พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการค้าที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือข้าราชการ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาล มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค.ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลขและประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. แต่ร้านค้า อ.ส.ค.มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค. มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 28/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้น แม้จะมิได้มีวัตถุประสงค์ในการค้า
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้น เพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการช่วยเหลือข้าราชการ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งผู้จัดการ แต่มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค.มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือข้าราชการ แต่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งผู้จัดการ แต่มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค. มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องสอดของหน่วยงานรัฐในการปกป้องที่ดินนิคมสร้างตนเอง แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4, 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้วการที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดิน กรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหน่วยงานรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ - ไม่ใช่ความรับผิดนายจ้างลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้เสียหายในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำไปในทางปฏิบัติหน้าที่ ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานรัฐโดยตรง แต่ห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่รัฐนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานรัฐได้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ละเมิด: ป.ป.ช. และหน่วยงานรัฐ
แม้โจทก์มิใช่ข้าราชการในกรมอัยการแต่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97 วรรคสอง บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจฟ้องคดีเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลตามความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (5) และเนื่องจากตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" ซึ่งมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงไม่ใช่บทบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง ผู้ร้องจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องได้
ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" ซึ่งมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงไม่ใช่บทบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง ผู้ร้องจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12979/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของเจ้าพนักงานตำรวจและหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของผู้ต้องหาเด็ก
เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้เยาว์ส่งสถานพินิจฯ เป็นหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ไม่มีเจตนารับดูแลผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์หลบหนีไปทำละเมิด เจ้าพนักงานตำรวจไม่ต้องรับผิดเพราะไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 430 ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นเพียงความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ทำละเมิดโดยตรงที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17950/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตค่าเสียหายจากละเมิด
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่าจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิด ทั้งข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ได้กระทบกระเทือนสิทธิของจำเลยร่วม จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกา
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดเป็นลูกจ้างกองน้ำบาดาล ในสังกัดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่มีฐานะเป็นกรม จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ทำตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะมี พ.ร.ฎ.ให้โอนกองน้ำบาดาลไปสังกัดจำเลยร่วม ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะฐานะของกองน้ำบาดาล ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะนิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 สังกัดในขณะเกิดเหตุยังมีผลผูกพันต่อไป
สำหรับค่าขาดแรงงานไม่ใช่ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะผู้ตายทั้งสองยังมีชีวิตได้ช่วยดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 4 โจทก์ที่ 4 จึงไม่สามารถเรียกค่าขาดแรงงาน
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดเป็นลูกจ้างกองน้ำบาดาล ในสังกัดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่มีฐานะเป็นกรม จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ทำตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะมี พ.ร.ฎ.ให้โอนกองน้ำบาดาลไปสังกัดจำเลยร่วม ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะฐานะของกองน้ำบาดาล ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะนิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 สังกัดในขณะเกิดเหตุยังมีผลผูกพันต่อไป
สำหรับค่าขาดแรงงานไม่ใช่ค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะผู้ตายทั้งสองยังมีชีวิตได้ช่วยดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 4 โจทก์ที่ 4 จึงไม่สามารถเรียกค่าขาดแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15496/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การเดินทางไปเบิกความถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่
จ่าสิบตำรวจ ว. เป็นข้าราชการตำรวจ ในสังกัดของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ การที่จ่าสิบตำรวจ ว. เดินทางไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลในการไต่สวนการตายตามหมายเรียกพยานบุคคลของศาล ย่อมเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่และเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เนื่องจากเห็นสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น เมื่ออุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นในระหว่างที่จ่าสิบตำรวจ ว. เดินทางไปเป็นพยานศาลเป็นการกระทำโดยประมาทธรรมดา จ่าสิบตำรวจ ว. จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ได้