คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เขตอำนาจศาลอยู่ที่สถานที่ทำข้อตกลง
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1520 และมาตรา 1566 (6)เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: แก้ไขได้เมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง แม้มีข้อตกลงประนีประนอม
มาตรา 1526 แห่ง ป.พ.พ.เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่คู่หย่าในคดีหย่าได้ในกรณีหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง มิได้เป็นบทบัญญัติที่บังคับว่าจะเรียกค่าเลี้ยงชีพได้แต่เฉพาะมีคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีหย่าว่า จำเลยยอมจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และยอมชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนทุกเดือนตลอดไป ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการยืดขยายหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภรรยาออกไปหลังการสมรสสิ้นสุดลง อันเป็นการช่วยเหลือจุนเจือกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมใช้บังคับได้ และในมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติ มาตรา1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูมาใช้บังคับเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพโดยอนุโลม ซึ่งเมื่ออนุโลมตามมาตรา 1598/39วรรคหนึ่ง แล้วจะได้ความว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพโดยให้เพิกถอน ลดเพิ่มหรือกลับให้ค่าเลี้ยงชีพอีกก็ได้ ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไปจึงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง และมิได้เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนี-ประนอมยอมความ คำร้องของจำเลยจึงมิได้อยู่ในบังคับที่จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนจำเลยซึ่งเป็นความเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว และจำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตลอดมา แต่เมื่อพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปัจจุบันจำเลยกลับอยู่ในสภาพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ โดยให้จำเลยงดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานะหลังหย่าและการแก้ไขค่าเลี้ยงชีพตามสัญญายอมความ
มาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่คู่หย่าได้ในกรณีหนึ่งเท่านั้นเมื่อการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง มิได้เป็นบทบัญญัติที่บังคับว่าจะเรียกค่าเลี้ยงชีพได้แต่เฉพาะมีคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีหย่าว่าจำเลยยอมจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และยอมชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนทุกเดือนตลอดไป ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการยืดขยายหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาออกไปหลังการสมรสสิ้นสุดลง อันเป็นการช่วยเหลือจุนเจือกันไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับได้ และในมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1589/41 เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูมาใช้บังคับเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพโดยอนุโลมเมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไปศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าเลี้ยงชีพอีกก็ได้ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง จะบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความ แต่กรณีที่จำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง มิได้เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความ คำร้องของจำเลยจึงมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ดังกล่าว
กฎหมายมิได้กำหนดให้ดูความเปลี่ยนแปลงของฐานะของคู่กรณีแต่เฉพาะทรัพย์ที่มีขึ้นภายหลังการหย่า จึงต้องคำนึงถึงทรัพย์สินทุกชนิดที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมีอยู่ขณะที่พิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลง เมื่อโจทก์ยังมีที่ดินเนื้อที่ 80 ตารางวา พร้อมบ้านสองชั้นมีราคาสูงกว่า 700,000 บาท ส่วนจำเลยมีรายได้เฉพาะเงินเดือนเพียงอย่างเดียวจำนวนเดือนละ 15,380 บาท มีภริยาและบุตรอายุ 13 ปี ที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาอีก 1 คน นอกจากนี้ยังเป็นหนี้สหกรณ์ 120,000 บาท โดยไม่มีทรัพย์สินใด ๆ เป็นของตนเอง หากจำเลยต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือน เป็นเงินเดือนละ 5,383 บาท จำเลยจะเหลือเงินที่ใช้จ่ายในครอบครัวเดือนละไม่ถึง 10,000 บาท และเหลือเวลารับราชการอีกเพียง 4 ปี ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบฐานะของโจทก์กับจำเลยแล้วเห็นได้ว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยปัจจุบันจำเลยกลับอยู่ในสภาพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าโจทก์ จึงถึงเวลาสมควรที่จะสั่งให้จำเลยงดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: ศาลพิจารณาความเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจของคู่กรณีได้
มาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่คู่หย่าได้ในกรณีหนึ่ง เมื่อปรากฎว่าการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง มิได้เป็นบทบัญญัติที่บังคับว่าจะเรียกค่าเลี้ยงชีพได้แต่เฉพาะมีคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีหย่าว่าจำเลยยอมจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และยอมชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนทุกเดือนตลอดไป ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการยึดขยายหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภรรยาออกไปหลังการสมรสสิ้นสุดลง อันเป็นการช่วยเหลือจุนเจือกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมใช้บังคับได้ และในมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูมาใช้บังคับเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพโดยอนุโลม ซึ่งเมื่ออนุโลมตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง แล้วจะได้ความว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพโดยให้เพิกถอน ลดเพิ่มหรือกลับให้ค่าเลี้ยงชีพอีกก็ได้ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไปจึงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้ แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง และมิได้เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความ คำร้องของจำเลยจึงมิได้อยู่ในบังคับที่จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนจำเลยซึ่งเป็นความเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว และจำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตลอดมา แต่เมื่อพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปัจจุบันจำเลยกลับอยู่ในสภาพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ โดยให้จำเลยงดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม: สิทธิในการแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยาหลังหย่า
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันหาที่ดินและบ้านพิพาทมาด้วยกันจึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อโจทก์ขอแบ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งให้โดยปราศจากเหตุผลโดยชอบ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอแบ่งได้
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายความว่า โจทก์กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยากัน และระหว่างอยู่กินกันนั้นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำมาหาได้ซึ่งที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้หย่ากัน โจทก์จึงขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่ง โจทก์จึงฟ้องต่อศาล เช่นนี้สาระสำคัญของฟ้องโจทก์ประสงค์โดยตรงและชัดแจ้งที่จะขอให้ศาลแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งนั้นแล้วแต่ศาลจะกำหนดวิธีการแบ่งให้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็กำหนดวิธีการแบ่งให้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364 ส่วนที่โจทก์กำหนดราคาที่ดินและบ้านและขอส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งนั้น โจทก์เพียงแต่ประมาณราคามาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณส่วนได้และการเสียค่าขึ้นศาล แสดงว่าราคาที่ดินแบ่งกันจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบ แม้หากปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าราคาไม่ถึงจำนวนที่ประมาณไว้ก็ไม่เป็นสาระสำคัญ เพียงแต่โจทก์มีสิทธิจะได้รับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้นดังนั้นการที่ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งและกำหนดวิธีการแบ่งชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม: การฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันหลังหย่า
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันหาที่ดินและบ้านพิพาทมาด้วยกันจึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อโจทก์ขอแบ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งให้โดยปราศจากเหตุผลโดยชอบ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอแบ่งได้ ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายความว่า โจทก์กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยากัน และระหว่างอยู่กินกันนั้นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำมาหาได้ซึ่งที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้หย่ากัน โจทก์จึงขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่ง โจทก์จึงฟ้องต่อศาล เช่นนี้สาระสำคัญของฟ้องโจทก์ประสงค์โดยตรงและชัดแจ้งที่จะชอบให้ศาลแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยฝ่ายละกึ่งหนึ่งส่วนวิธีการแบ่งนั้นแล้วแต่ศาลจะกำหนดวิธีการแบ่งให้ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็กำหนดวิธีการแบ่งให้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364ส่วนที่โจทก์กำหนดราคาที่ดินและบ้านและขอส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งนั้น โจทก์เพียงแต่ประมาณราคามาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณส่วนได้และการเสียค่าขึ้นศาล แสดงว่าราคาที่ดินแบ่งกันจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบ แม้หากปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าราคาไม่ถึงจำนวนที่ประมาณไว้ก็ไม่เป็นสาระสำคัญเพียงแต่โจทก์มีสิทธิจะได้รับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งและกำหนดวิธีการแบ่งชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9936/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินและบ้านที่ซื้อช่วงแต่งงานเป็นสินสมรส แม้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้บุตรก็ไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวตั้งแต่ซื้อมาจาก ท. ส่วนผู้ร้องมาลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยในภายหลังในฐานะคู่สมรส แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ยิ่งกว่านี้ปรากฏตามทะเบียนสมรสและสารบาญ จดทะเบียนท้ายสำเนาโฉนดที่ดินอันเป็น เอกสารมหาชนเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ก็ปรากฏว่าจำเลยซื้อทรัพย์พิพาทมาจาก ท. เป็นช่วงเวลาที่จำเลยและผู้ร้องยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อหย่ากันตามคำพิพากษาต้องแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ร้องมีอยู่ ในวันฟ้องหย่าคนละส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532(ข),1533 ส่วนบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทย่อมมีกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทด้วย แม้จำเลยกับผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยกที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทในส่วนของจำเลยให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ก็มิได้มีการจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การยกให้จึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299ทรัพย์พิพาทส่วนที่ยกให้บุตรยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ประกอบกับการที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่มีการยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ต้องเป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดอยู่ด้วย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า การอุทธรณ์จำกัดประเด็น และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรสและการปกครองบุตรเท่านั้นส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ ฉะนั้นคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่โจทก์และจำเลยหย่ากันจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งหมด รวมตลอดถึงประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งยุติไปแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสด้วยเช่นนี้ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่มิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและวินิจฉัยประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรสที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเลย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลยโดยระบุว่ามีสินสมรสอยู่ 3 รายการ คือ รถยนต์นั่งยี่ห้อมาสด้า ที่ดินโฉนดที่1912 พร้อมบ้าน 1 หลัง และที่ดินโฉนดที่ 10733 ซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นอยู่ โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในสินสมรสดังกล่าวกึ่งหนึ่ง จึงเป็นคำฟ้องที่โจทก์ขอแบ่งสินสมรสกึ่งหนึ่งของสินสมรสที่มีอยู่นั่นเอง และตามรายงานกระบวนพิจารณาโจทก์แถลงประสงค์ที่จะได้สินสมรสไว้โดยแบ่งจำนวนเงินให้แก่จำเลยเช่นกันมิใช่มุ่งประสงค์เฉพาะแต่เพียงจำนวนเงินส่วนแบ่งสินสมรสจำนวน352,000 บาท ที่ระบุมาเท่านั้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเป็นจำนวนเงินดังกล่าวมา ก็เป็นการตีราคาทรัพย์สินเป็นทุนทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณค่าขึ้นศาล หาใช่เป็นข้อจำกัดแห่งคำฟ้องที่จะต้องแบ่งตามจำนวนเงินที่ตีราคาไม่ ศาลจึงชอบที่พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสทั้ง 3 รายการ เฉพาะส่วนของโจทก์และจำเลยให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก แม้หย่าแล้ว แต่มีทรัพย์สินร่วมกัน ย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
แม้การจดทะเบียนหย่าจะทำให้ผู้คัดค้านที่3มิใช่ทายาทของผู้ตายแต่เมื่อผู้คัดค้านที่3ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายผู้คัดค้านที่3จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 กฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บังคับว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอและจะขอให้ศาลตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกก็ต้องให้ผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หลักเกณฑ์การพิสูจน์การมีส่วนร่วมในการซื้อทรัพย์สิน และผลของการโอนทรัพย์สินหลังหย่า
คดีมีประเด็นเพียงว่าทรัพย์สินที่ได้มาก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าเป็น สินสมรสหรือไม่และทรัพย์สินที่จำเลยได้มาหลังโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าโจทก์เป็น เจ้าของรวมด้วยหรือไม่ฉะนั้นปัญหาเรื่องการจดทะเบียนหย่าสมบูรณ์หรือไม่แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ให้ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ก็ตามแต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการ ดำเนินกระบวนพิจารณา โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)หาได้ไม่การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจดทะเบียนหย่าไม่สมบูรณ์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้วแต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาตลอดมาโดยยังมิได้แบ่งสินสมรสกันหลังจากนั้นจำเลยนำที่ดินสินสมรสไปจำนองและซื้อที่ดิน3แปลงและร่วมกันทำประโยชน์จนกระทั่งตกลงเลิกอยู่กินฉันสามีภริยากันโจทก์จำเลยจึงร่วมกันเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวต่อมาจำเลยขายที่ดินทั้งสามแปลงแล้วนำเงินไปซื้อที่ดินใหม่2แปลงและรถยนต์2คันพร้อมด้วยสิทธิการเดินรถดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอ แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมสินสมรสที่ยังมิได้แบ่งด้วยกึ่งหนึ่ง
of 29