คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หมดอายุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนในที่ทำงาน: ระยะเวลาที่ใช้พิจารณาเลิกจ้าง - คำเตือนเก่าหมดอายุ
แม้ความในมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บัญญัติว่าคำเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะนานเกินสมควรที่จะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้ในระหว่างที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ก็ไม่อาจแปลได้ว่าเมื่อมีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานอยู่เพราะลูกจ้างย่อมขาดความคุ้มครอง ดังนั้น เมื่อลูกจ้างได้รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วรู้สำนึกแก้ไขการทำงานและประพฤติตนตามระเบียบข้อบังคับแล้ว คำเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไป
นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลาห่างกับการเลิกจ้าง 7 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว จะนำคำเตือนนั้นมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปีกลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไปแต่อย่างใดไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2735/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินวางศาลเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: สิทธิการรับคืนและการหมดอายุตามกำหนด
โจทก์นำเงินมาวางตามคำสั่งศาล ซึ่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ ของโจทก์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และเพื่อเป็นประกันความเสียหายของจำเลย หากโจทก์แพ้คดีซึ่งโจทก์มีสิทธิรับไปจากศาลเมื่อโจทก์ชนะคดีเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์เป็นฝ่ายชนะเงินดังกล่าว จึงเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาลที่โจทก์จะต้องขอรับไปในกำหนดห้าปี ตามมาตรา 323 หากล่วงเลยกำหนดห้าปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอรับคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญาเช่าใหม่ หากไม่ตกลง โจทก์มีสิทธิขับไล่
โจทก์รับโอนตึกแถวสามชั้นครึ่งจาก พ. ตึกแถวดังกล่าวจำเลยทำสัญญาเช่ากับ พ. มีกำหนด 10 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าย่อมระงับไปโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ก่อนและหลังสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะไม่ให้เช่าตึกแถวดังกล่าวเฉพาะชั้นสองและชั้นสามยอมให้จำเลยเช่าเฉพาะชั้นล่าง ให้จำเลยมาทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่สนองรับจำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในตึกดังกล่าว และ หนังสือดังกล่าวมิใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมอุทธรณ์หลังหมดอายุ และความผิดฐานมีไม้หวงห้ามต่างกรรมกัน
จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ไว้แล้ว ต่อมาเมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมอุทธรณ์อีกฉบับหนึ่งซึ่งมีลักษณะและเนื้อหาเป็นการเพิ่มปัญหาขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้แล้ว ถือเท่ากับเป็นการยื่นอุทธรณ์นั่นเอง ซึ่งจะต้องกระทำภายในกำหนด 15 วัน ศาลไม่รับเป็นเพิ่มเติมอุทธรณ์ แต่ให้รับไว้เป็นคำแถลงการณ์
ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองกับความผิดฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในความครอบครองเป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้ซื้อทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากตึกพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมในอัตราค่าเช่าเดือนละ 500 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาทซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยเช่าตึกพิพาทจากเจ้าของเดิม ในสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่ให้เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ข้อตกลงนี้เป็นข้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าแจ้งแก่ผู้เช่า จึงไม่มีผลถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแม้โจทก์จะซื้อตึกพิพาทโดยรู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเมื่อตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และระยะเวลาตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมก็สิ้นสุดลงแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ แม้มีการเก็บค่าเช่าต่อ ก็ไม่ถือเป็นสัญญาใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นบริวารของผู้เช่าออกจากตึกแถวที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว โดยเรียกค่าเสียหายที่ไม่อาจให้ผู้อื่นเช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาทมาด้วย จำเลยให้การต่อสู้ว่ายังไม่ครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า และโจทก์ให้จำเลยเช่าต่อจากบิดาจำเลย เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 1,000 บาท เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ถึงแม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทหลังจากสัญญาเช่าครบกำหนดได้
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยระงับลงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าจึงไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564
หลังจากบิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าถึงแก่กรรม แม้โจทก์ยังเก็บค่าเช่าจากจำเลยและออกใบเสร็จรับเงินให้ แต่ออกให้ในนามของบิดาจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือระหว่างโจทก์กับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าช่วง: สัญญาเช่าเดิมหมดอายุแล้วการเช่าช่วงจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์
สัญญาเช่าข้อ 6 ระบุให้สัญญาเช่าผูกพันไปถึงผู้เช่าช่วงจนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี ตามข้อ 1 สัญญาข้อ 7 ให้ผู้เช่าต่ออายุได้ถ้าต้องการ ผู้เช่าเช่าต่อจาก 3 ปีแล้วเอามาให้เช่าช่วง การเช่าช่วงนี้ไม่มีผลผูกพันถึงผู้เช่าช่วงตามข้อ 6 ศาลพิพากษาขับไล่ผู้เช่า ผู้เช่าช่วงอยู่ในฐานะบริวารจึงถูกบังคับตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาคำร้องพิจารณาใหม่และการหมดอายุของเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งให้ยกคำร้องเพราะจำเลยยื่นคำขอเมื่อพ้น 15 วัน นับแต่วันทราบคำบังคับ จำเลยอุทธรณ์ เห็นว่าคำขอของจำเลยได้แสดงเหตุที่ขาดนัดและเหตุที่ยื่นคำขอล่าช้ามาโดยละเอียดพอสมควรแล้ว แต่ในข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลหาได้กล่าวมาโดยละเอียดชัดแจ้งไม่ จึงพิพากษายืน จำเลยจึงมายื่นคำขอพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยบรรยายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นด้วย ดังนี้ คำขอให้พิจารณาใหม่ที่จำเลยยื่นในครั้งหลังก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งกำหนดเวลาตามมาตรา 208 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเช่นเดียวกับฉบับแรก เมื่อปรากฏว่าพนักงานเดินหมายส่งคำบังคับให้แก่จำเลยวันที่ 14 กันยายน 2521 และคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับหลัง จำเลยอ้างว่า ศ. ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกับจำเลยและเป็นผู้รับหมายไว้แทนเพิ่งมอบคำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2521 แม้กรณีที่จำเลยอ้างว่าเพิ่งทราบคำบังคับจะถือได้ว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวก็ได้สิ้นสุดลงแล้วในวันที่จำเลยทราบคำบังคับ จำเลยมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ฉบับหลังเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2522 จึงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง คำร้องดังกล่าวจึงต้องห้ามตามมาตรา 208 ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกโดยไม่บรรยายข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคท้าย จนศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องไปแล้วนั้น ก็เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีนอกเหนือคำฟ้อง: สัญญาเช่าผิดนัด vs. สัญญาเช่าหมดอายุ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างเหตุว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้วเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่า มิได้อ้างเหตุว่า สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว การที่ศาลล่างพิพากษาขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุที่ว่าขณะศาลตัดสิน สัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอยู่นั้นเป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
of 9