พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้และการค้ำประกัน แม้หนังสือค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แต่การรับสภาพหนี้และยอมรับการค้ำประกันแล้ว ถือเป็นหลักฐานได้
หนังสือค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เมื่อจำเลยที่2รับแล้วว่าจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1จริงก็ไม่จำต้องอาศัยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นหลักฐานในคดีศาลพิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันด้วยกลอุบายหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลดหนี้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืนนั้นเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้อุบายหลอกลวงจึงมิใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้บริหารบริษัทเงินทุน
จำเลยที่ 3 ไม่ได้อ้างเหตุในคำให้การว่า ช. และ ก.ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเพราะเหตุใด ดังนี้คำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 3 ไม่มีเหตุแห่งการนั้นจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวเมื่อโจทก์นำสืบโดยมีหนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาแสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง ช. และก. เป็นกรรมการของโจทก์ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ได้ และมีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ซึ่ง ช. และ ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดคดีนี้รวมทั้งแต่งตั้งทนายความได้ด้วย ทั้ง ธ. ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยืนยันว่า ช. และก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ธ.ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประเด็นข้อที่จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็ถือไมไ่ด้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1เกิดจากความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บริหารงานของบริษัทเงินทุนโจทก์เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่นำเงินมาฝากโจทก์ และเพราะเกรงว่าโจทก์จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นการเข้าค้ำประกันด้วยความสมัครใจ จึงเป็นการยอมตนเข้าผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันเพราะได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ลงลายมือชื่อจะดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่ที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 และ 127 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายแก้ไขใหม่
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 17 (ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2526 มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหนังสือค้ำประกันธนาคารเพื่อประกันค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร โดยมีเงื่อนไขการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4761/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน: เงื่อนไขการเรียกร้องหนี้ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาและวิธีการที่ระบุไว้
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างเหมาตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าการเรียกร้องค่าเสียหายจะต้องยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ณ ที่สำนักงานของจำเลยที่ 3 ก่อนปิดทำการของวันที่ 20ตุลาคม 2530 อันเป็นวันหมดอายุหนังสือค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์หนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20 ตุลาคม 2530 จึงอยู่ในอายุหนังสือค้ำประกัน แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวเสียก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 โดยมิได้ยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยที่ 3 ทราบตามเงื่อนไขภายในกำหนดเวลาในหนังสือค้ำประกัน จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหนังสือค้ำประกันค่าภาษีอากร ไม่ถือเป็นการชำระเงินประกันตามกฎหมาย ทำให้ผู้รับของเข้าต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม
การวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางเป็นประกันนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ไม่ได้บัญญัติให้มีผลเช่นเดียวกับวางเงินประกัน จึงไม่อาจถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังเช่น วางเงินประกัน ตามมาตรา 112 ทวิวรรค 2 ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากธนาคารแล้วจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ขาดก็ย่อมต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามสัญญาตัวแทนจำหน่าย แม้ในหนังสือค้ำประกันจะไม่ได้ระบุ
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 327 ว่าหนี้เป็นอันระงับสิ้นไปนั้น มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดย่อมฟังตามข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นตามที่ปรากฏนั้นได้เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้เงินค่าจำหน่ายปุ๋ยที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันและหนี้ยังไม่ระงับไปด้วยเหตุประการอื่น จำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 3 ได้ยกเลิกหนังสือค้ำประกันและคืนหลักประกันที่จำเลยที่ 1 ให้ไว้ทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 และไม่อาจไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องต้องว่ากล่าวกันต่างหากต่อไป หาได้เกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นจากความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยที่ 3 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยให้โจทก์ และสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ก็ระบุความรับผิดกรณีผิดเงื่อนไขและกำหนดเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่โจทก์ แม้ในหนังสือค้ำประกันมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่หนังสือค้ำประกันก็อ้างถึงสัญญาตัวแทนด้วย จำเลยที่ 3 ยอมออกหนังสือค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีถึงข้อสัญญาและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาตัวแทนจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ต้นเงินแทนจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหนังสือค้ำประกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังคงมีผลผูกพัน
เหตุที่หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 2 หายไปจากกองการเงินของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าหายไปเมื่อใดจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วแต่เป็นเรื่องที่ได้มีการกระทำผิดต่อกฎหมายโดยมีผู้ลักเอาหนังสือสัญญาค้ำประกันไปเมื่อเอกสารดังกล่าวหายไปจากความครอบครองของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คืนเอกสารนั้นแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เอกสารดังกล่าวมาอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1ได้เอกสารนั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 2 จะได้เอกสารดังกล่าวไว้ในครอบครองก็หาใช่กรณีที่หนี้ของลูกหนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ไม่ สัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ยังคงมีผลบังคับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่ระงับ โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ารับคืนสัญญาค้ำประกันนั้นจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไม่ ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327วรรคสาม มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นได้ เมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังไม่ระงับกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ลงชื่อต่อท้ายสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ถือเป็นหลักฐานการค้ำประกันตาม ม.680 ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
หนังสือสัญญาเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ มีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงชื่อไว้ต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง ที่แสดงว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตกลงค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามพันธะ ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104,118 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามมาตรา 680