คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน่วยงานราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้สินของกิจการสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ใช้เงินงบประมาณ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค.ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของ ร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อการละเมิดของลูกจ้าง เมื่อการกระทำนั้นเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ราชการ
นายทหารสั่งให้ทหารพลขับขับรถยนต์ของกรมทหารไปซื้อปูนซีเมนต์ขนไปให้วัดซึ่งนายทหารนั้นเป็นกรรมการวัดอยู่เป็นการใช้ให้ไปปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัวของนายทหารผู้นั้น การไปปฏิบัติงานของทหารพลขับนั้นจึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการไปปฏิบัติงานในหน้าที่ตามทางราชการของกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม เมื่อทหารพลขับขับรถโดยประมาทชนผู้อื่นตายกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้สินทางแพ่งของหน่วยงานราชการ และความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำของลูกน้อง
คดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยสองคนรับผิดทางแพ่ง ปรากฏว่าจำเลยคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล และมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลนั้น ทั้งพยานหลักฐานส่วนใหญ่ก็อยู่ในจังหวัดนั้นด้วย ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องจนศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้ การที่ศาลรับฟ้องคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการชอบแล้ว
เดิมกรมทางหลวงมีชื่อว่ากรมทางหลวงแผ่นดิน สังกัดกระทรวงคมนาคมต่อมาได้มีกฎหมายบัญญัติให้กรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ในสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ฯลฯ ไปเป็นของกรมทางหลวงนั้น โดยผลแห่งกฎหมาย หนี้สินและสิทธิเรียกร้องที่กรมทางหลวงแผ่นดินมีต่อจำเลยลูกหนี้ย่อมโอนไปยังกรมทางหลวงโจทก์ โดยมิพักต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แต่อย่างใด และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของทางราชการไปด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด
กรณีละเมิดนั้น เมื่อโจทก์เพิ่งได้ทราบเรื่องจำเลยยักยอกจากการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการสอบสวนจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมาฟ้องคดีในเวลายังไม่ครบ 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการกระทำละเมิด คดีของโจทก์จึงยังหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตหวงห้าม: สิทธิครอบครองภายหลังมีพระราชกฤษฎีกา และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการ
ที่ดินพิพาทอยู่ภายในเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดูแลรักษาและหวงห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาจับจองครอบครองหักล้างเข้าจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนี้ คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์บรรพบุรุษของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ใช่ที่ดินอยู่ในความคุ้มครองหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ขอห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องที่ดินพิพาทต่อไปฟ้องและคำขอบังคับคดีของโจทก์จึงมีผลกระทบไปถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีย่อมจะใช้สิทธิเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้เพื่อต่อสู้คดีโจทก์ หรือใช้สิทธิฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามลำพัง ตามคำร้องของจำเลยที่1 ที่ขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้โจทก์ควรจะฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้หมายเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรียอมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยดี มิได้คัดค้านประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกันให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้จึงเป็นการชอบ ที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยมิได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยเห็นสมควรโดยถือเอาคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นมูลฐานพิจารณาสั่งตามอำนาจของศาล จึงไม่จำเป็นฟังคำคัดค้านของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหน่วยงานราชการและข้อยกเว้นภาษีจากการจ้างทำทองรูปพรรณ โดยมิใช่การซื้อขาย
ตำแหน่งสรรพากรจังหวัดมีหน้าที่ตรวจเก็บภาษี ถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีกฎกระทรวงกำหนดไว้ โจทก์ไม่ปรารถนาจะฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว จึงระบุฟ้องสรรพากรจังหวัดฯ ได้ เป็นการฟ้องบุคคลทีมีตัวอยู่แน่นอนเพียงคนเดียวในจังหวัดนั้นอันมีตำแหน่งหน้าที่การงาน
การนำทองมาจ้างให้ทำทองรูปพรรณแล้วเจ้าของมารับคืนไป ไม่ใช่การซื้อ เงินค่าจ้างค่าแรงให้ทำทองเงินรูปพรรณไปใช่เงินค่าซื้อโภคภัณฑ์ ผู้รับจ้างไม่ต้องเสียภาษีโภคภัณฑ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวเมื่อสัญญาเป็นของหน่วยงานราชการ จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างเหมา สร้างสุขศาลาจากจำเลย ซึ่งเป็นสาธารณสุขจังหวัด โจทก์แถลงยืนยันต่อศาลเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว แต่ตามคำบรรยายฟ้องและคำพยานโจทก์ได้ความชัดเจนว่าจำเลยทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ทำสุขศาลานั้นจำเลยเป็น่เพียงตัวแทนของกรมสาธารณสุขเท่านั้น ดังนี้จำเลยจึงหาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวไม่ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาและการรับรองคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย กรณีฉ้อโกงทรัพย์ของหน่วยงานราชการ
ตามกฎหมายไม่ได้บังคับไว้ว่า ฟ้องต้องบรรยายไว้ด้วยว่า ได้มีการสอบสวนแล้ว เมื่อคดีปรากฎว่า ก่อนฟ้องได้มีการสอบสวนแล้วก็เป็นอันใช้ได้.
ฉ้อโกงทรัพย์ของการไฟฟ้าหลวงสามเสน ซึ่งขึ้นอยู่แก่กรมโยธาเทศบาล ( ครั้งนั้นยังเป็นกรมโยธาธิการ ) อธิบดีแห่งกรมดังกล่าวย่อมร้องทุกข์ได้
คำร้องทุกข์ของอธิบดีกรมโยธาธิการ ซึ่งมีข้อความว่า "......ได้ทราบจากเจ้าพนักงานสอบสวนว่า คดีนายเทื้อมกับพวก ซึ่งต้องหาว่า ทุจจริตต่อหน้าที่และปลอมหนังสือนั้น ได้มีข้อหาเพิ่มเติมอีกว่า ทำการฉ้อโกงทรัพย์ด้วย ฉัน ในฐานะเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการ จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ฉันขอมอบคดีฐานฉ้อโกงให้ตำรวจและอัยยการดำเนินคดีต่อไป. (ลงชื่อ ล.บูรกัมโกวิท) " เป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยมาตรา 123 ป.ม.วิ.อาญาแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยอมรับอำนาจศาลของหน่วยงานราชการ และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
กรมที่ถูกฟ้องไม่ยอมมาเปนจำเลย ศาลบังคับอย่างใดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน่วยงานราชการไม่อยู่ในอำนาจศาลล้มละลาย และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องคดีล้มละลายมิใช่เป็นการฟ้องเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่นคดีแพ่งทั่วไป แต่เป็นการฟ้องเพื่อดำเนินการเข้าจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ทั้งนี้เพื่อที่จะนำเงินที่ได้จากการจัดการทรัพย์สินนั้นมาแบ่งชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ ดังนั้น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายจึงเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ แล้วนำมาจัดสรรแบ่งชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ของลูกหนี้ จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการของรัฐ ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 จึงเป็นทรัพย์สินที่ตามกฎหมายไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทั้งจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจหน้าที่ตามที่ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ และการจะได้รับชำระหนี้ของส่วนราชการนั้น โจทก์ย่อมสามารถกระทำได้โดยวิธีการอื่น เช่น การเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณแผ่นดิน เป็นต้น นอกจากการฟ้องขอให้หน่วยงานราชการของรัฐตกเป็นบุคคลล้มละลายซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6492/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าชดเชย และความรับผิดของหน่วยงานราชการ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม โดยอ้างว่าคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายที่สั่งว่า ส. ไม่ได้กระทำผิดกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119 และให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ ส. ทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ และการออกคำสั่งที่ 60/2553 ของจำเลยที่ 3 ได้กระทำไปโดยอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งก็ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงโจทก์เพื่อส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้แก่โจทก์ ก็เป็นการปฏิบัติราชการในส่วนงานสารบรรณของทางราชการเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกคำสั่งดังกล่าวแต่ประการใด เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มิได้มีส่วนต้องร่วมรับผิด ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2
of 5