พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความจริง ไม่สร้างความตื่นตระหนก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยมีหนังสือเตือนไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ให้ยุติการโฆษณาเสนอข้อความที่มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวและวิจารณ์ข้อที่ไม่เป็นความจริงมาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งหลังนี้ผู้ร้องได้ลงข่าวโฆษณาพาดหัวว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" แต่ข้อความตามข่าวนั้นเป็นความจริงและมิใช่ข้อความในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว การลงข่าวโฆษณาครั้งหลังนี้ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6) และด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับดังกล่าว ข้อ 4 ซ้ำอีกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์: เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจหากข้อความที่โฆษณาเป็นความจริงและไม่สร้างความตื่นตระหนก
เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ เคยมีหนังสือเตือนไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ให้ยุติการโฆษณาเสนอข้อความที่มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวและวิจารณ์ข้อที่ไม่เป็นความจริงมาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งหลังนี้ผู้ร้องได้ลงข่าวโฆษณาพาด หัวว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" แต่ข้อความตามข่าวนั้นเป็นความจริงและมิใช่ข้อความในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว การลงข่าวโฆษณาครั้งหลังนี้ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42ข้อ 2(6) และด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับดังกล่าว ข้อ 4 ซ้ำอีกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ไม่มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ที่สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การลงข้อความเชื่อมโยงถึงการทุจริต ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็น
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง"จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมีข้อความว่า "ชอบใจที่พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต. มหาดไทย กล่าวว่า ทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานาน ขุนช้างว่า คงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ.นิยม ไกรลาศ" อัน เป็นข้อความเกี่ยวโยง กับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ กล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้นทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้วก็ไม่ต้องยกมาตรา326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การยืนยันข้อเท็จจริงโดยมิชอบ และเจตนาใส่ความ
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัด อุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานี มีข้อความว่า "ขอบใจที่ พล.อ. สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่าทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่าคงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ. นิยม ไกรลาศ " อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าจำเลยให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์ การอุทธรณ์เรื่องเจตนาจึงไม่เป็นประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์เสียแล้ว ปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำให้สัมภาษณ์ของจำเลยจะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 หรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์แต่ประการใดแม้เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายก็เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808-1809/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อความแสดงความรู้สึก vs. ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า ผู้เสียหายเรียกตัวยากหาตัวลำบากแถมยังมีราคีเรื่องอื่น ๆ เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึกว่าไม่อาจเรียกตัวผู้เสียหาย หรือพบตัวผู้เสียหายลำบากเท่านั้น มิได้แสดงว่าผู้เสียหายมีราคีมัวหมองในเรื่องใด ทั้งปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ผู้เสียหายจึงมิได้ถูกใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ส่วนข้อความที่ลงพิมพ์ว่า 'เหตุไฉนรัฐมนตรีบัญญัติจึงพูดบิดเบือนความจริง เรื่องศาลากลาง สนามกีฬา ทำไมไม่พูดเรื่องกัญชาข้อหาฉกรรจ์เพราะประชาชนข้องใจ แต่ที่จำได้ ส.ส. ขี่ควายไม่อายเท่าใด ส.ส. ค้ายาเสพติดนั่นคือสิ่งที่ประชาชนสนใจ' นั้นประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ย่อมเข้าใจได้ว่า รัฐมนตรีบัญญัติผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค้ายาเสพติดให้โทษคือกัญชาซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยหาได้ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือโดยความสุจริตใจแต่อย่างใดไม่และมิใช่ข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายค้ายาเสพติดให้โทษ จึงเป็นข้อความที่ใส่ความผู้เสียหายด้วยการแพร่ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.
ส่วนข้อความที่ลงพิมพ์ว่า 'เหตุไฉนรัฐมนตรีบัญญัติจึงพูดบิดเบือนความจริง เรื่องศาลากลาง สนามกีฬา ทำไมไม่พูดเรื่องกัญชาข้อหาฉกรรจ์เพราะประชาชนข้องใจ แต่ที่จำได้ ส.ส. ขี่ควายไม่อายเท่าใด ส.ส. ค้ายาเสพติดนั่นคือสิ่งที่ประชาชนสนใจ' นั้นประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ย่อมเข้าใจได้ว่า รัฐมนตรีบัญญัติผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค้ายาเสพติดให้โทษคือกัญชาซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยหาได้ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือโดยความสุจริตใจแต่อย่างใดไม่และมิใช่ข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายค้ายาเสพติดให้โทษ จึงเป็นข้อความที่ใส่ความผู้เสียหายด้วยการแพร่ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับกระดาษพิมพ์หนังสือพิมพ์ พิจารณาจากชื่อ, คุณสมบัติ, และวัตถุประสงค์การใช้
หนังสือพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา4 หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ประกอบกับใบอนุญาตซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ออกให้โจทก์นั้นระบุไว้ชัดว่า อนุญาตให้โจทก์เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์บางกอกบิสิเนสเยลโล่เพจเจ็ส และหนังสือพิมพ์สมุดธุรกิจเยลโล่เพจเจ็สอีกหลายฉบับ ซึ่งออกเป็นรายปี ดังนี้ สมุดธุรกิจต่าง ๆ ของโจทก์จึงเป็นหนังสือพิมพ์ตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 48.01 ค. หมายถึงชนิดของกระดาษ หาได้หมายถึง วัตถุประสงค์ในการใช้กระดาษไม่ การที่จะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือไม่ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ชื่อที่เรียก คุณสมบัติลักษณะจุดมุ่งหมายในการใช้ ฯลฯ สินค้าพิพาทมีชื่อว่ากระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ชนิดเบาจากประเทศแคนาดา คุณสมบัติและลักษณะเหมือนกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยทั่วไป โจทก์มีวัตถุประสงค์นำไปใช้พิมพ์สมุดธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชนิดหนึ่ง ดังนี้สินค้าพิพาทจึงเป็นกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์และอยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.01 ค.(1) ทั้งนี้เพราะกระดาษพิพาทมีน้ำหนักเพียง 36 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่เกิน55 กรัมต่อตารางเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: จำเลยไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อการลงพิมพ์ของหนังสือพิมพ์
จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยข้อความอันมีมูล เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ แล้วหนังสือพิมพ์นำข้อความนั้นไปลงพิมพ์โฆษณา ดังนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวานหรือ ยุยงส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ไปลงพิมพ์ การที่หนังสือพิมพ์นำข้อความ นั้นไปลงพิมพ์จึงเป็นเรื่องของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ คดีโจทก์ ไม่มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อความใส่ความโจทก์ด้วยการกล่าวหาใช้อำนาจไม่เป็นธรรมและขาดความสามารถ
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เขียนลงในบทความทางหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการมีใจความว่า โจทก์เทศมนตรีการศึกษาเทศบาลบังอาจใช้อำนาจโยกย้ายหัวหน้าฝ่ายนิเทศกองศึกษาไปอยู่ฝ่ายอื่น และได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่าผู้ถูกย้ายไม่มีความสามารถและไม่เหมาะสมกับงานนิเทศและได้เข็นเอาเมียปลัดเทศบาลซึ่งเป็นครูยืมตัวช่วยราชการขึ้นไปเป็นแทนเป็นเวลาร่วมปีมาแล้วนั้น บัดนี้กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นการกระทำที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ เป็นผลงานที่เกิดจากอคติส่วนตัว เหลิงอำนาจหลงคำเยินยอจากพวกลิ้นสากปากลื่นที่ใกล้ชิด และความมีอายุน้อยด้วยประสบการณ์ของโจทก์เองการศึกษาของเทศบาลต้องตกต่ำเพราะความขัดแย้ง กลั่นแกล้งก้าวก่าย และการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของนักการเมืองต่อข้าราชการประจำ นั้น เป็นข้อความที่ใส่ความโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสารอันน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ไม่ใช่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือติชมด้วยความเป็นธรรมอันจะทำให้จำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหมิ่นประมาท เริ่มนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้กระทำผิด ไม่จำเป็นต้องรอสืบสวน
หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าจำเลยให้สัมภาษณ์โดยมีข้อความซึ่งอ่านแล้วรู้ได้ทันทีว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ ถือได้แล้วว่า โจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่โจทก์ได้อ่านข่าวตามหนังสือพิมพ์นั้น ไม่จำต้องรอแสวงหาหลักฐานเพื่อฟ้องคดีหรือสืบสวนจนเป็นที่แน่ใจโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดก่อนจึงจะร้องทุกข์ดำเนินคดี เมื่อโจทก์ไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าคดีขาดอายุความก็พิพากษายกฟ้องได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าคดีขาดอายุความก็พิพากษายกฟ้องได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน