พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายหุ้นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์
การโอนขายหุ้นในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งมีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ทำหนังสือสัญญากันเองก็ใช้ได้(อ้างฎีกาที่ 143/2475)
ผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมขายหุ้นของผู้เยาว์ในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งมีทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาล
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขว่าจะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อนจึงจะขายได้โดยคู่สัญญาเข้าใจผิดคิดว่าจะต้องขออนุญาตจากศาล เมื่อตามกฎหมายไม่ต้องขออนุญาตดังนี้ เงื่อนไขนี้ก็ไม่มีผล ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องบังคับให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาได้ทีเดียว
ผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมขายหุ้นของผู้เยาว์ในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งมีทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาล
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขว่าจะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อนจึงจะขายได้โดยคู่สัญญาเข้าใจผิดคิดว่าจะต้องขออนุญาตจากศาล เมื่อตามกฎหมายไม่ต้องขออนุญาตดังนี้ เงื่อนไขนี้ก็ไม่มีผล ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องบังคับให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาได้ทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3-4/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน
การพิจารนาว่ากิจการที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทเบียนทำไปจะหยู่ไนทางการค้าของหุ้นส่วนหรือไม่จะต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นประกอบกับประเพนีที่ห้างหุ้นส่วนที่มีลักสนะเช่นเดียวกันย่อมปติบัติกันหยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: นายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตกลงจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นถูกต้องตามมาตรา 1061 แล้วผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนการเลิกห้างได้ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนบอกกล่าวยืนยันว่าห้างห้างหุ้นส่วนเลิกจากกันและจัดการทรัพย์สินแล้ว ทั้งคำขอขีดชื่อห้ามหุ้นส่วนไม่ขัดต่อมาตรา 1019 แล้วนายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนให้ โดยไม่มีหน้าที่ปฏิเสธข้อความเหล่านั้น วิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณพะยาน คู่ความฝ่าย 1 ส่งเอกสารเป็นพะยานอีกฝ่าย 1 มิได้ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารแลข้อความในเอกสารทั้งไม่มีหน้าที่ปฏิเสธข้อความในเอกสารนั้นตามกฎหมายแล้วศาลยอมรับฟังเป็นความจริงตามเอกสารนั้นได้ โดยไม่ต้องมีพะยานบุคคลประกอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: ศาลไม่วินิจฉัยประเด็นที่ไม่สำคัญแม้คู่ความชนะคดีแล้ว
หุ้นส่วนสามัญขอเลิกหุ้น ศาลไม่ให้เลิกเมื่อปรากฎว่าค้าขายดีขึ้น
วิธีพิจารณา แพ่ง ถ้าคู่ความซึ่งชนะในประเด็นสำคัญแล้วร้องขอให้วินิจฉัยในประเด็นที่ไม่สำคัญศาลไม่วินิจฉัยให้
วิธีพิจารณา แพ่ง ถ้าคู่ความซึ่งชนะในประเด็นสำคัญแล้วร้องขอให้วินิจฉัยในประเด็นที่ไม่สำคัญศาลไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนต่อหนี้ภาษีที่เกิดขึ้นจากการใช้ชื่อร่วม
จำเลยที่ 1 กับบริษัทต่างประเทศ คือบริษัท พ. และบริษัท ล. ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้ชื่อประกอบการว่า "กิจการร่วมค้า พ. และบริษัท พ. /บริษัท ล." และเข้าทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร จากข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า "กิจการร่วมค้า พ. และบริษัท พ. /บริษัท ล." ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทต่างประเทศอีกสองบริษัทดังกล่าวร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง แม้หลังจากกิจการร่วมค้าฯ ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จำเลยที่ 1 จะโอนสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดในกิจการร่วมค้าฯ ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่กิจการร่วมค้าฯ ทำสัญญากับกรุงเทพมหานครและยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจนกระทั่งเลิกกิจการ มีการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ มาโดยตลอด โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกิจการร่วมค้าฯ ย่อมต้องทราบเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น กลับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการไม่ยินยอมหรือคัดค้านการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ และเหตุในการประเมินภาษีคดีนี้เนื่องจากการกิจการร่วมค้าฯ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงระยะเวลาที่มีการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของกิจการร่วมค้าฯ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10318/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน-การชำระบัญชี-สิทธิเรียกร้อง-อำนาจฟ้อง-การแบ่งทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอให้แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับ อ. มิได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมหรือฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมในฐานะผู้รับพินัยกรรม แม้จะมีคำขอให้จำเลยนำเงินจากกองมรดกของ อ. มาชำระให้แก่โจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงการเรียกส่วนแบ่งคืนทุนและผลกำไรที่คำนวณได้จากการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างโจทก์กับ อ. ซึ่งอยู่ในกองมรดกของ อ. เท่านั้น หาใช่คดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จำเลยจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของ อ. แล้ว ฟ้องโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14968/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การลงทุนด้วยแรงงานและการแบ่งผลกำไร, การเลิกหุ้นส่วนและการชำระบัญชี
เอกสารตามที่โจทก์อ้างมีข้อความที่แสดงว่าเป็นการสรุปรายได้ของตลาดนัดและแบ่งปันผลกำไรในแต่ละช่วงของปี ทั้งมีลายมือชื่อโจทก์และจำเลยลงไว้ ซึ่งหากจำเลยดำเนินกิจการดังกล่าวเพียงลำพังคนเดียวแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องทำสรุปรายได้และส่วนแบ่งหุ้นส่วนเพื่อแบ่งปันผลกำไรแต่อย่างใดเพราะย่อมเป็นรายได้ของจำเลยแต่ผู้เดียว อีกทั้งเอกสารที่มีลายมือชื่อของจำเลยลงไว้ก็มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารสรุปส่วนแบ่งหุ้นในแต่ละเดือน โดยมียอดรายรับของตลาดนัดทุกตลาดที่มีการดำเนินกิจการอยู่ สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์ที่อ้างว่า มีการลงทุนร่วมกันระหว่างโจทก์กับจำเลย และจะแบ่งปันผลกำไรกันภายหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทั้งโจทก์ยังมีเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยหมายเลขเช็คและจำนวนเงินตรงตามที่ระบุไว้ในสรุปบัญชีรับจ่ายสนับสนุนว่าเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการตลาดนัดให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์ที่มีส่วนเข้ามาดูแลในกิจการตลาดนัดและยังได้รับส่วนแบ่งผลกำไรภายหลังหักรายรับรายจ่ายของกิจการดังกล่าวมาข้างต้นเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยต่างตกลงเข้าหุ้นส่วนกันทำกิจการตลาดนัด แม้ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ มาลงหุ้น แต่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดล็อกพื้นที่ในตลาดเพื่อให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าและจัดทำบัญชีเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการค้านั้น ดังนี้ ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้ร่วมลงทุนหรือลงหุ้นเป็นแรงงานแล้วเข้าลักษณะเป็นสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ 1025 ที่บัญญัติว่า สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนคือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ซึ่งสิ่งที่นำมาลงหุ้นนั้นจะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น หรือแรงงานก็ได้ตามมาตรา 1026 วรรคสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยตกลงเป็นหุ้นส่วนในการประกอบกิจการเช่าพื้นที่มาจัดทำเป็นตลาดนัดให้ผู้ค้าเช่าขายสินค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอเพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอเพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: หุ้นส่วนสามัญ, ผู้รับเงินแทน, และการระงับความผิด
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนกับบริษัท อ. เพื่อดำเนินกิจการของโรงเรียน อันมีโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 เป็นหุ้นส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไว้ในกระบวนการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 วรรคหนึ่ง โจทก์ร่วมในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ขณะเกิดเหตุแม้จำเลยไม่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียนและไม่มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนโดยตรงก็ตาม แต่จำเลยเป็นอาจารย์ฝ่ายทะเบียนและฝ่ายผู้สอน นักเรียนสามารถฝากเงินแก่จำเลยให้นำไปชำระแก่โรงเรียนได้โดยถือเสมือนหนึ่งว่านักเรียนชำระเงินให้แก่โรงเรียนแล้ว และจำเลยมีหน้าที่นำเงินดังกล่าวไปมอบให้ฝ่ายการเงิน ถือได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายโดยปริยายจากโรงเรียนให้มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนแทนโรงเรียนได้ ซึ่งเมื่อจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากนักเรียนแล้ว เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ไม่ได้เป็นของนักเรียนอีกต่อไป นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลย จึงมิใช่ผู้เสียหายผู้มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนั้นแม้ก่อนโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในคดีนี้ นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกง และถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากโรงเรียนออกใบรับรองผลการเรียนให้ไปแล้วก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่านักเรียนดังกล่าวเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหายักยอกตามฟ้องนี้ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ในส่วนนี้จึงยังไม่ระงับไป เพราะมิใช่เป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียหายและเปลี่ยนข้อหาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2555)
ขณะเกิดเหตุแม้จำเลยไม่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินของโรงเรียนและไม่มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนโดยตรงก็ตาม แต่จำเลยเป็นอาจารย์ฝ่ายทะเบียนและฝ่ายผู้สอน นักเรียนสามารถฝากเงินแก่จำเลยให้นำไปชำระแก่โรงเรียนได้โดยถือเสมือนหนึ่งว่านักเรียนชำระเงินให้แก่โรงเรียนแล้ว และจำเลยมีหน้าที่นำเงินดังกล่าวไปมอบให้ฝ่ายการเงิน ถือได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายโดยปริยายจากโรงเรียนให้มีหน้าที่รับเงินจากนักเรียนแทนโรงเรียนได้ ซึ่งเมื่อจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากนักเรียนแล้ว เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญยังมิได้จดทะเบียน ไม่ได้เป็นของนักเรียนอีกต่อไป นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลย จึงมิใช่ผู้เสียหายผู้มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนั้นแม้ก่อนโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในคดีนี้ นักเรียนผู้ชำระเงินผ่านจำเลยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกง และถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากโรงเรียนออกใบรับรองผลการเรียนให้ไปแล้วก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่านักเรียนดังกล่าวเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหายักยอกตามฟ้องนี้ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ในส่วนนี้จึงยังไม่ระงับไป เพราะมิใช่เป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียหายและเปลี่ยนข้อหาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2555)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14429/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้มีข้อตกลงภายในระหว่างหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้เชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์พื้นฐานเข้ากับชุมสายโทรศัพท์แบบอัตโนมัติของโจทก์ จำเลยทั้งสองตกลงเข้าร่วมงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐานในพื้นที่โทรศัพท์นครหลวงจำนวนสองล้านเลขหมาย โดยจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันจากส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการ เช่น ค่าติดตั้งโทรศัพท์ ค่าเช่าเลขหมายโทรศัพท์ ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน ต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ตามมาตรา 1025 แม้สัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายกิจการจะระบุว่า บรรดาความรับผิดชอบที่จำเลยที่ 2 มีต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ข้อสัญญาดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อตกลงภายในระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกัน ไม่มีผลผูกพันกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญมีสิทธิขออายัดทรัพย์สินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรงทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเอง หรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็อยู่ในบังคับมาตรา 83 วรรคหนึ่ง
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาอาจทำให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
โจทก์ทำสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยที่ 1 และ ส. ภริยาของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ยินยอมให้ ส. ดูแลวางระบบและตรวจสอบบัญชีโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ โจทก์เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินโรงเรียนไปขายให้แก่บุคคลภายนอกโดยระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และโจทก์เคยทำหนังสือให้ ส. ตรวจสอบบัญชีโรงเรียนโดยระบุว่า ส. เป็นหุ้นส่วนทั้ง ส. ก็ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ครูคนหนึ่งในโรงเรียนที่มีหลักฐานว่าทุจริตในฐานะเป็นหุ้นส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งและมีสิทธิต่างๆ ในฐานะเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ไปขออายัดที่ดินพิพาทอันเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนไว้ก่อนเพื่อไปฟ้องร้องให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินทรัพย์ของหุ้นส่วนโดยสุจริตและมีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่อตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์