คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้ามโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ, สิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน
การที่ผู้ร้องและจำเลยซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทำสัญญาเพื่อให้มีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดเวลาห้ามโอนนั้นแม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อจะขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนทางทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม การทำสัญญาเช่นนี้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายสัญญาจึงเป็นโมฆะ จำเลยจึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว ส่วนบ้านและอาคารซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ร้องปลูกสร้างในที่ดินของจำเลยโดยผู้ร้องมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมสามารถนำยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้จะอ้างการครอบครองก่อนทำสัญญา
ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ห้ามมิให้ผู้ได้สิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เว้นแต่การตกทอดทางมรดกโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจาก ส. บิดาจำเลยเมื่อวันที่19 ตุลาคม 2529 โดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว และยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน ถือว่าสัญญาซื้อขายมุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที แม้ว่า ส. บิดาจำเลยได้ น.ส. 3 มาเมื่อวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2520 แล้ว ส. ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2529 เมื่อครอบครองที่พิพาทมา9 ปี 5 เดือนแล้ว และกำหนดโอนกันวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นเวลา 11 ปี 5 เดือน นับแต่ได้รับ น.ส. 3ก. มา การทำสัญญาซื้อขายในลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะนับแต่วันทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมระบุ 'เฉพาะ' ไม่ถือเป็นการห้ามโอนเช็ค ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
เช็คที่จำเลยที่ 4 สั่งจ่ายระบุชื่อ จ่ายให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1โดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมระบุไว้กลางเส้นขนานที่ขีดคร่อมว่า "เฉพาะ" คำว่า "เฉพาะ" ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกับคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ตามความในป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคสอง เช็คดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่โอนเปลี่ยนมือกันได้ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรับโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ ห้ามโอนภายใน 5 ปี การครอบครองก่อนระยะเวลาดังกล่าวไม่นับเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็จะนำเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายแล้วก็ไม่สมบูรณ์
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 มีเจตนารมณ์จะปกป้องราษฎรให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี ดังนั้น การที่โจทก์กับผู้มีสิทธิ ในที่ดินทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดิน โดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน แม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว ก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญานี้จึงเป็นโมฆะ และถึงแม้ต่อมา จะมีการยกเลิกความในมาตรา 31 มิให้ใช้บังคับกับที่ดินในคดีนี้ ก็ตามก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายแล้ว
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 มีเจตนารมณ์จะปกป้องราษฎรให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี ดังนั้น การที่โจทก์กับผู้มีสิทธิ ในที่ดินทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยส่งมอบ การครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน แม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว ก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญานี้จึงเป็นโมฆะ และถึงแม้ต่อมา จะมีการยกเลิกความในมาตรา 31 มิให้ใช้บังคับกับที่ดินในคดีนี้ ก็ตามก็ไม่ทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะแล้วนั้นกลับสมบูรณ์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไขห้ามโอนขาย และภาระจ่ายเงินรายเดือน มิใช่การก่อตั้งทรัสต์ และข้อกำหนดนั้นไม่มีผล
ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมยกหรือมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่จำเลย แต่มีข้อห้ามมิให้จำเลยโอนขายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวและให้นำรายได้จากทรัพย์นั้นมาแบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น การยกให้ลักษณะดังกล่าวนี้หามีลักษณะเป็นการมอบกรรมสิทธิให้แก่จำเลยยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ไว้แทนผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมรายนี้จึงมิใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์
ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเพียงให้ทรัพย์ตามข้อกำหนดตกอยู่ในภารติดพัน โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนขายหรือจำหน่าย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700 กรณีจึงเท่ากับว่าจำเลยได้ทรัพย์ตามพินัยกรรมไปโดยเด็ดขาด ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยห้ามโอนหรือจำหน่ายตัวทรัพย์จึงไม่มีผลตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินมีเงื่อนไขห้ามโอนขาย และให้จ่ายเงินรายเดือน มิใช่ทรัสต์ ข้อกำหนดจึงตกเป็นภาระติดพัน
ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมยกหรือมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่จำเลย แต่มีข้อห้ามมิให้จำเลยโอนขายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว และให้นำรายได้จากทรัพย์นั้นมาแบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น การยกให้ในลักษณะดังกล่าวนี้หามีลักษณะเป็นการมอบกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ไว้แทนผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมไม่ พินัยกรรมรายนี้จึงมิใช่เป็นการก่อตั้งทรัสต์
ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเป็นเพียงให้ทรัพย์ตามข้อกำหนดตกอยู่ในภารติดพัน โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนขายหรือจำหน่าย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700 กรณีจึงเท่ากับว่าจำเลยได้ทรัพย์ตามพินัยกรรมไปโดยเด็ดขาดข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ให้จำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยห้ามโอนหรือจำหน่ายตัวทรัพย์ จึงไม่มีผลตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัดห้ามโอน/อ้างอายุความ แม้มีการครอบครองทำประโยชน์นานก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ก็ดี พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดี พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ก็ดี และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่า ที่วัด ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อกำหนดห้ามโอนในพินัยกรรมที่ไม่มีผลผูกพันเมื่อขาดการระบุผลของการละเมิด
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้จำเลย แต่มีข้อกำหนดห้ามมิให้จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนโดยมิได้รับความเห็นชอบจากบุตรของเจ้ามรดกที่มีสิทธิอาศัย แต่ข้อกำหนดนี้หาได้ระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยละเมิดข้อกำหนดแล้ว จะให้ที่พิพาทตกเป็นของผู้ใดไม่ ข้อกำหนดห้ามโอนจึงถือว่าเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1700
of 6