คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วนจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำกัด และการนับวันหยุดตามกฎหมาย
ส. เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.จำเลยที่ 1 และออกจากการเป็นหุ้นส่วนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2526ความรับผิดของ ส. อันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ ส. ออกจากหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน คือวันที่ 27 เมษายน 2528ซึ่งตรงกับวันเสาร์และในวันรุ่งขึ้น 28 ก็ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการตามประเพณี เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันจันทร์ที่29 เมษายน 2528 จึงถือได้ว่า ยังอยู่ภายในระยะเวลาสองปีอันเป็นเงื่อนเวลาตามกฎหมายที่ ส. ยังมีความผูกพันเกี่ยวกับหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 ที่ ส. จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังรับฟ้อง & ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อ
ในชั้นยื่นคำฟ้อง แม้ทนายความ ซึ่ง อ. เป็นผู้แต่ง ตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์จะได้ลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยและดำเนินคดีแทนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจและมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้ และจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยชั้นตรวจรับฟ้อง จึงนำป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีการชี้ สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานโจทก์เป็นว่ามอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ซึ่งมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66ซึ่งให้อำนาจศาลไว้ว่า ถ้า มีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อศาลเห็นสมควรก็สอบสวนได้เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้างขวาง เมื่อใดศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจดัง ที่อ้างหรืออำนาจบกพร่อง ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้นได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวด โดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตามป.พ.พ. มาตรา 1088.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการบังคับชำระหนี้จากกองมรดก
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.มีส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียว ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. มีหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งจะต้องชำระแก่จำเลยแต่ห้างฯ ไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าเป็นการผิดนัด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 บัญญัติให้เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนชอบที่จะเรียกให้ชำระเอาแต่หุ้นส่วนผู้จัดการได้ เมื่อห้างฯ ดังกล่าวเป็นอันเลิกไปโดยผลของกฎหมายเพราะ ส.ตายส. จึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นอย่างไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077(2) ซึ่งย่อมรวมถึงหนี้ภาษีอากรค้างด้วย ทรัพย์สินกองมรดกของ ส. จึงตก เป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยจึงชอบที่จะยึดทรัพย์สินดังกล่าวของ ส. เพื่อบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การสูญหายของเอกสาร และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่ 1 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุน มิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1 โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยา ส. และเป็นผู้จัดการมรดก ส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การสูญหายของเอกสาร และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่ 1ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่ 1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71(1)
เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่ 1 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลย จำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่ 1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
โจทก์ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่ 1 เสียชีวิต แม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยา ส.และเป็นผู้จัดการมรดกส. จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่ 1 ก็หามีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่ 1 สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, การสูญหายของเอกสารหลักฐาน
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)นั้นต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนหากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1) เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่1เสียภาษีในอัตราร้อยละ3ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่1ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบแม้โจทก์ที่1จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลยจำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ โจทก์ที่1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ส.หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่1เสียชีวิตแม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยาส.และเป็นผู้จัดการมรดกส.จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่1ก็หามีผลให้โจทก์ที่2ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่1ไม่ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่1สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่2ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์จากการกระทำละเมิด, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวได้จดทะเบียนให้ ส. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ส. มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์จากตึกแถว แต่กรรมสิทธิ์ในตึกแถวยังเป็นของโจทก์ ด้วยอำนาจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ตึกแถวเสียหายได้ การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดแม้หนี้ดังกล่าวจะเกิดจากมูลละเมิด โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อตึกแถวของโจทก์ จึงมีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในการซื้อขายสินค้า โดยการแอบอ้างชื่อผู้อื่นและการมีส่วนร่วมจัดการงานของห้าง
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่พนักงานขาย จำเลยที่ 2เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด โจทก์ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ในนามของจำเลยที่ 2. จำเลยที่ 1 จึงใช้ชื่อจำเลยที่ 4 ซื้อสินค้าแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 2 ก็มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่ 4 เป็นผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 2 อันถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, ผู้ซื้อ, และตัวแทนในการซื้อขายสินค้า โดยมีประเด็นเรื่องการสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง
การตั้งตัวแทนซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปซึ่งจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น เมื่อฟังได้ว่าตัวการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและรับสินค้าไว้ อันถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้แล้ว ก็ย่อมไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่พนักงานขายจำเลยที่ 2 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด โจทก์ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าของโจทก์ในนามของจำเลยที่ 2. จำเลยที่ 1 จึงใช้ชื่อจำเลยที่ 4 ซื้อสินค้าแทนจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 2. ก็มีส่วนร่วมในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่4 เป็นผู้ซื้อแทนจำเลยที่ 2 อันถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 จำเลยที่ 1 จึง ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่อมต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ของห้างหุ้นส่วน เมื่อกรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย อันอาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยได้
มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพิ่งมีคำวินิจฉัยภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชำระค่าภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน เป็นเรื่องให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ออำเภอภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่ละปี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 68 ต้องนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินตามมาตรา 52และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 86รอบระยะเวลาบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้น หนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ปี 2518 ถึง 2520 จึงถึงกำหนดชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าแรงงานแต่ละคราวในปี 2517 ถึงปี 2519 ถึงกำหนดชำระภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินแต่ละคราวและหนี้ค่าภาษีการค้าในเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคมและสิงหาคม 2520 ถึงกำหนดชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนเมษายนมิถุนายน สิงหาคมและกันยายน 2520 ตามลำดับศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2522 กำหนด 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์คือวันที่21 พฤศจิกายน 2521หนี้ค่าภาษีดังกล่าวจึงถึงกำหนดก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
เงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ เป็นเงินเพิ่มเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่จะต้องชำระแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเสียเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีการค้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงถึงกำหนดชำระเป็นเดือนๆ ไปนับแต่วันที่ 15 ของเดือนที่ต้องชำระภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมาย่อมเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 130(6)
ภาษีเทศบาลหรือภาษีท้องถิ่นเป็นภาษีที่คำนวณมาจากภาษีการค้าอัตราร้อยละ 10 ของภาษีการค้า เมื่อเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนหนึ่งเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 130(6)ภาษีเทศบาลจำนวนเท่ากับร้อยละ 10ของเงินเพิ่มภาษีการค้าส่วนนั้นก็เป็นหนี้ตามมาตรา 130(6) เช่นเดียวกัน
of 7