พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: อำนาจศาล, องค์ประกอบอนุญาโตตุลาการ, ดอกเบี้ย, และอัตราแลกเปลี่ยน
หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศ ความสมบูรณ์ของหนังสือมอบอำนาจต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ทำหนังสือมอบอำนาจนั้น ไม่อยู่บังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
การบังคับให้มีสำเนาเอกสารหรือคำแปลเอกสารที่รับรองถูกต้องตามมาตรา 31(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มีความมุ่งหมายเพียงเพื่อให้เอกสารดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ แม้ว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการจะเป็นสำเนาซึ่งรับรองโดย จ. ซึ่งไม่มีส่วนรับรู้ในการทำสัญญาดังกล่าวและคำแปลเป็นภาษาไทยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้แปลและผู้แปลสาบานตนแล้วหรือไม่ อีกทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่รับรอง แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างว่าสำเนาสัญญาอนุญาโตตุลาการและคำแปลดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร จึงไม่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของเอกสารดังกล่าว ความไม่ชอบของเอกสารตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างจึงไม่ใช่ข้อสำคัญแห่งคดี
ผู้คัดค้านต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายเครื่องเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติและอุปกรณ์กับข้อตกลงเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน เพราะการทำสัญญาดังกล่าวผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันว่า จะต้องได้รับความเห็นชอบจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อน แต่ไม่ให้ความเห็นชอบคำคัดค้านดังกล่าวเป็นการยอมรับอยู่ในตัวถึงการมีสัญญาอนุญาโตตุลาการระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ผูกพันผู้คัดค้านเนื่องจากผู้ลงนามในสัญญาไม่มีอำนาจทำการผูกพันผู้คัดค้าน จึงเป็นการอุทธรณ์ที่ต่างจากคำคัดค้าน ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ที่บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้นเป็นกรณีการคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดที่เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกได้สูงกว่าอัตรานี้โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่เป็นกรณีกฎหมายห้ามเด็ดขาดไม่ให้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หากมีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้สามารถเรียกได้สูงกว่าอัตรานี้ เจ้าหนี้ย่อมสามารถเรียกได้โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมายการชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่กำหนดให้ผู้คัดค้านใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนซึ่งเท่ากับร้อยละ 18 ต่อปี จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอบังคับให้ผู้คัดค้านชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศคือ เงินโครนนอร์เวย์ เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ จึงไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคสอง ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และในเวลาที่ใช้เงิน อีกทั้งยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอเพราะโจทก์มิได้มีคำขอดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การบังคับให้มีสำเนาเอกสารหรือคำแปลเอกสารที่รับรองถูกต้องตามมาตรา 31(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มีความมุ่งหมายเพียงเพื่อให้เอกสารดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ แม้ว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการจะเป็นสำเนาซึ่งรับรองโดย จ. ซึ่งไม่มีส่วนรับรู้ในการทำสัญญาดังกล่าวและคำแปลเป็นภาษาไทยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้แปลและผู้แปลสาบานตนแล้วหรือไม่ อีกทั้งไม่มีเจ้าหน้าที่รับรอง แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างว่าสำเนาสัญญาอนุญาโตตุลาการและคำแปลดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร จึงไม่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของเอกสารดังกล่าว ความไม่ชอบของเอกสารตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างจึงไม่ใช่ข้อสำคัญแห่งคดี
ผู้คัดค้านต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายเครื่องเก็บเงินค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติและอุปกรณ์กับข้อตกลงเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน เพราะการทำสัญญาดังกล่าวผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันว่า จะต้องได้รับความเห็นชอบจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อน แต่ไม่ให้ความเห็นชอบคำคัดค้านดังกล่าวเป็นการยอมรับอยู่ในตัวถึงการมีสัญญาอนุญาโตตุลาการระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ผูกพันผู้คัดค้านเนื่องจากผู้ลงนามในสัญญาไม่มีอำนาจทำการผูกพันผู้คัดค้าน จึงเป็นการอุทธรณ์ที่ต่างจากคำคัดค้าน ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ที่บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีนั้นเป็นกรณีการคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดที่เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกได้สูงกว่าอัตรานี้โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่เป็นกรณีกฎหมายห้ามเด็ดขาดไม่ให้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หากมีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่เจ้าหนี้สามารถเรียกได้สูงกว่าอัตรานี้ เจ้าหนี้ย่อมสามารถเรียกได้โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมายการชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่กำหนดให้ผู้คัดค้านใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนซึ่งเท่ากับร้อยละ 18 ต่อปี จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอบังคับให้ผู้คัดค้านชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศคือ เงินโครนนอร์เวย์ เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ จึงไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคสอง ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และในเวลาที่ใช้เงิน อีกทั้งยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอเพราะโจทก์มิได้มีคำขอดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8906/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าเสียหายจากประกันภัย: อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันจ่ายเงินชดเชย
ป.พ.พ. มาตรา 196 การชำระหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน คดีนี้เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินให้ผู้เอาประกันภัย ณ วันใด ถือว่าความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์เกิดขึ้น ณ วันนั้น จึงต้องคิดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐซึ่งกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยกับเงินไทย ณ วันที่โจทก์จ่ายไปจริง ไม่ใช่วันเกิดเหตุละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐโดยมิได้มีคำขอบังคับให้ชำระเป็นเงินไทยด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันฟ้องก็เพื่อประโยชน์ในการคิดค่าขึ้นศาลเท่านั้น ในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะชำระหนี้เป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ใช้เงินและเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 หากเกิดปัญหาขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีคำขอ กรณีไม่จำต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไว้ในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนในสัญญาจ้าง - สิทธิลูกจ้าง - สภาพการจ้าง - อัตราแลกเปลี่ยนทางราชการ
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 24 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 24 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนค่าจ้างเป็นผลให้สภาพการจ้างเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
สัญญาจ้างกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีข้อตกลงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย จึงต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 27 วรรคสอง เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้างกำหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ38.40 บาท จำเลยจะประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่โดยกำหนดให้1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 26 บาท ไม่ได้ เพราะสัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างเป็นสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 5 การที่จำเลยประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอมประกาศของจำเลยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินขึ้นใหม่ จึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดอัตราแลกเปลี่ยนหนี้สัญญาต่างประเทศ: ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระหนี้ หรือวันพิพากษาศาลฎีกา
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสองให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรานี้หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่ได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์ขอปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ทุน, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, อายุความ, อัตราแลกเปลี่ยน: การชำระหนี้และการบังคับคดี
โจทก์เป็นส่วนราชการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่ฟ้องให้จำเลยชดใช้ทุน จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(11) แต่กรณีนี้มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(164 เดิม)เมื่อนับจากวันที่จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการถึงวันฟ้องไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่ง โจทก์ฟ้องในฐานะทายาทโดยธรรมของพันเอก บ. ผู้ค้ำประกันการรับทุนของจำเลยที่ 1 ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2529 นั้น แม้ขณะจัดการศพจะมีการลงประกาศพระราชทานเพลิงศพใน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่มีจำหน่ายแพร่หลายทั่วประเทศติดต่อกัน ถึง 2 วัน แต่การที่โจทก์เป็นนิติบุคคล และจำเลยทั้งสี่ มิได้นำสืบว่า ได้เชิญผู้แทนของโจทก์ไปในงานศพและโจทก์ได้ทราบ ประกาศดังกล่าวเมื่อใดโดยวิธีใด ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นเพียงการคาดคะเนเอาเองอย่างเลื่อนลอย เมื่อโจทก์ นำสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ทราบถึงการตายของพันเอก บ. เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 และนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2537 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ขาด อายุความเช่นเดียวกัน ลักษณะของทุนเป็นเงินทุนของรัฐบาลต่อรัฐบาล การที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดโจทก์ได้รับอนุมัติให้ลาราชการไปศึกษาต่อด้วยทุนดังกล่าว โดยสัญญาว่าจะกลับมารับราชการ ในสังกัดโจทก์เป็นการชดใช้ทุน โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าของทุน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับมารับราชการชดใช้ทุนให้ครบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้ทุนได้ ส่วนที่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อได้ความว่าพันเอก บ. ค้ำประกันเฉพาะที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาครั้งแรก 1 ปี 6 เดือน เท่านั้น การที่ต่อมาเมื่อครบกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อไปอีกโดยโจทก์ ไม่ได้แจ้งให้พันเอก บ. ทราบหรือรู้เห็นยินยอม พันเอกบ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับเวลาที่เกินกว่า 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย อำนาจฟ้องเป็น ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ตามสัญญาระบุว่าหากผิดสัญญาจำเลยที่ 1 จะจ่ายเบี้ยปรับ หนึ่งเท่าของเงินที่จะต้องชดใช้ หากไม่ชำระยอมให้คิด ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเป็น ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ที่ศาลอุทธรณ์ ใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเหลือเพียงครึ่งส่วนและดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี ก็โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็น เจ้าหนี้ เพราะจำเลยที่ 1 ได้รับราชการชดใช้ทุนบางส่วน ชดใช้เงินเดือนและเงินเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยแล้ว จึงเหมาะสม แก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว เมื่อดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(มาตรา 166 เดิม)และกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่เกิน 5 ปี จึงไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่ได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยผลเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้คิดอัตราในวันที่มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราในวันดังกล่าวก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายนั้นก่อนวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 196: เกณฑ์การคำนวณเพื่อบังคับคดี
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 196 วรรคสองหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินนี้ตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาล และถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ไม่เกินอัตราแลกเปลี่ยนตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, และขอบเขตการบังคับคดีตามคำฟ้อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา196วรรคสองการเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินณสถานที่และในเวลาที่ใช้เงินอัตราแลกเปลี่ยนเงินหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนกันโดยเสรีซึ่งคิดโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินตราของต่างประเทศเป็นเงินตราของประเทศในกรุงเทพฯเป็นเกณฑ์และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดในวันที่มีคำพิพากษาของศาลถ้าไม่มีอัตราการขายในวันดังกล่าวก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายนั้นก่อนวันพิพากษาแต่ทั้งนี้โจทก์ก็ไม่อาจรับชำระเงินจากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินตามคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาค้ำประกันและสัญญาใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญา รวมถึงการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
แม้สัญญารับทุนจะใช้แบบตามที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ใช้กับข้าราชการผู้รับทุน โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นข้าราชการหรือได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจทำสัญญาที่มีข้อความตามแบบดังกล่าว อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เพื่อจะก่อให้เกิดสิทธิตามข้อความในสัญญาซึ่งชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย ศูนย์เอกสารทางหลวงเอเชียอยู่ในสังกัดของโจทก์ น.เป็นข้าราชการของโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว น.ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง องค์การสหประชาชาติเป็นผู้ออกค่าเดินทางระหว่างประเทศรัฐบาลอังกฤษภายใต้แผนโคลัมโบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระหว่างการฝึกอบรม ณ ประเทศอังกฤษ และต่อมารัฐบาลอังกฤษยินยอมขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาขั้นปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์อีก 1 ปีด้วยทุนภายใต้แผนโคลัมโบ ผ่านกรมวิเทศสหการ จึงถือได้ว่าเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยตกลงรับทุนนั้น โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลไทยที่จะได้รับประโยชน์จากทุนดังกล่าว และได้ให้ตัวแทนทำสัญญากับจำเลยทั้งสองจึงถือได้ว่าเป็นทุนของโจทก์ แม้ทุนที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปฝึกอบรมกับทุนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท จะเป็นวิชาบรรณารักษศาสตร์เช่นเดียวกันก็ตาม แต่การศึกษาต่อขั้นปริญญาโทแตกต่างจากการฝึกอบรม มิใช่เรื่องที่ต่อเนื่องจากการฝึกอบรม ถือไม่ได้ว่าการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทอยู่ภายในขอบของสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์จะมิได้กำหนดอายุของสัญญาไว้ก็ดี แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ใหม่ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทจำเลยที่ 2 จึงหาต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญารับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทไม่ คงรับผิดเพียงเฉพาะการไปฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ก่อนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท ตามสัญญารับทุนถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนและค่าเดินทางให้แก่โจทก์ตามส่วนเฉลี่ยที่ทำงานชดใช้ทุนคืนไม่ครบและเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ตลอดทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนที่ต้องชดใช้คืนภายในกำหนดตามสัญญาด้วย เงินที่จะต้องชดใช้คืนทั้ง 3 ประเภทและดอกเบี้ยดังกล่าวมานี้เป็นเบี้ยปรับที่ลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะชดใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้เจ้าหนี้ริบและเรียกเอาเบี้ยปรับได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 แต่แม้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ก็ตาม ลูกหนี้จะต้องชำระเบี้ยปรับก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับนั้นก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก,381 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ทำงานชดใช้ทุนคืนให้ถูกต้องตามสัญญา แม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้เงินทุนคืนและเบี้ยปรับอีก 1 เท่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่ำกว่าเงินทุนและเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนตามจำนวนที่ถูกต้องเพราะการคำนวณผิดพลาด ทั้งมิได้ทวงถามค่าเดินทางและเบี้ยปรับ 1 เท่าด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนนี้โจทก์ได้ทวงถามให้ชดใช้ทั้งหมดตามจำนวนที่ถูกต้องแล้ว หาใช่เพียงเรียกให้ชดใช้ตามจำนวนที่ผิดพลาดดังกล่าวไม่ สำหรับเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางแม้โจทก์จะมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระด้วย แต่การฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับในส่วนนี้ก็คือการทวงถามหรือการเรียกเอาเบี้ยปรับนั่นเองจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนจำนวนที่ถูกต้องพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ครบกำหนดตามหนังสือทวงถามเป็นต้นไป และเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เฉพาะในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมนั้น ทางพิจารณาไม่ปรากฏชัดว่ารัฐบาลอังกฤษได้ออกทุนให้เฉพาะการฝึกอบรมเป็นเงินจำนวนเท่าใด คงได้ความว่าทุนที่ให้ทั้งการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทรวมเป็นเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อนาน 2 ปี 45 วัน หรือเท่ากับ 775 วัน จำเลยที่ 1 จะต้องทำงานใช้ทุนอีก 424 วัน ตามคำของจำเลยที่ 2 ก็คงอ้างลอย ๆ มาว่า เท่าที่ทราบมาค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 9 เดือน เป็นเงินจำนวนที่น้อยกว่าเท่านั้น ศาลฎีกากำหนดให้คิดเงินทุนในการฝึกอบรมโดยเฉลี่ยตามระยะเวลา โดยคำนวณจากเงินทุนในการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโท คูณด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรม หารด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน" อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้จึงหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา