พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย: ทรัพย์สินหลังฟ้องคดีก็ใช้ชำระหนี้ได้ ไม่เข้าข่ายหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งมีราคาประเมินที่ทางราชการรับรองมีมูลค่ารวมกันแล้วเกินกว่าหนึ่งล้านบาททั้งจำเลยยังประกอบอาชีพเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเอกชน มีรายได้เดือนละ70,000 บาท เชื่อได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินที่มีต่อโจทก์จำนวน 729,345 บาท และจำเลยยังประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และแม้ว่าที่ดินและห้องชุดดังกล่าวจำเลยจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟ้องคดีล้มละลายแล้วก็ตามแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์อาจบังคับชำระหนี้ได้นั้นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ก่อนหรือได้มาภายหลังจากที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายแล้ว ย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หามีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลายไม่ จำเลยจึงมิใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ควรพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์ภาระหนี้สินล้นพ้นตัวและความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ตกลงเห็นชอบยอมรับคำขอประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 58 กรณีต้องถือว่าคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นเป็นอันยกเลิกไปในตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับเป็นผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนขึ้นตามเดิมและมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินของตนได้ต่อไป
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่มีความสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลเห็นชอบด้วยก็ตามแต่การประนอมหนี้ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 59
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่ง ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับและหาใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อขยายอายุความในคดีแพ่งไม่ ส่วนสิทธิในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับนั้น เป็นปัญหาในชั้นที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลต่ออำนาจของโจทก์
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่มีความสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลเห็นชอบด้วยก็ตามแต่การประนอมหนี้ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 59
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่ง ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา 271 มาใช้บังคับและหาใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อขยายอายุความในคดีแพ่งไม่ ส่วนสิทธิในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับนั้น เป็นปัญหาในชั้นที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลต่ออำนาจของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของผู้ค้ำประกัน การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการตีราคาหลักประกัน
พ.และย. ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ น. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆตามที่ระบุไว้ รวมทั้งมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายทุกศาลแทนโจทก์ได้ ขณะ พ. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจนั้น พ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลให้ น. มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลายแทนโจทก์ได้ทั้งหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท อันแสดงว่าโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการแทนโจทก์ได้มากกว่าครั้งเดียวดังนี้ ตราบใดโจทก์ยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว น. ย่อมมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ทั้งหมดแทนโจทก์ได้ตลอดไป แม้ต่อมาภายหลังขณะยื่นฟ้องนั้นพ. จะมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์อีกต่อไปก็ตามเพราะการที่ พ.และย. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์นั้นเป็นการมอบอำนาจในนามโจทก์ น. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ขายลดเช็คตามสัญญาขายลดเช็คพร้อมดอกเบี้ย หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนที่โจทก์ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 10(2) ที่ให้กระทำเช่นนั้น เพียงแต่เมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาทก็ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งและนำยึดหลักประกันออกขายทอดตลาดก่อน ที่จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีอยู่แล้วขณะค้ำประกันและที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้า โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาทเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 8,423,598.91บาท โจทก์ตีราคาหลักประกันเป็นเงิน 3,856,300 บาทเมื่อหักกันจำนวนหนี้ดังกล่าวเงินยังขาดอยู่ 4,567,298.91บาท อันเป็นจำนวนเงินที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายได้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่จำเลยที่ 2นำสืบว่า มีรถยนต์บรรทุกหลายคันคงมีแต่จำเลยที่ 2คนเดียวเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้เห็นว่าเป็นความจริง ส่วนจำเลยที่ 2นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ประกอบการขนส่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังวินิจฉัยมาข้างต้นหาใช่ไม่มีหน้าที่ต้องรับชำระหนี้แก่โจทก์ดังที่จำเลยที่ 2ฎีกาไม่ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้ล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่มีฐานะล้มละลาย ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำฟ้องล้มละลายเมื่อลูกหนี้ร่วมมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิจารณาหนี้ร่วม
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว & คำสั่งงดสืบพยานที่ไม่โต้แย้ง
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ร่วมคนใดล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 1 นาฬิกา เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 1 นาฬิกา เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ แต่ไม่พยายามชำระหนี้ จึงมีเหตุให้ล้มละลายได้
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนเดือนละ 15,420 บาทแต่ก็เป็นเงินเดือนของข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ที่จำเลยอ้างว่ามีรายได้พิเศษจากการเป็นพนักงานขายของเดือนละประมาณ 10,000 บาทแต่จำเลยก็ไม่เคยผ่อนชำระให้แก่โจทก์เลย ส่วนทรัพย์สินที่ มารดา จะยกให้นั้น แม้จะมีอยู่จริงแต่ก็ไม่แน่นอนว่ามารดาจะยกให้จริงหรือไม่ ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวคงฟังได้เฉพาะเรื่องเงินเดือนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆฟังไม่ได้ดังที่อ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินพ้นตัว แม้จำเลยจะเป็นข้าราชการ แต่ไม่พยายามชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้โดยสุจริตจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้นเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวที่จำเลยนำสืบว่า ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งจำเลยค้ำประกันหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ยังประกอบกิจการค้ามีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 40,000,000บาท มาเป็นเหตุผลประกอบพยานหลักฐานอื่นของจำเลยว่าจำเลยอยู่ในฐานะที่สามารถขวนขวายและมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายก็ตาม แต่ที่จำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นั้น โจทก์ก็มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิงโดยไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมคนอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งหมดหรือไม่ เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงนำมาเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนจากบริษัท 3 แห่ง แห่งละ 6,000 บาท แต่เงินเดือนดังกล่าวก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเดือนละ 3,000 บาท ส่วนที่เหลือให้แก่ภริยาและบุตร จึงไม่มีเงินเดือนเหลือชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อขึ้นโดยรู้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
เจ้าหนี้เจตนาจะพยุงฐานะของลูกหนี้แม้จะกระทำโดยสุจริตก็ตาม เมื่อหนี้ที่ก่อขึ้นนี้เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94(2) แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้ง แต่ถ้าตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฎว่าเป็นหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลก็มีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 ประกอบด้วยมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องพิสูจน์ฐานะหนี้สินล้นพ้นตัวจริง แม้มีเหตุสันนิษฐานตามกฎหมาย
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4)ข และ (5) เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้น มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง
จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้น เป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม 4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวนขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 14
จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้น เป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม 4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวนขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 14