พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในชั้นศาล การพิจารณาประเด็นส่วนควบ และการรอการลงโทษ
การฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จหาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลในคดีนั้นแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองแถลงหมดพยานบุคคล และขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท โจทก์แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีความจำเป็น แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้ทนายของคู่ความถ่ายภาพบ้านพิพาททั้งสองหลังส่งศาล แสดงว่าจำเลยทั้งสองพอใจคำสั่ง ศาลชั้นต้น และไม่ติดใจขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท การที่ศาลจะไปเดินเผชิญสืบหรือไม่เป็นดุลพินิจ ของศาล การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2แสดงว่า บ้านพิพาทไม่ได้เป็นส่วนควบกับบ้านเลขที่ 75 อยู่ในตัวถือได้ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นเรื่องส่วนควบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด: สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยหลักเทียบบทกฎหมาย
เจ้าของที่ดินเดิม เป็นผู้สร้างตึก พร้อม กันสาด แล้วได้ แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ ขาย ทำให้กันสาดที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง จำเลยซื้อ ตึก ซึ่ง มีกันสาดอยู่แล้ว ส่วนโจทก์ซื้อ ที่ดินในสภาพที่มีกันสาดดังกล่าวรุกล้ำดังนี้กันสาดที่รุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 ซึ่ง เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดย บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตมีสิทธิใช้ ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นแต่ ต้อง เสียค่าใช้ ที่ดินแก่เจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง จึงไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้อง นำ ป.พ.พ.มาตรา 4 มาใช้ บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดินของโจทก์เฉพาะ ที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปได้ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อกันสาด คงมีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดิน แต่ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับในส่วนนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ห้องแถวเป็นส่วนควบของที่ดินเมื่อทายาทรับมรดก ยินยอมโอนกรรมสิทธิ์
ห้องแถวพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ พ. ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 2แต่งงานกับ พ.จึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ตาย ย. บ. และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ พ. จำเลยที่ 2 ก็ไม่คัดค้านพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมยกที่ดินให้ย. บ. และจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตามคำขอรับมรดก ย. บ. และจำเลยที่ 1จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสามด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนรับมรดกห้องแถวพิพาทอีกแต่อย่างใด.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ห้องแถวเป็นส่วนควบที่ดินเมื่อทายาทรับมรดกที่ดินโดยไม่คัดค้าน
ห้องแถวพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ พ.ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 2แต่งงานกับ พ.จึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินดังกล่าวเมื่อพ.ตายย.บ.และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ พ.จำเลยที่2ซึ่งเป็นภรรยาของพ.ก็ไม่คัดค้าน พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมยกที่ดินให้ ย.บ.และจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตามคำขอรับมรดก ย.บ.และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนรับมรดกห้องแถวพิพาทอีกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดิน: การซื้อขายส่วนควบ การจดทะเบียน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ ที่ดินมีโฉนด จากจำเลย โดย ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ บ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่ วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดย ไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อ ขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 456 อีกโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านหลังซื้อขายเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องจดทะเบียน ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อที่ดินมีโฉนดจากจำเลย โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาผู้ร้องกับพี่สาวซื้อบ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ป.พ.พ.มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านหลังใหม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่ซื้อแล้ว ไม่ต้องจดทะเบียนเพิ่มเติม
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อที่ดินมีโฉนดจากจำเลย โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่ ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อบ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตกเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้ว โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านส่วนควบที่ดิน: การซื้อขายบ้านแยกจากที่ดินไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ ที่ดินมีโฉนด จากจำเลย โดย ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ บ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107วรรคสอง ตั้งแต่ วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดย ไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อ ขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 456 อีกโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างบนที่ดินโดยความยินยอมของผู้เยาว์: บ้านไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน
ส. บิดาผู้ร้องปลูกบ้านโดย ใช้ เงินของ ส. และจำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้ร้องลงในที่ดินผู้ร้องซึ่ง ขณะปลูกนั้นผู้ร้องอายุไม่เกิน ๗ ปี เพื่อใช้ เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน พอถือได้ว่าปลูกโดยผู้ร้องทั้งสามรู้เห็นยินยอมด้วย กรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๙ บ้านพิพาทจึงไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินอันจะถือว่าเป็นของผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์บ้านพิพาทที่โจทก์นำยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบ้านที่ปลูกบนที่ดินของบุตร โดยเงินทุนจากบิดามารดา: ไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน
ส. ปลูกบ้านพิพาทลงบนที่ดินของผู้ร้องทั้งสามเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน ในขณะที่ผู้ร้องทั้งสามมีอายุไม่เกิน7 ปี ไม่มีรายได้อะไร ต้องอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของ ส.และจำเลยผู้เป็นมารดาทั้งเงินที่ใช้ปลูกบ้านก็เป็นของส. และจำเลย พอจะถือได้ว่าบ้านพิพาทปลูกโดยผู้ร้องทั้งสามยินยอม กรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109บ้านพิพาทไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินอันจะถือว่าเป็นของผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)