คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเมื่อสิ้นสุดวัตถุประสงค์และการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยศาล
จำเลยที่ 1 จ่ายเงินส่วนแบ่งให้แก่โจทก์ไม่ครบตามสิทธิในส่วนจำนวนค่าหุ้นที่โจทก์ยังมีอยู่ เมื่อหุ้นส่วนมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการที่จะนำเอาที่ดินที่ซื้อมาขายเอากำไรแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อมีการขายที่ดินที่จัดซื้อไปแล้วหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวย่อมเลิกกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) กรณีมีเหตุที่จะให้โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ในฐานเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 2 ผู้ดำเนินการให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนำเงินที่ขายได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1061 ได้บัญญัติถึงกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงกันได้ในเรื่องการชำระบัญชี กฎหมายจึงได้บัญญัติให้มีการตกลงกันดังกล่าว
โจทก์ขอให้จำเลยทำการชำระบัญชี เนื่องจากได้มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วนเสร็จสิ้นกันไปแล้ว ห้างหุ้นส่วนจึงเป็นอันเลิกกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1055 (3) เมื่อโจทก์ขอให้ชำระบัญชีจำเลยไม่ยอมชำระบัญชี แสดงว่าหุ้นส่วนไม่สามารถตกลงกันได้อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาลขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีต่อไปได้ อันเป็นกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องให้หุ้นส่วนร่วมกันจัดตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคะแนนเสียงข้างมากเสนอไป
ในกรณีที่จะต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคำสั่งของศาลแล้วศาลย่อมมีอำนาจที่จะแต่งตั้งตัวผู้ชำระบัญชีโดยมีคำสั่งแต่งตั้งได้เองตามที่เห็นสมควรแม้คู่กรณีจะเสนอผู้ใดมาโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าเป็นบุคคลที่ไม่สมควรที่จะได้รับการแต่งตั้ง ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลอื่นได้ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ศาลฎีกาสมควรกล่าวไว้เสียให้ชัดแจ้งว่าจะต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สมัครใจจะเป็นผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความเสียหายต่อรถยนต์ของผู้จัดการห้างหุ้นส่วน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขว่า จำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย และไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สินนั้น แต่รถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้จากจำเลยร่วมเป็นของจำเลยร่วม แม้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยร่วม แต่จำเลยร่วมจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1015ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยด้วยหาได้ไม่ ทั้งรถยนต์คันที่ได้รับความเสียหายเป็นของโจทก์ มิใช่เป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมผู้เอาประกันภัย หรือของบุคคลดังกล่าว กรณีจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวที่จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนชนได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องชำระบัญชี
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่1และที่2กับฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมโจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่าโจทก์ที่3ถึงที่5มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่3ถึงที่5ไม่ได้และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้ายมีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไปโดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฎในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้นสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ แม้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. จะมีลูกหนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และผลผูกพันจากการลงลายมือชื่อในเช็ค
ข้อบังคับของจำเลยที่1กำหนดว่าการทำนิติกรรมใดๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้องถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900แม้จำเลยที่2จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้เชิดจำเลยที่2ออกเป็นตัวแทนทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่1อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่2และมีผลผูกพันจำเลยที่1ดังนี้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและการมีอำนาจฟ้องคดี สิทธิการฟ้องต้องเป็นของห้างหุ้นส่วน
ตามหนังสือรับรอง มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการว่า ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ และการสั่งจ่ายเงินในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.โจทก์ที่ 1ให้โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อร่วมกับ ค.และประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ฉะนั้นในการตั้งทนายความซึ่งเป็นการทำนิติกรรมในนามของโจทก์ที่ 1 อย่างหนึ่ง โจทก์ที่ 2 จึงต้องลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับ ค. และประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ด้วย ทนายความจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องในนามโจทก์ที่ 1 ได้ส่วนที่โจทก์ที่ 2 ระบุในคำฟ้องว่าเป็นโจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่า เงินที่นำไปซื้อทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทให้โจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของหนี้ร่วม: หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยกอายุความได้ แม้ต้องรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็น หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเป็น ลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผู้ร้องย่อม ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้าง ผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อม ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและขอบเขตความรับผิดในการคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้นจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมกันไม่สามารถแบ่งแยกได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วม
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วต้องชำระบัญชีก่อนฟ้องเรียกเงิน หากไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน มีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1061 วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้ง ๆ ที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
of 23