พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาเป็นหุ้นส่วนและการรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด
การที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า อ.น้องภริยาจำเลยต้องการตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยจึงตกลงให้ใช้ชื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใช้บ้าน อ.เป็นที่ตั้งห้างฯ อ.บริหารกิจการเอง จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารต่าง ๆของห้างฯ รวมทั้งเช็ค 3 ฉบับ เพื่อให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ โดยยังไม่ได้ประทับตราของห้างฯและกรอกข้อความนั้น ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้สินของห้างนั้นเสมอเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ.กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมีมูลหนี้ จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ.กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมีมูลหนี้ จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วนธุรกิจ: ศาลคุ้มครองชั่วคราวให้ร่วมกันจัดการรายได้-รายจ่าย ภัตตาคาร
โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันประกอบกิจการภัตตาคาร มีข้อตกลงให้โจทก์เก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายจากการประกอบกิจการ ซึ่งโจทก์จำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงตลอดมา 6 เดือน การที่จำเลยห้ามโจทก์และพนักงานของโจทก์จัดเก็บรายได้ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าจำเลยตั้งใจกระทำซ้ำและกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญา เป็นกรณีมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษามาใช้บังคับ ทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลจึงมีอำนาจสั่งและพิพากษาห้ามมิให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยทำการจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายเพียงฝ่ายเดียวในกิจการภัตตาคาร โดยให้โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์และจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยร่วมกันจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายในกิจการภัตตาคาร และให้ร่วมกันทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อควบคุมรายได้และรายจ่ายในกิจการภัตตาคารในระหว่างพิจารณาคดีจนกว่าจะมีคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในหนี้จากการว่าจ้างช่วง แม้ไม่มีมอบหมายโดยตรง หากเป็นการค้าขายปกติของห้าง
จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันประกอบกิจการรับจ้างถมดิน ทราย และลูกรัง โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบส่งมอบงานและรับค่าจ้างถมดินด้วยและหุ้นส่วนทุกคนจะรับผิดชอบในกิจการดังกล่าวจนแล้วเสร็จการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างช่วงให้โจทก์ถมดินในที่ดินบางส่วนซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างกับผู้ว่าจ้าง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้รับมอบหมายจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นโดยตรง แต่กิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้นก็เพื่อให้สามารถส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างทันตามสัญญา จึงอยู่ภายในกรอบแห่งวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายโดยตรงของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนอันถือได้ว่าเป็นการจัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในกิจการที่ว่าจ้างนั้น และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน จำเป็นต้องมีการเลิกห้างฯ ก่อน
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์จำเลยและศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อโจทก์จำเลยและศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วโจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากการขายที่ดินร่วมกัน และการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินที่ถือสิทธิรวมกันแบ่งขายเอากำไรสุทธิมาแบ่งกันคนละครึ่ง ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งเงินกำไรสุทธิให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงกันในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่า ให้ผู้จัดการธนาคาร ม.เป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของจำนวน 110 แปลง จำเลยมีสิทธิขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจากผู้จัดการธนาคารเท่าที่จำเป็นตามที่ลูกค้ามาขอรับโอนสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าที่ดินจากลูกค้าแล้วต้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารม. ต่อมาจำเลยขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้จัดการธนาคารไปจำนวน 66 แปลง และจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้ลูกค้าไปจำนวน 36 แปลง โดยจำเลยได้รับเงินจำนวน 3,465,000 บาท ซึ่งจำเลยต้องนำเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ แต่จำเลยนำเข้าบัญชีเพียงบางส่วน ทั้งยังได้ถอนเงินออกไปคงเหลือเพียง 9,000 บาท ปัจจุบันมีเงินในบัญชีเพียง 3,000 บาทจำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามข้อตกลงแม้เงินดังกล่าวมิใช่เป็นเงินกำไรสุทธิที่จะนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้นำเงินจากการขายที่ดินครึ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อศาลในระหว่างการพิจารณา มิใช่นำมาแบ่งให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ กรณีมีเหตุที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณามาใช้ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากหุ้นส่วนจากการจัดสรรที่ดิน โดยศาลมีอำนาจคุ้มครองประโยชน์โจทก์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินที่ถือสิทธิรวมกันแบ่งขายเอากำไรสุทธิมาแบ่งกันคนละครึ่งขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งเงินกำไรสุทธิให้แก่โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงกันในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าให้ผู้จัดการธนาคารม.เป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของจำนวน110แปลงจำเลยมีสิทธิขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจากผู้จัดการธนาคารเท่าที่จำเป็นตามที่ลูกค้ามาขอรับโอนสิทธิครอบครองเมื่อจำเลยได้รับเงินค่าที่ดินจากลูกค้าแล้วต้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารม. ต่อมาจำเลยขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้จัดการธนาคารไปจำนวน66แปลงและจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้ลูกค้าไปจำนวน36แปลงโดยจำเลยได้รับเงินจำนวน3,465,000บาทซึ่งจำเลยต้องนำเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์แต่จำเลยนำเข้าบัญชีเพียงบางส่วนทั้งยังได้ถอนเงินออกไปคงเหลือเพียง9,000บาทปัจจุบันมีเงินในบัญชีเพียง3,000บาทจำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามข้อตกลงแม้เงินดังกล่าวมิใช่เป็นเงินกำไรสุทธิที่จะนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งแต่เมื่อโจทก์มีคำร้องขอให้นำเงินจากการขายที่ดินครึ่งหนึ่งมาวางไว้ต่อศาลในระหว่างการพิจารณามิใช่นำมาแบ่งให้แก่โจทก์แต่อย่างใดดังนี้กรณีมีเหตุที่จะนำวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณามาใช้ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมทุนพัฒนาที่ดิน: ข้อพิพาทเรื่องอายุความและการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ตามคำให้การจำเลยต่อสู้เพียงว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมิใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของบุคคลดังกล่าว หาได้ยกข้อต่อสู้เรื่องตราประทับสำคัญของบริษัทโจทก์ขึ้นต่อสู้ไม่ ทั้ง ๆ ที่จำเลยก็รับว่าได้เห็นสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องไม่มีตราประทับสำคัญของบริษัทโจทก์ตั้งแต่ได้รับสำเนาคำฟ้องแล้ว ที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในศาลอุทธรณ์จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จึงชอบแล้ว
ตามสัญญามีข้อตกลงว่า ศ.ยอมให้โจทก์จำเลยในฐานะผู้รับสัญญาร่วมกันมีสิทธิเหนือพื้นดิน มีสิทธิที่จะพัฒนาที่ดินของ ศ.จำนวน 50 ไร่ และมีสิทธิจำหน่ายที่ดินได้ เพื่อเป็นการตอบแทนโจทก์จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินให้ ศ.เป็นเงิน 30,000,000 บาท จำเลยได้ออกเงินร่วมลงทุนตามที่โจทก์ฟ้อง ทั้งตามสัญญาดังกล่าวก็ระบุชัดแจ้งว่า ถ้าการดำเนินงานในที่ดินมีผลกำไรหลังหักภาษีแล้วโจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้รับสัญญาตกลงแบ่งกำไรให้ ศ.ผู้รับสัญญาจำนวนร้อยละ 10ของกำไร ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการค้าที่ดินร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น จึงเป็นการตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสัญญาดังกล่าวต่อโจทก์
กรณีของโจทก์จำเลยเป็นเรื่องหุ้นส่วนเรียกเงินทดรองจ่ายจากหุ้นส่วนด้วยกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามสัญญามีข้อตกลงว่า ศ.ยอมให้โจทก์จำเลยในฐานะผู้รับสัญญาร่วมกันมีสิทธิเหนือพื้นดิน มีสิทธิที่จะพัฒนาที่ดินของ ศ.จำนวน 50 ไร่ และมีสิทธิจำหน่ายที่ดินได้ เพื่อเป็นการตอบแทนโจทก์จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินให้ ศ.เป็นเงิน 30,000,000 บาท จำเลยได้ออกเงินร่วมลงทุนตามที่โจทก์ฟ้อง ทั้งตามสัญญาดังกล่าวก็ระบุชัดแจ้งว่า ถ้าการดำเนินงานในที่ดินมีผลกำไรหลังหักภาษีแล้วโจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้รับสัญญาตกลงแบ่งกำไรให้ ศ.ผู้รับสัญญาจำนวนร้อยละ 10ของกำไร ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการค้าที่ดินร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น จึงเป็นการตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในค่าใช้จ่ายอันเกิดจากสัญญาดังกล่าวต่อโจทก์
กรณีของโจทก์จำเลยเป็นเรื่องหุ้นส่วนเรียกเงินทดรองจ่ายจากหุ้นส่วนด้วยกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดหลังเสียชีวิต: ศาลจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84