พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกสัญญาหลังผู้เป็นหุ้นส่วนเสียชีวิต และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องเรียกชำระบัญชี
สามีโจทก์กับสามีจำเลยร่วมทุนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนสามีโจทก์ตาย โจทก์รับมรดกและเข้าสวมสิทธิเป็นหุ้นส่วนแทนโดยความยินยอม ของสามีจำเลย ห้างหุ้นส่วนจึงยังไม่เลิกต่อมาสามีจำเลยตาย จำเลยเป็นผู้รับมรดกกลับปฏิเสธว่าสามีโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนกับสามีจำเลย ดังนี้ ห้างหุ้นส่วนนั้นย่อมเลิกจากกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็จะต้องจัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแม้จำเลยจะเข้าดำเนินการของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็มิได้เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายโดยมิได้ฟ้องขอให้ชำระบัญชี ศาลจะพิพากษาให้ชำระบัญชีไม่ได้เพราะเกินคำขอ
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็จะต้องจัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแม้จำเลยจะเข้าดำเนินการของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็มิได้เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายโดยมิได้ฟ้องขอให้ชำระบัญชี ศาลจะพิพากษาให้ชำระบัญชีไม่ได้เพราะเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นหุ้นส่วนสืบแทนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการครอบครองทรัพย์สิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นตกลงยินยอมให้จำเลยบุตรของหุ้นส่วนที่ตายนั้นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน ต่อมาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งตาย ไม่มีใครเข้าเป็นหุ้นส่วนแทน คงดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนต่อมาระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น จนมีเหตุที่จำเลยถือตนเป็นเจ้าของโรงสีของห้างหุ้นส่วนเสียคนเดียว ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมฟ้องจำเลยขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้
เมื่อจำเลยเข้าเป็นตัวหุ้นส่วนสืบแทนบิดาแล้ว แม้บิดาจำเลยจะตายมาเกิน 1 ปี ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องเลิกห้างหุ้นส่วนและขอแบ่งทรัพย์สิน จำเลยก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งเป็นเรื่องเจ้ามรดกเป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนค้ามีหน้าที่เสียภาษี การไม่อุทธรณ์ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน แต่ได้จดทะเบียนการค้าประเภทขายอสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว มีสถานการค้าที่แน่นอน เป็นหลักฐานประกอบกันแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจึงต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า จำเลยก็มีอำนาจใช้สิทธิประเมินเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรได้ โจทก์จะอ้างว่าเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ไม่ได้ เพราะการเรียกเก็บของจำเลยมีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือการประเมินเรียกไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บนั้นตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรเสียก่อน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(อ้างฎีกาที่ 1895/2493, 519/2505)
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า จำเลยก็มีอำนาจใช้สิทธิประเมินเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรได้ โจทก์จะอ้างว่าเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ไม่ได้ เพราะการเรียกเก็บของจำเลยมีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือการประเมินเรียกไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บนั้นตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรเสียก่อน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(อ้างฎีกาที่ 1895/2493, 519/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนการค้า แม้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ต้องอุทธรณ์ก่อนฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน แต่ได้จดทะเบียนการค้าประเภทขายอสังหาริมทรัพย์ไว้แล้ว มีสถานการค้าที่แน่นอนเป็นหลักฐานประกอบกันแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจึงต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจำเลยก็มีอำนาจใช้สิทธิประเมินเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรได้ โจทก์จะอ้างว่าเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ไม่ได้ เพราะการเรียกเก็บของจำเลยมีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือการประเมินเรียกไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บนั้นตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรเสียก่อน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 1895/2493,519/2505)
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจำเลยก็มีอำนาจใช้สิทธิประเมินเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรได้ โจทก์จะอ้างว่าเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ไม่ได้ เพราะการเรียกเก็บของจำเลยมีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือการประเมินเรียกไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บนั้นตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรเสียก่อน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 1895/2493,519/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน และการหักกลบลบหนี้เมื่อเลิกห้าง
(1) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งและมอบอำาจจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียให้เป็นผู้ชำระบัญชีและนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่เป็นหุ้นส่วนได้เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมให้ฟ้องลูกหนี้ซึ่งต้องรับผิดต่อกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนซึ่งมีหนี้โดยเฉพาะตัวได้
(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งและจะให้มีการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กันตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341, 342 โจทก์ก็ยังไม่ได้ทำบัญชีงบดุลอย่างใด และโจทก์ยังแสดงไม่ได้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2505)
(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งและจะให้มีการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กันตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341, 342 โจทก์ก็ยังไม่ได้ทำบัญชีงบดุลอย่างใด และโจทก์ยังแสดงไม่ได้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ ผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ และการหักกลบลบหนี้หลังเลิกห้าง
(1) ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งและมอบอำนาจจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนให้เป็นผู้ชำระบัญชีและนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่เป็นหุ้นส่วนได้เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมให้ฟ้องลูกหนี้ซึ่งต้องรับผิดต่อกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนซึ่งมีหนี้โดยเฉพาะตัวได้
(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่ง และจะให้มีการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กันตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 341,342. โจทก์ก็ยังไม่ได้ทำบัญชีงบดุลอย่างใดและโจทก์ยังแสดงไม่ได้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2505)
(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเลิกกัน ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่ง และจะให้มีการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กันตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 341,342. โจทก์ก็ยังไม่ได้ทำบัญชีงบดุลอย่างใดและโจทก์ยังแสดงไม่ได้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 37/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจากการกู้เงินของผู้จัดการ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ ทำหนังสือสัญญากู้เงินจากบุคคลภายนอกนั้น จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาต้องรับผิดด้วยหาได้ไม่ เว้นแต่ผู้ให้กู้จะพิสูจน์ได้ว่าผู้นั้นได้ทำในฐานะเป็นผู้จัดการหรือตัวแทนของห้างหุ้นส่วนหรือได้นำเงินที่กู้มาใช้ในกิจการห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนสามัญแม้มีการถอดถอนผู้ชำระบัญชี ฟ้องแย้งไม่กระทบการเรียกร้องเดิม
จำเลยถูกผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องเรียกเงินคืนจำเลยจะฟ้องแย้งขอให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชีนั้น ไม่ได้ เพราะแม้จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้วพิพากษาให้ถอดถอนผู้ชำระบัญชี ฟ้องของผู้ชำระบัญชีในคดีนี้ยังคงมีอยู่การถอดถอนผู้ชำระบัญชีในภายหลังหาได้กระทบกระเทือนความรับผิดของจำเลยต่อห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นแต่ประการใดไม่ถ้าหากผู้ชำระบัญชีซึ่งได้เป็นผู้ชำระบัญชีอยู่ในเวลาฟ้องนั้นมีอำนาจเรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่เลิกแล้ว โอนหุ้นได้โดยไม่ต้องยินยอม ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมีมติให้เลิก ความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลง จะนำมาตรา 1249 - 1040 มาใช้บังคับมิได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมโอนหุ้นของตนได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น ผู้รับโอนหุ้นมาย่อมเป็นผู้เสียหายในทางอาญาได้
คดีอาญาที่อยู่ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้อง แม้ศาลจะเห็นว่าฟ้องบางข้อไม่ผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง แต่ยังมีขอ้หาฐานอื่นอยู่ด้วย และคดีจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลไม่ควรด่วนวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิด
ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ใช้สิทธิอุทธรณ์, ฎีกาได้ ย่อมมีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนตัวความได้
(อ้างฎีกา 1243/2492)
คดีอาญาที่อยู่ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้อง แม้ศาลจะเห็นว่าฟ้องบางข้อไม่ผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง แต่ยังมีขอ้หาฐานอื่นอยู่ด้วย และคดีจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลไม่ควรด่วนวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิด
ทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากตัวความให้ใช้สิทธิอุทธรณ์, ฎีกาได้ ย่อมมีอำนาจลงชื่อในอุทธรณ์แทนตัวความได้
(อ้างฎีกา 1243/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้กู้ ห้างหุ้นส่วนสามัญก่อนจดทะเบียน ทรัพย์สินส่วนตัวแยกจากนิติบุคคล
ผู้เป็นหุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนกู้เงินเขามา แม้เขียนในสัญญากู้ว่า "เอาสิทธิหุ้นส่วนของบริษัทพักตรพริ้งซึ่งผู้กู้มีสิทธิเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง" มาเป็นหลักทรัพย์ประกันก็ดี เงินที่กู้มาก็ย่อมเป็นกรรมสิทธิของผู้กู้โดยส่วนตัว การที่พูดว่าเอาสิทธิหรือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนมาเป็นประกันเงินกู้ในสัญญากู้ที่ทำกันเองนั้น หาก่อให้เกิดเป็นการจำนำหรือบุริมสิทธิในอันที่จะติดตามไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของนิติบุคคล ซึ่งเกิดมาภายหลังนั้นไม่เมื่อผู้กู้ไม่ชำระเงินจนถูกผู้ให้กู้ฟ้องศาล ๆ บังคับให้ชำระแล้ว ผู้ให้กู้จะไปยึดทรัพยืสินของห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในภายหลังนั้นไม่ได้