คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
องค์คณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การพิจารณาที่ไม่ครบองค์คณะและสุจริตในการพิจารณา
หนังสือตั้งอนุญาโตตุลาการ 7 นาย ไม่ได้กล่าวว่าต้องนั่งพิจารณาครบ 7 คนทุกครั้งอนุญาโตตุลาการขาดไปครั้งละ 2-3 คน โดยไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการที่มาเจตนาไม่ให้อนุญาตโตตุลาการคนอื่นได้นั่งพิจารณาด้วยไม่เรียกว่าอนุญาโตตุลาการทำการโดยไม่สุจริตจะถือเป็นเหตุอุทธรณ์คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้พิพากษาลงนามคำพิพากษา = ผู้ทำคำพิพากษา แม้ไม่ได้นั่งพิจารณา
เมื่อกฎหมายให้ผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาได้แล้วก็ย่อมเป็นผู้ทำคำพิพากษาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม แม้เปลี่ยนตัวโจทก์จำเลย และการคัดค้านองค์คณะไม่ชอบ
นำเอาประเด็นข้อพิพาทที่ศาลพิพากษาเด็ดขาดแล้วมาฟ้องอีก ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนข้ออ้างในกฎหมายเสียละเป็นการกลับตัวโจทก์จำเลยกันกับคดีเรื่องก่อนก็ตามก็ต้องถือว่าเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้นการคัดค้านว่าผู้พิพากษานั่งพิจารณาไม่ครบคณะนั้นต้องคัดค้านเสียแต่ในชั้นแรกจะยกขึ้นมาคัดค้านในชั้นศาลสูงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหายและองค์คณะผู้พิพากษา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการนำสืบสัญญาหายและองค์คณะที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมพิพากษาได้
หนังสือกู้หายไปโดยถูกลัก ผู้ให้กู้นำพะยานบุคคลมาสืบได้ หลักวินิจฉับในกรณีที่ฟังว่าได้กู้กันจริงแลสัญญากู้หายไปจริง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ฟังแถลงคารม 3 นายแต่นาย 1 ถูกปลดก่อนประชุมปรึกษาคดี จึงคงลงนามในคำพิพากษา 2 นายนั้น นับว่าเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ และอธิบดีผู้พิพากษาเคยพิจารณาคดีเกี่ยวข้อง ศาลฎีกาไม่รับฟังเหตุ
คัดค้านว่าผู้พิพากษาศาลเดิมนั่งพิจารณาไม่ครบคณะ ต้องคัดค้านเสียก่อนที่ศาลเดิมตัดสิน ผู้พิพากษาที่รู้เหตุการณ์พิเศษเพราะเคยนั่งพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งแล้วจะมานั่งพิจารณาในคดีนี้อีกก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านองค์คณะผู้พิพากษาต้องทำก่อนมีคำพิพากษา
การที่จะคัดค้านว่าผู้พิพากษานั่งพิจารณาไม่ครบคณะ ต้องร้องคัดค้านเสียก่อนศาลเดิมตัดสิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุไม่ครบองค์คณะในชั้นฎีกา การคัดค้านต้องกระทำตั้งแต่ศาลล่าง
จะคัดค้านว่าผู้พิพากษาศาลเดิมนั่งพิจารณาไม่ครบคณะนั้น ต้องได้ยกขึ้นคัดค้านมาตั้งแต่ชั้นศาลล่าง ศาลฎีกาจึงจะรับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษปรับเกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิจารณาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 13,500 บาท รวม 4 กระทง คงปรับ 54,000 บาท โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้ เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13965/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนพยานที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ และองค์คณะพิจารณาคดีไม่ครบถ้วนในคดีครอบครัว
โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องของเหตุหย่า จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ผู้มีภาระการพิสูจน์จึงมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานโจทก์จำเลยโดยศาลชั้นต้นเป็นผู้สอบถามโจทก์จำเลยเองทั้งหมด ไม่ได้ให้ทนายโจทก์หรือทนายจำเลยซักถามหรือถามค้านพยาน แล้วก็มีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย จากนั้นก็วินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาท สำหรับประเด็นเรื่องฟ้องหย่าก็วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเหมือนคดีที่มีการสืบพยานทั่วไป เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากศาลเป็นผู้ไต่สวนเองและฟังเป็นข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์เท่าที่ควร แต่เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งใน ป.วิ.พ. ไม่ได้ให้อำนาจศาลเรียกพยานมาไต่สวนเอง แม้ศาลจะมีอำนาจซักถามพยาน แต่ก็ต้องเป็นพยานที่คู่ความอ้างเข้ามาและศาลต้องให้คู่ความซักถามต่อจากศาล ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไต่สวนก็มิได้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและประเด็นข้อพิพาท การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์และพยานจำเลยเองทั้งหมดจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 147 การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีโดยมีเพียงผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ ไม่มีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะร่วมอยู่ด้วยจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13965/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีหย่าผิดระเบียบ: การไต่สวนพยานโดยศาลเอง และองค์คณะไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องของเหตุหย่า จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ผู้มีภาระการพิสูจน์จึงมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบสนับสนุนข้ออ้างของตน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนพยานโจทก์และจำเลยโดยศาลชั้นต้นเป็นผู้สอบถามโจทก์จำเลยเองทั้งหมด ไม่ได้ให้ทนายโจทก์หรือทนายจำเลยซักถามหรือถามค้านพยาน แล้วก็มีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย จากนั้นก็วินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาท สำหรับประเด็นเรื่องฟ้องหย่าก็วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเหมือนคดีที่มีการสืบพยานทั่วไป เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากศาลเป็นผู้ไต่สวนและฟังข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์เท่าที่ควร แต่เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งใน ป.วิ.พ. ไม่ได้ให้อำนาจศาลเรียกพยานมาไต่สวนเอง แม้ศาลจะมีอำนาจซักถามพยาน แต่ก็ต้องเป็นพยานที่คู่ความอ้างและศาลต้องให้คู่ความซักถามต่อจากศาล ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไต่สวนก็มิได้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและประเด็นข้อพิพาท การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์และจำเลยเองทั้งหมดจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 147 การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีโดยมีเพียงผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ ไม่มีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะร่วมอยู่ด้วยจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
of 5