พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199-200/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การตีความความรับผิด และหลักฐานสัญญา
ปัญหากฎหมาย ปัญหาที่เกี่ยวด้วยการแปลสัญญาเป็นปัญหากฎหมายการปฏิเสฐความรับผิดตามสัญญานั้นไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเพราะเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การเท่านั้นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อที่ว่าได้กระทำการใด เป็นปกติหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ป.พ.พ.ม.680 ตอน 2 สัญญา ค้ำประกันนั้นเพียงแต่มีหลักฐาเป็นหนังสือก็ใช้ได้ แปลสัญญา สัญญาค้ำประกันนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องบรรยายความรับผิดไว้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นตามกฎหมายในเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603-604/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นซื้อที่ดิน - สิทธิการแบ่ง - หลักฐานสัญญา - การโอนกรรมสิทธิ - อายุความ
เข้าทุนกันซื้อที่ดินเท่า ๆ กัน ต้องแบ่งที่คนละครึ่ง ลักษณพะยาน การซื้อขายที่ดินไม่มีกำหนดเวลาโอนแลไม่มีหนังสือสัญญาเปนหลักฐาน ฟังไม่ได้ไม่โอนในเวลาสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12945/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบพยานนอกสัญญาขัดหลัก ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) และการตีความสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือโดยมีการวางเงินมัดจำด้วยการวางเงินมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางเงินมัดจำ การฟ้องร้องบังคับคดีจึงต้องอาศัยหลักฐานตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้ กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายในข้อ 1. มีข้อความระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อจะขายที่ดินตารางวาละ 100,000 บาท โดยส่วนที่เป็นถนนตามสภาพจริงจะไม่ถูกนำมาคำนวณเป็นราคาที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยไม่มีข้อความว่าให้จำเลยกันส่วนที่เป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินจะซื้อจะขายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่ข้อความไม่ชัดเจนหรืออาจแปลความได้หลายนัย ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนาของคู่สัญญาอีก ดังนี้ จะนำบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 171 มาบังคับใช้เพื่อสืบพยานบุคคลประกอบการตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงว่าให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกกันส่วนที่เป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินที่จะซื้อจะขาย นอกเหนือข้อตกลงในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6631/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างนักร้อง: เขตอำนาจศาล, หลักฐานสัญญา, สัญญาไม่เป็นธรรม, และดอกเบี้ย
แม้ขณะทำสัญญาจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชัยนาท และลงลายมือชื่อในสัญญาที่อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาที่ห้องบันทึกเสียงจาตุรงค์ จึงถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่ห้องบันทึกเสียงจาตุรงค์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) การที่โจทก์เสนอคำฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าทำสัญญาว่าจ้างร้องเพลงตามฟ้องจริง โดยมิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญา เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญาว่าจ้างร้องเพลงกับโจทก์โดยไม่จำต้องอาศัยหนังสือสัญญาจ้างเป็นหลักฐานในคดีแม้สัญญาจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 จึงรับฟังเป็นหลักฐานได้ และตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าต้องปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์เมื่อใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจมีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้ว หนังสือมอบอำนาจจึงใช้บังคับได้
สัญญาว่าจ้างร้องเพลงระบุว่าโจทก์มีหน้าที่บันทึกเสียง จัดทำแผ่นเสียง แถบบันทึกเสียงคอมแพกดิสก์ วีดิโอ หรือโสตทัศนวัสดุอื่นใดทุกชนิด รวมทั้งมีหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงของจำเลยเองทั้งหมด โจทก์จึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและมีโอกาสเสี่ยงต่อการลงทุน ซึ่งต่างกับจำเลยซึ่งเพียงแต่ลงทุนแรงกายเป็นหลักเท่านั้น การที่สัญญาดังกล่าวจะระบุให้โจทก์ได้สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนจากรายได้ของจำเลยบางส่วนในกำหนด 5 ปี นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรซึ่งหลังจากสิ้นสุดสัญญา จำเลยสามารถแสวงหารายได้จากการมีชื่อเสียงของตนได้เอง หาใช่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว ทั้งจำเลยก็สมัครใจทำสัญญาโดยยอมรับค่าตอบแทนที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบจึงไม่เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นวันผิดนัดก่อนฟ้องคดี จึงเป็นการเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าทำสัญญาว่าจ้างร้องเพลงตามฟ้องจริง โดยมิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของข้อความในสัญญา เพียงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องฟังว่าจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญาว่าจ้างร้องเพลงกับโจทก์โดยไม่จำต้องอาศัยหนังสือสัญญาจ้างเป็นหลักฐานในคดีแม้สัญญาจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 จึงรับฟังเป็นหลักฐานได้ และตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าต้องปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์เมื่อใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจมีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์แล้ว หนังสือมอบอำนาจจึงใช้บังคับได้
สัญญาว่าจ้างร้องเพลงระบุว่าโจทก์มีหน้าที่บันทึกเสียง จัดทำแผ่นเสียง แถบบันทึกเสียงคอมแพกดิสก์ วีดิโอ หรือโสตทัศนวัสดุอื่นใดทุกชนิด รวมทั้งมีหน้าที่โฆษณาประชาสัมพันธ์และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อชื่อเสียงของจำเลยเองทั้งหมด โจทก์จึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและมีโอกาสเสี่ยงต่อการลงทุน ซึ่งต่างกับจำเลยซึ่งเพียงแต่ลงทุนแรงกายเป็นหลักเท่านั้น การที่สัญญาดังกล่าวจะระบุให้โจทก์ได้สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนจากรายได้ของจำเลยบางส่วนในกำหนด 5 ปี นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรซึ่งหลังจากสิ้นสุดสัญญา จำเลยสามารถแสวงหารายได้จากการมีชื่อเสียงของตนได้เอง หาใช่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว ทั้งจำเลยก็สมัครใจทำสัญญาโดยยอมรับค่าตอบแทนที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบจึงไม่เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นวันผิดนัดก่อนฟ้องคดี จึงเป็นการเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐาน ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิอ้างการเช่า และถือเป็นการอยู่โดยละเมิด
การเช่าช่วงที่ดินพิพาทถือเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเช่าช่วงจากโจทก์ แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์แต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้ว เพื่อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้