คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งมอบเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ของตัวแทนในการส่งมอบเงินตามที่ได้รับมอบหมาย หากไม่ส่งมอบต้องคืนเจ้าของ
โจทก์ได้มอบเงินแก่จำเลยให้นำไปฝากแก่นายโฮกไว้สำหรับทำบุญ 100 วันศพภรรยาโจทก์นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ให้นำเงินไปฝากแก่นายโฮก. จำเลยมีหน้าที่นำเงินที่ได้รับมอบไว้นั้นไปให้แก่นายโฮก.ถ้าไม่นำไปให้แก่นายโฮก ก็จำต้องคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงิน, การโอนหนี้, และน้ำหนักพยาน: การส่งมอบเงินไม่จำเป็นต้องทันที การบอกกล่าวการโอนมีผลผูกพัน
การกู้เงินกันนั้นหาจำต้องส่งมอบกันในขณะกู้ไม่ จะส่งมอบกันเมื่อใดก็ได้ การโอนหนี้นั้น แม้ผู้รับโอนจะยังมิได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ก็ไม่ทำให้การโอนไม่สมบูรณ์ วิธีพิจารณาแพ่ง ประเด็น ตัดสิน ตัดสินนอกประเด็น ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.98 คำของผู้เชี่ยวชาญไม่มีน้ำหนักดีกว่าประจักษ์พะยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมต้องชัดเจนว่ามีการส่งมอบเงินจริง แม้ใบคำขอมีลายมือชื่อผู้กู้
แม้หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง อาจมีขึ้นก่อนหรือหลังทำสัญญากู้ก็ตาม อย่างไรก็ดี ตามใบคำขอใช้บริการสินเชื่อระบุข้อความให้ธนาคารที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องมา โอนเงินกู้สินเชื่อเมื่อผ่านขั้นตอนการอนุมัติแล้วแก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานของธนาคารที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องมาได้บันทึกไว้ในเอกสารหมายใดให้เชื่อมโยงกันว่าเงินกู้จำนวนดังกล่าวได้ถูกโอนเข้าบัญชีของจำเลย ประกอบกับตามรายการคำนวณยอดหนี้สินเชื่อบุคคล เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว เช่นเดียวกับแบบพิมพ์ข้อมูลแสดงรายการที่ระบุว่าจำเลยรับเงินกู้ ก็เป็นเอกสารของธนาคารที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องมาทำขึ้นเอง กับทั้งระบุความเพียงว่ามีการโอนเงินเข้าฝากในบัญชีออมทรัพย์ธนาคารที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้อง ในชื่อของจำเลย โดยไม่มีลายมือชื่อจำเลยลงนามไว้แต่อย่างใด ดังนี้ ใบคำขอใช้บริการสินเชื่อที่จำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อของผู้กู้ จึงไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์จะใช้ฟ้องร้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9925/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุข้อฎีกาใหม่ ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ แม้เป็นเรื่องการส่งมอบเงินผ่านบริษัทจัดหางาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ 230,000 บาท และได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นคนจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 โดยตรงไม่ได้ผ่านบริษัทจัดหางาน ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับเงินกู้ 230,000 บาท จากโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำนวน 230,000 บาท และจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินดังกล่าวไปมอบให้บริษัทจัดหางานทันที จำเลยที่ 1 จึงได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ เป็นกรณีที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์โดยตลอดว่า โจทก์มอบเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน 230,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน โดยวินิจฉัยว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้ยืมเงิน ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับเงินกู้ 230,000 บาท จากโจทก์ ดังนี้ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศให้แก่จำเลยทั้งสามไปก่อน และถือว่ามีการส่งมอบเงินที่โจทก์ให้จำเลยทั้งสามยืมแล้ว หาใช่ว่าจำเลยทั้งสามต้องรับเงินจากโจทก์โดยตรงไม่ เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงยุติว่า โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศให้แก่จำเลยทั้งสามผ่านบริษัทจัดหางานไปก่อนหรือไม่ เพียงใด ที่โจทก์ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีกู้ยืมเงิน: สาระสำคัญอยู่ที่การทำสัญญาและส่งมอบเงิน ไม่ใช่การถอนหรือฝากเงิน
คำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 480,000 บาท จึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653 ว่าจะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ซึ่งโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกันตามเอกสารท้ายฟ้อง การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยจึงอยู่ในบังคับของบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) กล่าวคือโจทก์จะนำสืบพยานบุคคลหรือกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นนอกเหนือไปจากสัญญากู้ยืมเงินหาได้ไม่ ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่าทำที่เขตกรุงเทพมหานครเป็นความเท็จ ความจริงแล้วทำที่สำนักงานของโจทก์ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่อาจนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามสัญญากู้ยืมเงินในส่วนที่ระบุถึงมูลคดีที่เกิดขึ้น
สาระสำคัญในการกู้ยืมเงินคือการส่งมอบและการทำสัญญาหรือหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่โจทก์จะเบิกหรือถอนเงินจากธนาคารใดไปให้จำเลยกู้ยืมเงิน มิใช่สาระสำคัญในการกู้ยืมเงินแต่อย่างใด มิฉะนั้นแล้วจะทำให้มูลคดีเกิดขึ้นสถานที่ใดแล้วแต่โจทก์เพียงฝ่ายเดียว จำเลยไม่อาจทราบได้ ซึ่งจำเลยในฐานะคู่สัญญาน่าจะทราบถึงเขตอำนาจที่จะมีการฟ้องบังคับคดีในกรณีผิดสัญญาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการที่จำเลยจะรับเงินที่โจทก์ให้กู้ยืมได้จะต้องไปเบิกถอนเงินจากธนาคารที่โจทก์ร่วมกับจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ที่เขตกรุงเทพมหานคร ธนาคารนั้นจึงเป็นที่รับมอบเงินที่กู้ยืม อันถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดและเป็นท้องที่เดียวกับที่จำเลยมีภูมิลำเนาในขณะทำสัญญาและที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงินว่าเป็นที่จัดทำสัญญากู้ยืมเงิน
of 4