คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่นำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบพยานหลักฐานในความผิดอาวุธปืน และการลงโทษตามกฎหมายอาญา
ในความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคสองไม่ได้ คงลงโทษได้เพียงฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบในความผิดอาวุธปืน และการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ในความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวเมื่อโจทก์ไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก ประกอบมาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้คงลงโทษได้เพียงฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของโจทก์: การส่งเอกสารไม่อาจทดแทนการสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ฟ้อง
เมื่อศาลกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารที่แนบท้ายคำฟ้องโดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสิบห้าคนดำเนินการเลือกกำนันโดยมิชอบด้วยกฎหมายดัง ที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่อาจชนะคดีได้ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เองนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบในประเด็นที่ตนมีหน้าที่นำสืบข้างต้นฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบโจทก์ในคดีอาวุธปืน - การพิสูจน์การไม่มีใบอนุญาต
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธโจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ถ้าไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4240/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบ เอกสารมหาชน และค่าฤชาธรรมเนียมในคดีมรดก
โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงยอมผูกมัดตนเองว่าหากนัดหน้าไม่ได้พยานมาก็จะไม่ติดใจสืบ ดังนี้ เมื่อถึงวันนัดโจทก์ยังไม่ได้ตัวพยานมาศาลอีกก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานปากนี้ตามที่เคยแถลงไว้ ไม่ว่าพยานจะได้รับหมายเรียกไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน และโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้โดยชอบแล้ว แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวจะไม่ชอบไม่ถูกต้องจริงหรือไม่ก็ตาม หากคู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว และการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวก็ไม่ทำให้เหตุผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นได้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานใหม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทกันมาแต่ต้น โดยโจทก์สามารถนำพยานมาเบิกความต่อศาลได้ แต่ก็ไม่ได้นำมา การที่โจทก์ขอนำพยานดังกล่าวมาเบิกความหลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว ย่อมเป็นการเพิ่มเติมคดีของโจทก์ที่บกพร่องอยู่และพ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานเข้าสืบตามกฎหมายแล้ว จึงไม่สมควรอนุญาตให้โจทก์สืบพยาน
แม้ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมและคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมจะเป็นเอกสารมหาชน แต่คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันก็นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบหักล้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
การได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 157 นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว แต่ถ้าแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม, สิทธิการได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์มีหน้าที่นำสืบ, ศาลมีดุลยพินิจเรียกจำเลยร่วม, การทำงานบกพร่องไม่เป็นเหตุยกเว้นค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
กรณีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยหลังจากยื่นฟ้องแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) นั้น ศาลแรงงานกลางจะเรียกให้ตามที่ขอหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่เรียกเป็นการไม่ชอบ จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54
การที่โจทก์ทำงานบกพร่อง ขาดความสามารถ หรือไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานอื่น เป็นเพียงคุณลักษณะส่วนตัวของโจทก์ ไม่ใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบในคดีเช็ค: โจทก์ต้องพิสูจน์ลายมือชื่อและวันเดือนปี
การนำสืบว่าจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คและลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของจำเลยเมื่ออ้างนิติกรรมอำพราง – เงินกู้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยให้การว่าหลักฐานการกู้ยืมที่ทำ ขึ้นนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางในการที่สามีโจทก์มอบเงินให้ จำเลยไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหญิงส่งไปเป็นนางบำเรอพวก เศรษฐีในฮ่องกงเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ดังนี้ เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องแล้ว แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าเป็นเงินที่สามีโจทก์มอบให้จำเลย เพื่อให้กระทำการในสิ่งที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆเพื่อสนับสนุนคำให้การของ ตน หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบเมื่ออ้างนิติกรรมอำพราง: จำเลยต้องพิสูจน์ข้ออ้าง หากศาลเชื่อว่ากู้ยืมเงินจริง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยให้การว่าหลักฐานการกู้ยืมที่ทำ ขึ้นนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางในการที่สามีโจทก์มอบเงินให้ จำเลยไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหญิงส่งไปเป็นนางบำเรอพวก เศรษฐีในฮ่องกง เป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีมูลหนี้ ต่อกัน โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ดังนี้ เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องแล้ว แต่จำเลยกล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าเป็นเงินที่สามีโจทก์มอบให้จำเลย เพื่อให้กระทำการในสิ่งที่ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆเพื่อสนับสนุนคำให้การของ ตน หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
of 26