พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ภาษีของบริษัท แม้จะยังไม่มีการแจ้งประเมิน และต้องเก็บรักษาเอกสารการชำระบัญชี
จำเลยเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำกัด จึงมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยจึงควรจะต้องทราบว่าบริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีดังกล่าวแก่โจทก์ เนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการประเมินเอง หาจำต้องรอให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินมาก่อนไม่ เพียงแต่หากผู้มีหน้าที่ชำระภาษียื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานมีอำนาจออกหมายเรียกมาไต่สวนและแจ้งการประเมินได้ต่อไปเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ จึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่
การชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1271 ที่ให้มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายของบริษัทซึ่งได้ชำระบัญชีแก่นายทะเบียนเพื่อเก็บรักษาไว้ 10 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวโดยอ้างว่าไม่มีผู้เก็บรักษาจึงฟังไม่ขึ้น
เมื่อบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมา โดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง การที่จำเลยมิได้กันเงินที่ชำระหนี้ให้โจทก์แต่กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหุ้น จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1264 , 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า คดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยมาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุด ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน จึงไม่ขาดอายุความ
การชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1271 ที่ให้มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายของบริษัทซึ่งได้ชำระบัญชีแก่นายทะเบียนเพื่อเก็บรักษาไว้ 10 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวโดยอ้างว่าไม่มีผู้เก็บรักษาจึงฟังไม่ขึ้น
เมื่อบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมา โดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง การที่จำเลยมิได้กันเงินที่ชำระหนี้ให้โจทก์แต่กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนแก่ผู้ถือหุ้น จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1264 , 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า คดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยมาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุด ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ชำระบัญชีและการละเมิดจากความผิดพลาดในการชำระภาษี คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท บ. หน้าที่สำคัญที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องดำเนินการ คือการชำระสะสางการงานของบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 การที่บริษัท บ. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ทำให้การชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัท จึงมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตามมาตรา 1168 และในฐานะเป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่ามีหนี้ภาษีอากรหาได้ไม่ อีกทั้งเมื่อบริษัทจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจำเลยมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งเลิกกิจการภายหลังจากนั้น 1 ปีเศษ และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีในเวลา 2 เดือนเศษต่อมาโดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่ แต่จำเลยไม่ได้กันเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ กลับแบ่งเงินดังกล่าวเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นจึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264 และมาตรา 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ต่อมาศาลฎีกาเห็นว่าคดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางและพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวนั้นถึงที่สุด เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ต่อมาศาลฎีกาเห็นว่าคดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางและพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวนั้นถึงที่สุด เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 9 เมษายน 2541 ไม่เกิน 60 วัน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งงานภายในหน่วยงานทางทหาร และความรับผิดในความเสียหายจากสิ่งอุปกรณ์สูญหาย โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่มีหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 จงใจไม่เก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์อย่างไร จำเลยที่ 1 รับสิ่งอุปกรณ์มาจำนวนเท่าใด จากใคร เมื่อใด และสิ่งอุปกรณ์ได้สูญหายหรือขาดบัญชีไปอย่างไร แต่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าในชั้นสืบพยาน โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงการแบ่งและมอบอำนาจหน้าที่ของฝ่ายพลาธิการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่ ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏในมูลเหตุแห่งกรณีและรายละเอียดแห่งข้อหาอันเป็น หลักฐานแห่งฐานความผิด เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลงต่อสู้คดีและเสียเปรียบ ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลา ที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นั้นเป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับ สิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้ เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ ของโจทก์สูญหาย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลา ที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นั้นเป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับ สิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้ เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ ของโจทก์สูญหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นายทหารพลาธิการ, การแบ่งมอบงาน, การรับผิดในความเสียหายจากเจ้าหน้าที่อื่น, คำสั่งภายในหน่วยงาน
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 จงใจไม่เก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์อย่างไร จำเลยที่ 1 รับสิ่งอุปกรณ์มาจำนวนเท่าใด จากใคร เมื่อใด และสิ่งอุปกรณ์ได้สูญหายหรือขาดบัญชีไปอย่างไร แต่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ในชั้นสืบพยาน โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงการแบ่งและมอบอำนาจหน้าที่ของฝ่ายพลาธิการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่ ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏในมูลเหตุแห่งกรณีและรายละเอียดแห่งข้อหาอันเป็นหลักแห่งฐานความผิด เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลงต่อสู้คดีและเสียเปรียบ ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ของโจทก์สูญหาย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ของโจทก์สูญหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในแผ่นป้ายทะเบียนรถเมื่อเลิกสัญญาเดินรถ: จำเลยมีหน้าที่คืนนายทะเบียน, โจทก์ไม่มีสิทธิยึดถือ
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นเอกสารราชการระบุว่า จำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ส่วนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ ทั้งสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการของโจทก์และจำเลยก็ระบุให้จำเลยมีอำนาจบอกเลิกสัญญาหรือถอนรถออกจากการเป็นรถร่วมได้ทันที การที่โจทก์ได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถมาโดยผลจากการทำสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการในเส้นทางสัมปทานของจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการกับโจทก์แล้วพอถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะเลิกใช้รถยนต์โดยสารแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนประจำจังหวัดทราบและต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนรถดังกล่าวคืนแก่นายทะเบียนตามมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นจำเลยจะมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตาม มาตรา 143 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยึดแผ่นป้ายทะเบียนรถนั้นไว้ และต้องส่งคืนให้แก่จำเลยเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปิดคดีล้มละลายไม่ได้ทำให้คดีสิ้นสุด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายเดิม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 134 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงผลของคำสั่งปิดคดีว่าเป็นเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไว้เป็นการชั่วคราว แต่ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ตามมาตรา 160 อนุมัติการใด ๆ ที่กฎหมายบัญญัติไว้และตรวจบัญชีรับจ่ายของบุคคลล้มละลายตามมาตรา 134 วรรคหนึ่ง(1)ถึง (3) รวมทั้งยังอาจขอให้ศาลเปิดคดีต่อไปเมื่อเห็นว่าบุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ตามมาตรา 134 วรรคท้ายอีกด้วยจึงต้องถือว่าคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อคดีนี้ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับกรณีจึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34บัญญัติไว้ จำเลยจะร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 35 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนก่อน
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ละเลยไม่ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุผลเพียงพอ ลำพังแต่ไม่มีการสอบสวนก่อนไม่ทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
++ เรื่อง ยักยอก ++
จำเลยกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก โดยจำเลยกระทำผิดหน้าที่ รับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายรวม 8 ครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้ผู้เสียหายในแต่ละครั้งทันทีเมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม
จำเลยกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก โดยจำเลยกระทำผิดหน้าที่ รับชำระเงินสดหรือเช็คจากลูกค้าที่ชำระราคาค่าซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายรวม 8 ครั้งไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบให้ผู้เสียหายในแต่ละครั้งทันทีเมื่อจำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงานและการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ศาลยกฟ้องเมื่อข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่พิพาทกันในเขตปกครองท้องที่ ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่ดินที่พิพาทกัน ณ เขตรับผิดชอบอันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหาย ไปร่วมรังวัดที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินไปร่วมรังวัดที่ดินด้วยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าว ในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายเพราะได้กระทำการตามหน้าที่พิพากษาลงโทษจำเลย เป็นการพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มิได้ กล่าวในฟ้อง ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยโดยเห็นว่า การที่ผู้เสียหายไปรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งนั้น ไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457มาตรา 10,27 และพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถือว่า ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้เสียหายไปเป็นพยานในการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งเป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเจ้าพนักงานนั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายเพราะได้กระทำการตามหน้าที่พิพากษาลงโทษจำเลย เป็นการพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มิได้ กล่าวในฟ้อง ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยโดยเห็นว่า การที่ผู้เสียหายไปรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งนั้น ไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457มาตรา 10,27 และพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถือว่า ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้เสียหายไปเป็นพยานในการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งเป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเจ้าพนักงานนั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่จนเกิดความเสียหายต่อนายจ้าง
จำเลยให้การว่าสาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อ นายจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง โดยเหตุเกิดจากมีลูกค้าของจำเลยมาติดต่อขอซื้อตั๋วและได้ชำระค่าตั๋วเป็นเช็คเงินสดมอบให้โจทก์ซึ่งเป็น พนักงานขายตั๋วของจำเลย โจทก์ออกหลักฐานการรับเงินให้ลูกค้าไป ต่อมาจำเลยตรวจพบว่าเช็คดังกล่าวไม่ได้เข้า บัญชีจำเลยแต่หายไป จำเลยจึงให้ทนายความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ ถึงแม้ว่าต่อมาอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ แต่การที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบจำหน่ายตั๋วรับเงินค่าตั๋วแล้วละเลยต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้เช็คที่ลูกค้านำมาชำระค่าตั๋วให้จำเลยหายไป ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหาย เห็นได้ว่าตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของโจทก์ตั้งแต่ก่อนเช็คที่ลูกค้านำมาชำระค่าตั๋วให้จำเลยซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของโจทก์หายไปจนถึงการดำเนินการของจำเลยหลังจากเช็คดังกล่าวหายไปโดยมิได้ยืนยันว่าโจทก์ลักเช็คไปและประมาทเลินเล่อทำให้เช็คหายด้วย ทั้งสองประการ แต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏเพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการลักทรัพย์หรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่าที่ทางพิจารณาได้ความ ฉะนั้นคำให้การจำเลยจึงไม่ขัดกัน