พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ต้องระบุเหตุแห่งการถอนสัญชาติให้ชัดเจน
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยขอให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ บรรยายเหตุที่ อ.ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เนื่องจากบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวไว้ 3 ประการคือ เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามข้อกล่าวหาของผู้ร้องนี้มิได้ยืนยันให้แน่นอนว่าบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวประเภทใด เพราะคนต่างด้าวทั้ง 3 ประเภทไม่เหมือนกัน คำร้องในข้อนี้จึงเคลือบคลุม ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
ส่วนข้อหาที่บรรยายว่า อ.ไม่มีคุณสมบัติในด้านการศึกษา คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า อ.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุม(อ้างคำสั่งศาลฎีกาที่1817/2527)
ส่วนข้อหาที่บรรยายว่า อ.ไม่มีคุณสมบัติในด้านการศึกษา คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า อ.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุม(อ้างคำสั่งศาลฎีกาที่1817/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องการได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ต้องมาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา89, 102 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง และสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มแต่วันเลือกตั้ง และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 100 บัญญัติไว้มีข้อความสำคัญว่า ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องได้คะแนนมากที่สุด ในกรณีที่เขตเลือกตั้งใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งมีคะแนนมากตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แม้จำเลยจะได้ประกาศต่อสาธารณชนและรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่าผลของการรวมคะแนน โจทก์เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามแบบ ส.ส.25 จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในการรวมคะแนนให้ถูกต้องได้
หาก พ. ผู้ซึ่งจำเลยได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามแบบ ส.ส.25 และออกหนังสือรับรองการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามแบบ ส.ส.27 ให้นั้นเป็นผู้ซึ่งมีคะแนนน้อยกว่าโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม มาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522
แม้จำเลยจะได้ประกาศต่อสาธารณชนและรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่าผลของการรวมคะแนน โจทก์เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามแบบ ส.ส.25 จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในการรวมคะแนนให้ถูกต้องได้
หาก พ. ผู้ซึ่งจำเลยได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามแบบ ส.ส.25 และออกหนังสือรับรองการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามแบบ ส.ส.27 ให้นั้นเป็นผู้ซึ่งมีคะแนนน้อยกว่าโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม มาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - สัญชาติบิดาและอายุ - หลักฐานทะเบียนเป็นเกณฑ์
ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ถูกคัดค้านเป็นบุคคลต่างด้าว แต่ไม่มีหลักฐานทะเบียนบุคคลต่างด้าวประกอบคำร้อง เพียงแต่ได้ยินคนพูดกันว่าผู้ถูกคัดค้านเป็นบุตรคนต่างด้าวสัญชาติจีนเท่านั้น ยังไม่พอรับฟังว่าเป็นความจริงตามนั้นได้
ตามหลักฐานทะเบียนโรงเรียนปรากฏว่า ผู้ถูกคัดค้านเกิด พ.ศ. 2483 แต่หลักฐานในทะเบียนทหารกองเกินปรากฏว่าผู้ถูกคัดค้านเกิด พ.ศ. 2480 เมื่อผู้ปกครองของผู้ถูกคัดค้านซึ่งนำผู้ถูกคัดค้านไปฝากโรงเรียนยืนยันว่า ได้แจ้งลดอายุลง 3 ปี เพื่อไม่ให้ถูกปรับตามพระราชบัญญัติประถามศึกษา หลังจากลาออกจากโรงเรียนแล้ว ผู้ถูกคัดค้านจึงรู้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง คือวันที่ 21 ตุลาคม 2480 แต่นั้นมาก็ใช้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง เมื่อถึงกำหนดขึ้นทะเบียนทหารกองเกินก็ไปขึ้นทะเบียนทหารตามปกติ จึงไม่มีเหตุสงสัยว่าผู้ถูกคัดค้านเตรียมทำขึ้นไว้ก่อนแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงถึงวันเดือนปีเกิดที่ปรากฏในโรงเรียนเป็นหลักฐานไม่ไม่
ตามหลักฐานทะเบียนโรงเรียนปรากฏว่า ผู้ถูกคัดค้านเกิด พ.ศ. 2483 แต่หลักฐานในทะเบียนทหารกองเกินปรากฏว่าผู้ถูกคัดค้านเกิด พ.ศ. 2480 เมื่อผู้ปกครองของผู้ถูกคัดค้านซึ่งนำผู้ถูกคัดค้านไปฝากโรงเรียนยืนยันว่า ได้แจ้งลดอายุลง 3 ปี เพื่อไม่ให้ถูกปรับตามพระราชบัญญัติประถามศึกษา หลังจากลาออกจากโรงเรียนแล้ว ผู้ถูกคัดค้านจึงรู้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง คือวันที่ 21 ตุลาคม 2480 แต่นั้นมาก็ใช้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง เมื่อถึงกำหนดขึ้นทะเบียนทหารกองเกินก็ไปขึ้นทะเบียนทหารตามปกติ จึงไม่มีเหตุสงสัยว่าผู้ถูกคัดค้านเตรียมทำขึ้นไว้ก่อนแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงถึงวันเดือนปีเกิดที่ปรากฏในโรงเรียนเป็นหลักฐานไม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. เรื่องสัญชาติบิดาและอายุ ผู้ร้องต้องมีหลักฐานชัดเจน
ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ถูกคัดค้านเป็นบุคคลต่างด้าว แต่ไม่มีหลักฐานทะเบียนบุคคลต่างด้าวประกอบคำร้อง เพียงแต่ได้ยินคนพูดกันว่าผู้ถูกคัดค้านเป็นบุตรคนต่างด้าวสัญชาติจีนเท่านั้น ยังไม่พอรับฟังว่าเป็นความจริงตามนั้นได้
ตามหลักฐานทะเบียนโรงเรียนปรากฏว่า ผู้ถูกคัดค้านเกิดพ.ศ.2483 แต่หลักฐานในทะเบียนทหารกองเกินปรากฏว่าผู้ถูกคัดค้านเกิด พ.ศ.2480 เมื่อผู้ปกครองของผู้ถูกคัดค้านซึ่งนำผู้ถูกคัดค้านไปฝากโรงเรียนยืนยันว่า ได้แจ้งลดอายุลง 3 ปี เพื่อไม่ให้ถูกปรับตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา หลังจากลาออกจากโรงเรียนแล้ว ผู้ถูกคัดค้านจึงรู้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง คือวันที่ 21 ตุลาคม 2480 แต่นั้นมาก็ใช้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง เมื่อถึงกำหนดขึ้นทะเบียนทหารกองเกินก็ไปขึ้นทะเบียนทหารตามปกติจึงไม่มีเหตุสงสัยว่าผู้ถูกคัดค้านเตรียมทำขึ้นไว้ก่อนแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงถือวันเดือนปีเกิดที่ปรากฏในโรงเรียนเป็นหลักฐานไม่ได้
ตามหลักฐานทะเบียนโรงเรียนปรากฏว่า ผู้ถูกคัดค้านเกิดพ.ศ.2483 แต่หลักฐานในทะเบียนทหารกองเกินปรากฏว่าผู้ถูกคัดค้านเกิด พ.ศ.2480 เมื่อผู้ปกครองของผู้ถูกคัดค้านซึ่งนำผู้ถูกคัดค้านไปฝากโรงเรียนยืนยันว่า ได้แจ้งลดอายุลง 3 ปี เพื่อไม่ให้ถูกปรับตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา หลังจากลาออกจากโรงเรียนแล้ว ผู้ถูกคัดค้านจึงรู้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง คือวันที่ 21 ตุลาคม 2480 แต่นั้นมาก็ใช้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริง เมื่อถึงกำหนดขึ้นทะเบียนทหารกองเกินก็ไปขึ้นทะเบียนทหารตามปกติจึงไม่มีเหตุสงสัยว่าผู้ถูกคัดค้านเตรียมทำขึ้นไว้ก่อนแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงถือวันเดือนปีเกิดที่ปรากฏในโรงเรียนเป็นหลักฐานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาข้อโต้แย้งการเลือกตั้ง และการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ ส.ส.ประเภทต่างๆ
การตีความรัฐธรรมนูญ ม.115 ศาลมีอำนาจตีความได้เพราะไม่ใช่ปัญหาอันอยู่ในวงงานของสภาฯ
คำว่า "มิได้เป็นไปโดยชอบ" ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ฯ ม.60 นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า "ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปีในรัฐธรรมนูญ ม.115 เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45, 46, 47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส. 2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรก หาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้น เป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้น ก็ให้ ส.ส. ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวน ส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้น หรือในระหว่างที่มี ส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่ง ส.ส.ประเภท 2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่า จำนวนตำแหน่งที่ว่าง.
คำว่า "มิได้เป็นไปโดยชอบ" ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ฯ ม.60 นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า "ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปีในรัฐธรรมนูญ ม.115 เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45, 46, 47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส. 2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรก หาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้น เป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้น ก็ให้ ส.ส. ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวน ส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้น หรือในระหว่างที่มี ส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่ง ส.ส.ประเภท 2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่า จำนวนตำแหน่งที่ว่าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคัดค้านการเลือกตั้ง และการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับจำนวน ส.ส.สองประเภท
การตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา115 ศาลมีอำนาจตีความได้เพราะไม่ใช่ปัญหาอันอยู่ในวงงานของสภาฯ
คำว่า'มิได้เป็นไปโดยชอบ' ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ มาตรา 60นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใดๆก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า'ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปี'ในรัฐธรรมนูญ ม.115เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45,46,47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส.2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรกหาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้นเป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้นก็ให้ส.ส.ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวนส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้นหรือในระหว่างที่มีส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่งส.ส.ประเภท2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่าจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
คำว่า'มิได้เป็นไปโดยชอบ' ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ มาตรา 60นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใดๆก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า'ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปี'ในรัฐธรรมนูญ ม.115เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45,46,47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส.2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรกหาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้นเป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้นก็ให้ส.ส.ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวนส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้นหรือในระหว่างที่มีส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่งส.ส.ประเภท2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่าจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิ ส.ส. เสนอญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาล: การกระทำไม่ผิดกฎหมายอาญา
การเสนอญัตติหรือข้อความใด ๆ ถ้าหากกระทำนั้นอยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายแลอยู่ในขอบแห่งเอกสิทธิของจำเลยที่จำกระทำได้ในฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จำเลยยังไม่มีความผิด รัฐธรรมนูญ ม.40-41-61 กฎหมายลักษณอาญาแก้ไขเพิ่มเติม ม.104 พ.ศ.2470 มิได้ขัดแย้งกับบทมาตราใดแห่งรัฐธรรมนูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของส.ส. กรณีคู่สมรสถือหุ้นในบริษัทรับสัมปทานรัฐ และค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาเกิดเหตุ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม บัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้นำความดังกล่าวมาใช้กับคู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาด้วย
จำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 6 ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ จำเลยและคู่สมรสมีหน้าที่ตามบทบังคับแห่งกฎหมายในอันที่จะต้องไม่กระทำการที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์โดยไม่ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม การที่ ก. คู่สมรสของจำเลยเข้าถือหุ้นในบริษัท ป. สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันจากกระทรวงพลังงานอันมีลักษณะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยมีเหตุสิ้นสุดลง จึงส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการต้องห้ามอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 (6) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยที่ 12 - 14/2553 ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐตามมาตรา 216 วรรคห้า จำเลยเป็นคู่ความในคดีจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยจงใจกระทำผิดกฎหมายเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลง เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยว่างลง รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นเงิน 11,385,447.01 บาท ต้องถือว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการจงใจกระทำผิดกฎหมายของจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 หาจำต้องมีบทบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ให้สิทธิโจทก์เรียกค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่จากผู้กระทำผิดได้โดยเฉพาะ จึงจะทำให้การกระทำของจำเลยเป็นละเมิดดังจำเลยฎีกาไม่
จำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 6 ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญ จำเลยและคู่สมรสมีหน้าที่ตามบทบังคับแห่งกฎหมายในอันที่จะต้องไม่กระทำการที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์โดยไม่ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม การที่ ก. คู่สมรสของจำเลยเข้าถือหุ้นในบริษัท ป. สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันจากกระทรวงพลังงานอันมีลักษณะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเป็นกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยมีเหตุสิ้นสุดลง จึงส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการต้องห้ามอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 (6) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยที่ 12 - 14/2553 ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐตามมาตรา 216 วรรคห้า จำเลยเป็นคู่ความในคดีจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยจงใจกระทำผิดกฎหมายเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลง เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยว่างลง รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นเงิน 11,385,447.01 บาท ต้องถือว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการจงใจกระทำผิดกฎหมายของจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่เป็นค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 หาจำต้องมีบทบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ให้สิทธิโจทก์เรียกค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่จากผู้กระทำผิดได้โดยเฉพาะ จึงจะทำให้การกระทำของจำเลยเป็นละเมิดดังจำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประจำตำแหน่ง ส.ส. หลังถูกวินิจฉัยว่าได้รับเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้ว
จำเลยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีได้โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 เมื่อจำเลยออกจากตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 97 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เนื่องจากกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่จำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 44 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มีผลให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 145 (3) และ (4) มาตรา 147 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมาตรา 10 (6) และ (7) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มีมติโดยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ มีคำวินิจฉัยสั่งการและมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 ใหม่ มีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยในเขตเลือกตั้งดังกล่าวสิ้นสุดลงนับแต่วันที่มีคำสั่งในวันที่ 20 กันยายน 2548 ตามมาตรา 96 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 และตามนัยมาตรา 97 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น จำเลยย่อมตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 97 ตอนท้ายที่บัญญัติว่า กรณีที่การออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ให้คืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะถูกยกเลิกหรือเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 โดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ก็ตาม แต่มูลหนี้ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเกิดขึ้นในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลใช้บังคับ โดยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายยกเว้นไว้ และไม่ปรากฏมีบทบัญญัติกฎหมายให้ยกเลิกมูลหนี้ที่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจนเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะสิ้นสุดลง สิทธิของโจทก์ในการเรียกเงินคืนและหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามมาตรา 97 ตอนท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะสิ้นสุดลง จึงยังคงมีอยู่โดยหาได้ถูกยกเลิกไปด้วยไม่ เมื่อจำเลยไม่คืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมาย และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 ตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19229/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ส.ส.ถูกเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น
จำเลยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดนครพนม เขตเลือกตั้งที่ 4 จนถึงวันที่คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม เขตเลือกตั้งที่ 4 ใหม่ ซึ่งมีผลทำให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยสิ้นสุดลงนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ยังมีผลบังคับใช้ แม้ต่อมาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แต่ความรับผิดของจำเลยได้เกิดขึ้นก่อนที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะถูกยกเลิก โจทก์สามารถอ้างลักษณะของการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนของจำเลยหรือตัวแทน (หัวคะแนน) ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 อันเป็นมูลเหตุให้จำเลยต้องรับผิดคืนเงินต่างๆ แก่โจทก์ เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยเข้ารับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมิได้สิ้นผลบังคับไปพร้อมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือกตั้ง ได้วินิจฉัยว่า ควรเชื่อได้ว่าตัวแทน (หัวคะแนน) ของจำเลยให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่จำเลย กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ข้อห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 เมื่อคณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่และสมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงเช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยต้องออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แม้คณะกรรมการเลือกตั้งจะวินิจฉัยต่อไปว่า แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้คัดค้าน (จำเลย) เป็นผู้ก่อหรือสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าว คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ได้มาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งตาม พ.ร.ก.เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมธิการ พ.ศ.2535 ได้ระบุถึงเงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่ม เบี้ยประชุม การเดินทางโดยเครื่องบินไว้แล้ว เมื่อจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและขณะเดียวกันก็ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณากฎหมายและปัญหาต่างๆ นอกจากเงินประจำตำแหน่งตามปกติแล้ว จำเลยยังได้รับเบี้ยประชุมกับค่าโดยสารเครื่องบินอีกด้วย ถือว่าเป็นผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนแก่โจทก์ทั้งสิ้น
สำหรับเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยนั้น จำเลยมีสิทธิขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวต้องเป็นไปตามประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม 2537 และประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉบับลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 ตามประกาศทั้งสองฉบับระบุให้ผู้ช่วยดำเนินงานและผู้เชี่ยวชาญได้รับค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นรายเดือนในอัตราและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ดังนั้น การตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยจึงเป็นบุคคลที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีคำสั่งตั้งขึ้น โดยกระทรวงการคลังอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้บุคคลดังกล่าวได้ การจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ในการรับเงินยังมีการหักภาษีเงินได้ไว้ก่อนแสดงว่าเงินค่าตอบแทนนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของบุคคลนั้นที่ต้องนำมาคิดคำนวณการเสียภาษีประจำปีภาษีที่มีเงินได้ด้วย กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตามมาตรา 97 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินส่วนนี้ให้โจทก์
ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือกตั้ง ได้วินิจฉัยว่า ควรเชื่อได้ว่าตัวแทน (หัวคะแนน) ของจำเลยให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่จำเลย กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ข้อห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 เมื่อคณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่และสมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงเช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลยต้องออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แม้คณะกรรมการเลือกตั้งจะวินิจฉัยต่อไปว่า แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้คัดค้าน (จำเลย) เป็นผู้ก่อหรือสนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าว คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ได้มาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งตาม พ.ร.ก.เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมธิการ พ.ศ.2535 ได้ระบุถึงเงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่ม เบี้ยประชุม การเดินทางโดยเครื่องบินไว้แล้ว เมื่อจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและขณะเดียวกันก็ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณากฎหมายและปัญหาต่างๆ นอกจากเงินประจำตำแหน่งตามปกติแล้ว จำเลยยังได้รับเบี้ยประชุมกับค่าโดยสารเครื่องบินอีกด้วย ถือว่าเป็นผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนแก่โจทก์ทั้งสิ้น
สำหรับเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยนั้น จำเลยมีสิทธิขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวต้องเป็นไปตามประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม 2537 และประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉบับลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 ตามประกาศทั้งสองฉบับระบุให้ผู้ช่วยดำเนินงานและผู้เชี่ยวชาญได้รับค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นรายเดือนในอัตราและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ดังนั้น การตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยจึงเป็นบุคคลที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีคำสั่งตั้งขึ้น โดยกระทรวงการคลังอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้บุคคลดังกล่าวได้ การจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยดำเนินงานของจำเลยเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ในการรับเงินยังมีการหักภาษีเงินได้ไว้ก่อนแสดงว่าเงินค่าตอบแทนนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของบุคคลนั้นที่ต้องนำมาคิดคำนวณการเสียภาษีประจำปีภาษีที่มีเงินได้ด้วย กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ผู้นั้นได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตามมาตรา 97 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินส่วนนี้ให้โจทก์