พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลี้ยวรถตัดหน้าประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย: ความผิดกรรมเดียว
จำเลยขับรถยนต์จะเลี้ยวซ้ายแต่ไม่นำรถเข้าชิดขอบทางเดินรถด้านซ้ายกลับเลี้ยวรถตัดหน้ารถที่โจทก์ร่วมขับใน ระยะกระชั้นชิดในลักษณะเป็นการกีดขวางการจราจร และเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกัน ทำให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและรถที่โจทก์ร่วมขับได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดในครั้งคราวเดียวที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับขี่รถจักรยานยนต์แซง การกระทำที่อาจเกิดอันตรายและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงปราศจากความระมัดระวัง เมื่อจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์แซงรถยนต์ปิกอัพแล้วหากจำเลยต้องการจะแซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่ จำเลยสามารถที่จะแซงได้ทันทีเพราะขณะนั้นบนถนนไม่มีรถแล่นสวนมาแต่การที่จำเลยไม่แซงทันทีโดยปักปาดหน้ารถยนต์ปิกอัพเข้าทางด้านซ้ายเสียก่อนแล้วจึงหักออกทางด้านขวาเพื่อแซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่อีกนั้น เป็นการกระทำที่อาจเกิดอันตรายได้เนื่องจากระยะห่างระหว่างรถยนต์ปิกอัพกับรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่นั้นมีเพียงไม่เกิน 15 เมตร น้อยเกินไปกว่าที่จำเลยจะกระทำเช่นนั้นได้ และการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ทั้งสองคันชนกันล้มกลิ้งครูดไปตามถนน เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เมื่อถูกทำร้ายและถูกกอดปล้ำจนอาจได้รับอันตราย
โจทก์ร่วมมีเรื่องขัดแย้งกับบุตรจำเลยและเป็นฝ่ายไปที่บ้านจำเลยถึงแม้จำเลยด่าโจทก์ร่วมแต่ก็ยังไม่มีพฤติการณ์อื่นให้เห็นว่าจำเลยสมัครใจจะเข้าต่อสู้กับโจทก์ร่วมด้วยกำลังกาย นอกจากนี้โจทก์ร่วมรูปร่างใหญ่แข็งแรง และหนุ่มกว่าจำเลย หากสู้กันตัวต่อตัวแล้วจำเลยสู้โจทก์ร่วมไม่ได้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยสมัครใจวิวาทต่อสู้กับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่โจทก์ร่วมเข้าชกและกอดปล้ำจำเลยไว้เป็นเวลานาน และหากยังกอดปล้ำจำเลยต่อไปอาจทำให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายได้ จึงเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ร่วม 2 ที ก็เพื่อให้พ้นจากการกอดปล้ำของโจทก์ร่วมเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ: การกระทำต่อเนื่องหลังพ้นอันตราย
ผู้ตายกับพวกรวม 3 คน ถีบประตูห้องพักของจำเลยจนกลอนประตูหลุดประตูเปิด แล้วเข้าไปทำร้ายจำเลยและจะทำร้ายภรรยาจำเลยซึ่งมีครรภ์ เป็นการกระทำที่อุกอาจและเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ทั้งเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่จำเลยใช้มีดแทงคนทั้งสาม แม้จะแทงหลายทีก็เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีความผิด หลังจากผู้ตายวิ่งออกมาจากห้องพักของจำเลยแล้ว จำเลยติดตามออกมาและใช้มีดแทงผู้ตายอีก 3 ที เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระทำของจำเลยในตอนแรกซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อจำเลยแทงผู้ตายในขณะที่หมดโอกาสทำร้ายจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยในตอนนี้จึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการติดตั้งสายไฟฟ้าทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตร
สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินจะต้องต่อลงดินทุกระยะ 200 เมตรและปลายสายจะต้องต่อลงดินด้วย เพื่อให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเข้าไม่ได้ ขณะเกิดเหตุสายไฟฟ้าที่พาดเสาไฟฟ้าทั้ง 22 ต้น เป็นระยะทางถึง 840 เมตร มีสายดินต่อลงดินเพียงแห่งเดียวคือที่เสาไฟฟ้าต้นที่ 22 จึงไม่ทำให้สายดินมีค่าเป็นศูนย์ กระแสไฟฟ้าย่อมไหลผ่านเข้าไปได้ การที่สายไฟฟ้าซึ่งเป็นสายดินพาดระหว่างเสาไฟฟ้าต้นที่ 17 กับต้นที่ 18 ที่ปักอยู่ในสวนของผู้ตายได้ขาดตกลงมาในท้องร่องซึ่งมีน้ำขัง ผู้ตายไปเปิดน้ำเข้าสวนถูกกระแสไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ทำการพาดสายไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีบุตรด้วยกัน 3 คน ขณะผู้ตายยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้อุปการะโจทก์และบุตรการที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำให้บุตรโจทก์ขาดไร้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรโจทก์ เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าบุตรโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนแต่บุตรโจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ยังฟ้องคดีเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องแทน ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องทั้งในนามตนเองและในนามบุตรทั้งสามโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลประมาทเลินเล่อปล่อยปละละเลยดูแลรักษาสระน้ำพุ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีส่วนผิด
จำเลยเป็นเทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาสระน้ำพุและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำน้ำพุให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและปลอดภัย การที่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่จัดหาอุปกรณ์มาปิดบังหรือเก็บซ่อนสายไฟฟ้าที่ต่อจากมอเตอร์ มายังเครื่องปั๊มน้ำมันซึ่งมีสภาพเก่าไว้ให้มิดชิด แต่กลับปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ทั้งจำเลยทราบแล้วว่าในวันเกิดเหตุเป็นวันสงกรานต์ มีผู้มาเล่นน้ำบริเวณน้ำพุกันมากรวมทั้งเอาน้ำในสระดังกล่าวสาด รด กัน ทำให้บริเวณรอบ ๆ น้ำพุเปียกน้ำ เป็นเหตุให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องทำน้ำพุลงไปในสระน้ำ ทำให้บุตรโจทก์ซึ่งลงไปเล่นน้ำในสระดังกล่าวถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายเช่นนี้ ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย
สระน้ำพุดังกล่าวจำเลยสร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม และเป็นที่พักผ่อนหย่อน ใจของประชาชน การที่ผู้ตายลงไปเล่นน้ำในสระน้ำพุดังกล่าว ซึ่งมิใช่สถานที่จัดให้ลงไปเล่นน้ำได้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงถือได้ว่าเป็นเพราะความผิดของผู้ตายประกอบอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223.
สระน้ำพุดังกล่าวจำเลยสร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม และเป็นที่พักผ่อนหย่อน ใจของประชาชน การที่ผู้ตายลงไปเล่นน้ำในสระน้ำพุดังกล่าว ซึ่งมิใช่สถานที่จัดให้ลงไปเล่นน้ำได้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงถือได้ว่าเป็นเพราะความผิดของผู้ตายประกอบอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษกด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษกเข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษกด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษก ด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษก ด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางการจราจรประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดและบทลงโทษ
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่า มีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และการแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ การกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยนำผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลในทันทีหลังจากที่ขับรถชนผู้ตาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลบหนีไปจนเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับอันตรายถึงตายตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160วรรคสอง จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก เท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)