พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคืนขวดยาที่ถูกกักไว้ต้องเสียภาษีให้ครบถ้วนก่อน
ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างวินิจฉัยมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศไม่ใช่ผู้ขนส่งเองแต่เป็นการให้บริการจัดส่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 บัญญัติว่า "ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้... (3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล" แม้สัญญาที่โจทก์ทำกับลูกค้า จะมีข้อกำหนดหน้าที่และความรับผิดระหว่างคู่สัญญาตามลักษณะของสัญญารับขน โดยโจทก์ออกเอกสารที่เรียกว่า Consignment note ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ก็ตาม แต่ลักษณะการประกอบกิจการที่แท้จริงของโจทก์มีลักษณะให้บริการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เรียกว่า การขนส่งแบบ Door to door กับลักษณะขนส่งเฉพาะส่วนที่เป็นต้นทางเท่านั้นเรียกว่าการขนส่งแบบ Door to port ในส่วนขั้นตอนการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเพียงผู้ว่าจ้างสายการบินหรือเป็นผู้ว่าจ้างขนส่งเท่านั้น มิได้เป็นผู้ขนส่งเสียเอง เมื่อบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าของโจทก์ประกอบด้วยค่าบริการไปรับ - ส่งสินค้าให้ลูกค้า การบรรจุหีบห่อ การดำเนินพิธีการศุลกากร และค่าระวางพาหนะที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้ขนส่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในส่วนการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์มิใช่ผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนด้วยตนเอง ดังนั้น ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18437/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายประเภท 3(ข) ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคำนวณจากพื้นที่ป้ายที่มีขอบเขตกำหนด และอัตราภาษีที่กำหนด
ตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) ท้าย พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 ระบุว่า "ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ"ย่อมแสดงให้เห็นว่าป้ายที่แม้มีเพียงบางส่วนของอักษรไทยอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศก็ถือเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีอักษรไทยอยู่ที่ส่วนใดของป้ายอีกหรือไม่ ดังนั้น เมื่อป้ายรายการที่ 8 มีข้อความอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข)
สำหรับป้ายรายการที่ 1, 2 และที่ 6 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่ และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์ แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้นตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้น ให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
สำหรับป้ายรายการที่ 1, 2 และที่ 6 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่ และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์ แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้นตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้น ให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย