พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่น การครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
แม้ผู้ตรวจพิสูจน์จะตรวจพบรอยขูดลบเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายทะเบียนที่อาวุธปืนของกลาง แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าเครื่องหมายทะเบียนเดิมเป็นเลขใด ประกอบกับได้ความในชั้นสอบสวนว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จึงต้องรับฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนของผู้อื่นดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภารจำยอมต้องมีการใช้สิทธิโดยเปิดเผย ต่อเนื่อง และโดยปรปักษ์ หากเจ้าของที่ดินอนุญาตให้ใช้ ย่อมไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์
โรงเรียน ศ. ไม่มีรั้วล้อมรอบ ชาวบ้านกับโจทก์เดินผ่านสนามของโรงเรียนมานานถึง 40 ปีเศษ หากมีนักเรียนใช้สนามอยู่ก็จะเดินไปตามขอบสนามโดยไม่มีการทำไว้เป็นทางเดิน แต่การที่โจทก์และชาวบ้านเดินผ่านสนามได้เพราะเจ้าของโรงเรียนอนุญาตให้เดิน โจทก์จึงมิได้เดินอย่างปรปักษ์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเดินผ่านทางดังกล่าวมานานถึง 40 ปีเศษ ก็ไม่ได้ภารจำยอม กรณีไม่อาจนับอายุความการเดินผ่านสนามไปต่อกับทางอื่นซึ่งโจทก์ใช้มาไม่ถึง 10 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตจ่ายค่าใช้จ่ายจากการฟ้องคดีของ ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผน ในคดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับตรวจสอบ และอนุญาตให้มีการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป มีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน รวมทั้งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง กรณีจึงรวมถึงการอนุญาต หรือมีคำสั่งอื่นใดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เช่นนี้ เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินการฟื้นฟูกิจการและกฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการเจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ทั้งแผนก็มิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่นโดยชัดแจ้ง บุคคลที่เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่นคำร้องเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลโดยตรงได้
การที่ผู้ทำแผนดำเนินคดีแก่ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินและกรรมการของลูกหนี้โดยกล่าวอ้างกระทำละเมิดต่อลูกหนี้ เป็นเหตุให้ผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน ถูกบุคคลดังกล่าวฟ้องคดีข้อหาละเมิด ย่อมถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้ทำแผนคนเดิม เหตุนี้ค่าทนายความและค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการต่อสู้คดีของผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/62 (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ผู้บริหารแผนสามารถนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
การที่กฎหมายให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีฐานะเป็นผู้แทนของลูกหนี้ในวันที่จะกระทำการใดๆ แทนลูกหนี้ในช่วงเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้บังคับของมาตรา 90/45 ประกอบกับ มาตรา 90/14 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่ผู้ทำแผนคนเดิมฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินกับพวก โดยอ้างว่า กระทำละเมิดต่อลูกหนี้ นั้น กรณีมิใช่เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินได้ หากว่ามีการแพ้คดี ผู้ทำแผนจะกระทำการดังกล่าวได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าว จึงอยู่ในขอบอำนาจ และกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ ความสัมพันธ์และความรับผิดระหว่างลูกหนี้กับผู้ทำแผน จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 816
การที่ผู้ทำแผนดำเนินคดีแก่ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินและกรรมการของลูกหนี้โดยกล่าวอ้างกระทำละเมิดต่อลูกหนี้ เป็นเหตุให้ผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน ถูกบุคคลดังกล่าวฟ้องคดีข้อหาละเมิด ย่อมถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้ทำแผนคนเดิม เหตุนี้ค่าทนายความและค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการต่อสู้คดีของผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/62 (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ผู้บริหารแผนสามารถนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
การที่กฎหมายให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีฐานะเป็นผู้แทนของลูกหนี้ในวันที่จะกระทำการใดๆ แทนลูกหนี้ในช่วงเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้บังคับของมาตรา 90/45 ประกอบกับ มาตรา 90/14 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่ผู้ทำแผนคนเดิมฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินกับพวก โดยอ้างว่า กระทำละเมิดต่อลูกหนี้ นั้น กรณีมิใช่เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินได้ หากว่ามีการแพ้คดี ผู้ทำแผนจะกระทำการดังกล่าวได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าว จึงอยู่ในขอบอำนาจ และกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ ความสัมพันธ์และความรับผิดระหว่างลูกหนี้กับผู้ทำแผน จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 816
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ยื่นพยานเพิ่มเติมในคดีภาษีอากร เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานบุคคล 1 อันดับ กับพยานเอกสาร 1 อันดับ คือเอกสารข้อมูลแสดงราคาตลาดโลกของสินค้าประเภทต่าง ๆ เช่น ราคาสินค้ากากถั่วเหลืองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของสำนักงานกระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าเอกสารดังกล่าวได้มีอยู่ เป็นพยานหลักฐานที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ส่วนพยานบุคคลก็เชื่อว่าโจทก์จะนำสืบประกอบเอกสารดังกล่าวจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5986/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาแก้โทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ในครอบครอง ก็เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแล้ว ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ว่าอาวุธปืนนั้นจะใช้ยิงได้หรือไม่อีก ส่วนความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นความผิดตามบทมาตราเดียวกับฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดกรรมเดียวกัน การที่จำเลยจะมีเครื่องกระสุนปืนขนาดเดียวกับที่จะใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตก่อสร้างอาคารเมื่อกฎกระทรวงควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินหมดอายุ และประเด็นการลงลายมือชื่อของผู้ถือกรรมสิทธิ์
ตามหนังสือที่กรมการผังเมืองมีถึงโจทก์ระบุว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 63(พ.ศ. 2532) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2537 และมีการประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 169(พ.ศ. 2537) และฉบับที่ 211 (พ.ศ. 2538) ขยายอายุการใช้บังคับกฎกระทรวง ฉบับที่ 63ฯ ออกไปอีกฉบับละ 1 ปี รวม 2 ปี ซึ่งมีผลใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 63ฯ มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 20585 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 การยื่นคำขอของโจทก์จึงเป็นการยื่นภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 63ฯ สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว พื้นที่บริเวณที่ดินของโจทก์ที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคารจึงไม่มีกฎหมายใด ๆ กำหนดว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตพื้นที่สีเขียวอ่อน ซึ่งห้ามเจ้าของที่ดินก่อสร้างอาคาร โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ หากโจทก์ได้ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารโดยถูกต้อง
ตามโฉนดเลขที่ 20585 มีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 2 คน คือ โจทก์กับ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ แต่ บ. ได้ถึงแก่กรรมแล้ว และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. แม้โจทก์จะลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยไม่ได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วย แต่จำเลยรับคำขอของโจทก์ไว้พิจารณาพร้อมทั้งสั่งให้โจทก์แก้ไขแบบและส่งหลักฐานเพิ่มเติม โดยมิได้โต้แย้งว่าผู้ขออนุญาตลงลายมือชื่อไม่ครบ แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเรื่องเจ้าของที่ดินลงลายมือชื่อไม่ครบทุกคนเป็นสาระสำคัญทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยสามารถสั่งให้โจทก์จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยจะอาศัยเหตุนี้ออกคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องไม่ได้
ตามโฉนดเลขที่ 20585 มีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 2 คน คือ โจทก์กับ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ แต่ บ. ได้ถึงแก่กรรมแล้ว และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. แม้โจทก์จะลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยไม่ได้ระบุว่าลงชื่อในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วย แต่จำเลยรับคำขอของโจทก์ไว้พิจารณาพร้อมทั้งสั่งให้โจทก์แก้ไขแบบและส่งหลักฐานเพิ่มเติม โดยมิได้โต้แย้งว่าผู้ขออนุญาตลงลายมือชื่อไม่ครบ แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเรื่องเจ้าของที่ดินลงลายมือชื่อไม่ครบทุกคนเป็นสาระสำคัญทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยสามารถสั่งให้โจทก์จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยจะอาศัยเหตุนี้ออกคำสั่งไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม แม้โจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ศาลควรพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นให้นัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์วันเดียวกัน ครั้นถึงวันนัดฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นให้สืบพยานจำเลยจนเสร็จ และถือว่าโจทก์ที่ไม่มาศาลไม่ติดใจสืบพยาน และมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในช่วงบ่ายโจทก์ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์เนื่องจากจดเวลานัดผิดพลาด ซึ่งขณะนั้นศาลชั้นต้นก็ยังมิได้พิพากษา ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า โจทก์ได้มาศาลก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาคำร้องของโจทก์ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า คดีต้องมีการสืบพยานจำเลยรวม 13 นัด โดยสืบพยานในช่วงเช้า 4 นัด และช่วงบ่าย 9 นัด แต่สืบพยานจำเลยได้เพียง 4 นัด นอกจากนี้อีก 9 นัด ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเอง 1 นัด และฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดี 8 นัด ซึ่งทุกนัดฝ่ายโจทก์มาศาล แสดงว่าฝ่ายโจทก์เอาใจใส่คดีมาตลอด การที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์ในช่วงเช้า แต่ไปศาลในช่วงบ่าย จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าทนายความโจทก์จดเวลานัดผิดพลาดจริง ชอบที่จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำให้เกิดการรบกวนการสื่อสาร ความผิดแยกกระทง
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคม 6 เครื่อง มาทำให้เกิดคลื่นความถี่วิทยุและลักลอบใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมือถือของบุคคลอื่นรวม 6 หมายเลข แล้วนำออกให้ประชาชนเช่าใช้บริการนาทีละ 3 บาท เป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกระสุนปืนที่ไม่ได้เป็นชนิดห้ามตามกฎกระทรวง และความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่โจทก์ฎีกาว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. ของกลาง จะต้องใช้กับกระสุนปืนที่ทหารของกองทัพนาโต้ใช้ประจำกายในการสงคราม ย่อมจะต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้นั้น เห็นว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ข้อ 3 กำหนดว่า " เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาต ให้ได้ตามมาตรา 7 หรือ มาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็น เครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" อันหมายความว่า เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับ อาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง 7.62 มม. ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 2 (1) ข้อ 2 (2) (ก) (ข) แล้ว จึงเห็นได้ว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ เครื่องกระสุนปืนดังกล่าว จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกัน ดังนั้นถึงหากจะให้รับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้แล้ว ก็ไม่อาจรับฟังเช่นโจทก์ฎีกาได้
อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครอง มีทั้งลำกล้องปืนและกระสุนปืนซึ่งเป็นคนละชนิดและขนาดกับอาวุธปืนนอกจากจะเป็นความผิดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งแล้ว ยังเป็นความผิดตามมาตรา 72 วรรคสองอีกด้วย และการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครอง มีทั้งลำกล้องปืนและกระสุนปืนซึ่งเป็นคนละชนิดและขนาดกับอาวุธปืนนอกจากจะเป็นความผิดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งแล้ว ยังเป็นความผิดตามมาตรา 72 วรรคสองอีกด้วย และการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ชนิด, ขนาด, และเจตนาการใช้งานตามกฎหมายอาวุธปืน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 2 แต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกันเว้นแต่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงจึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78
เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกันเว้นแต่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงจึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78