีนี้มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ส. เป็นเจ้าของรวมหรือมีกรรมสิทธิ์รวมในห้องแถวเลขที่ 1383/32 และเลขที่ 1379/1 - 2 หรือไม่ คดีทั้งสองจึงเป็นประเด็นอย่างเดียวกัน แม้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีใจความสำคัญเพียงว่าในศาลเดียวกันห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โดยมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องมีความหมายว่าคู่ความที่ฟ้องร้องกันจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันหรือเป็นบุคคลที่สืบสิทธิในการฟ้องร้องและดำเนินคดีมาจากคู่ความเดิมด้วยแล้วแต่กรณี เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจาก ส. และ ว. ตามลำดับ คดีทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในศาลเดียวกัน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสืบสิทธิในที่ดินหลังการขายฝากไม่ไถ่ถอน สิทธิอยู่ที่ผู้รับขายฝาก
ค. บิดาโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 139 ซึ่งรวมที่ดินพิพาทด้วยแก่ บ. ภริยาจำเลยแล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด สิทธิในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของ บ. แม้ ค. ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาเป็นเวลานานเพียงใดก็เป็นการครอบครองแทนและโดยอาศัยสิทธิของ บ. หาได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่ และหลังจาก ค. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ค. แล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จึงไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร และโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครอง การครอบครองและรับโอนที่ดินพิพาทเป็นการสืบสิทธิของ ค. โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า ค.ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง บ. หรือจำเลยผู้ครอบครองว่าโจทก์ไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่อย่างใด แม้โจทก์จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้สืบสิทธิทายาทร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากทายาทที่มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดก ผู้สืบสิทธิของทายาทก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายมีสิทธิเรียกร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
ส. เป็นบิดาของ ศ. เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ ศ. ย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของ ศ. ซึ่งรวมทั้ง ส. ด้วย แต่ ส. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ศ. ส่วนที่ตกได้แก่ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งรวมทั้ง ภ. บิดาผู้ร้อง ต่อมา ภ. ถึงแก่ความตายอีก ทรัพย์มรดกส่วนนี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ ภ. ผู้ร้องเป็นผู้สืบสิทธิของทายาทโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ภ. ย่อมมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ศ. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และ ภ. อ้างว่าเนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งมีชื่อ ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น และ ภ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ตามคำสั่งศาลถึงแก่ความตายไป อันเป็นผลทำให้ไม่มีผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ศ. และการจัดการทรัพย์มรดกของ ศ. ยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อผู้ร้องมีสิทธิร้องขอจัดการทรัพย์มรดกคือที่ดินของ ศ. แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะมาร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของ ส. และ ภ. ในที่ดินแปลงเดียวกันนั้นอีก
of 4