คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำหุ้นในสัญญาจำนำ: ผู้จำนำรับผิดเฉพาะวงเงินจำนำ ไม่ใช่หนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้น
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงให้เข้าหุ้นเล่นการพนัน: ผู้เสียหายร่วมกระทำผิด ไม่มีสิทธิฟ้อง
จำเลยฉ้อโกงให้โจทก์ร่วมเข้าหุ้นเล่นการพนันต้มบุคคลที่สามโจทก์ร่วมเข้าหุ้นและเข้าเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยดังนี้ เป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ได้พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น และการระงับการจ่ายเช็คโดยมีเหตุผลอันสมควร ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริตตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาท เนื่องจากโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงในเรื่องหนี้สินที่ให้ไว้กับจำเลยยังถือไม่ได้ว่า จำเลยกระทำโดยเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คซื้อหุ้นและการตรวจสอบหนี้สินของบริษัท การกระทำโดยไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยซื้อหุ้นของบริษัท ป. จากโจทก์ โดยโจทก์รับรองว่าจะช่วยเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ของบริษัทให้ การที่จำเลยห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คพิพาท ซึ่งจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เป็นค่าซื้อหุ้นดังกล่าว เพราะจำเลยจะต้องตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ ซึ่งมีรายละเอียดไม่สมบูรณ์ถึง 158 รายการ ที่โจทก์จะต้องไปเรียกเก็บเงินให้จำเลยเสียก่อน ถือว่าไม่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และเงื่อนไขการคืนหุ้นกรณีออกจากงานเนื่องจากทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และผลกระทบต่อสิทธิในหุ้นกรณีทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับหุ้น กรณีไม่แจ้งการโอนหุ้น
แม้ผู้ร้องไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกำหนดนัดเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล ตามมาตรา 119 วรรคสาม ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) หรือไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อต่อสู้ในชั้นศาล และนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำสืบพยานหลักฐานเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22(2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้รับทราบและไม่โต้แย้ง ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเมื่อเวลาผ่านไป
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อของบริษัทจำกัด แม้จะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ร้องรู้เห็นมิได้โต้แย้งปฏิเสธการโอนหุ้นนั้น จึงถือได้ว่า ผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครอง เมื่อครอบครองเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี หากการโอนหุ้นเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองแล้ว จึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้น ส่วนที่ยังชำระไม่ครบตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นโดยเจตนา แม้การโอนจะเป็นโมฆะ ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
บิดาของผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้ร้องโดยที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธการโอนหุ้น ถือได้ว่าผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครอง เมื่อผู้ร้องครอบครองหุ้นตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี ดังนี้แม้การโอนหุ้นจะเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครองแล้ว ผู้ร้องจึงต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ.
of 8