คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9480/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองอาคารมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า สิทธิขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเรื่องหรือข้อหาไว้ว่า ขับไล่เรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย ในเนื้อหาของคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ได้รับการเช่าช่วงที่ดินมาจาก ป.เพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 จำเลยทำสัญญาจองอาคารกับโจทก์ ตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้อง โดยจองห้องเลขที่ 145 และตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ว่า จะจัดการทำสัญญาเช่ากับผู้จองให้เรียบร้อยภายหลังจากที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และสัญญาข้อ 4 ระบุว่าสัญญาเช่าที่จะทำตามข้อ 3 มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา ทั้งได้มีการกำหนดค่าเช่ากันไว้ตามสัญญาข้อ 5 ด้วย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว พร้อมเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับสัญญาจองอาคารและเกี่ยวกับเรื่องการเช่าอาคารพิพาทตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ส่วนประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าสัญญาจองอาคารตามเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์อ้าง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสัญญาจองแล้ว ยังมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัวด้วย กล่าวคือ เป็นสัญญาซึ่งโจทก์ตกลงให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในที่นี้คืออาคารพิพาทที่โจทก์ได้จัดสร้างขึ้นในระยะเวลาอันมีจำกัดคือ 20 ปี และจำเลยตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ดังนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า และจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 แล้ว ส่วนที่สัญญาจองอาคารข้อ 3 ระบุให้ไปทำสัญญาเช่ากันภายหลังจากการที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองแล้วนั้น เป็นเพียงเพื่อที่จะให้ไปทำสัญญาเช่าเพื่อจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา20 ปี ตามสัญญาข้อ 4 ให้เป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงเรื่องการเช่า การบอกเลิกการเช่า และอายุสัญญาเช่าสิ้นไปตามกำหนดในสัญญาเช่า โดยมิได้กล่าวถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารไว้ ก็ถือได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าไว้จึงย่อมระงับสิ้นไปโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน และเมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคาร-พิพาทจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาจองอาคารที่ได้กระทำกันไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510: ป้ายต้องแสดงภายในสถานที่ประกอบการค้าหรืออาคารเท่านั้น
ตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 8 (5) ป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะก็ไม่ได้รับยกเว้น เพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา 8 (5) ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าว ดังนั้น หากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว แม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา 8 (5) ดังกล่าว
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8 (5)แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์พ.ศ.2499 มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510: ป้ายต้องติดตั้งภายในสถานที่ประกอบการค้าหรืออาคารเท่านั้น
ป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2530 มาตรา 8(5) จะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะไม่ได้รับยกเว้นเพราะข้อความตอนท้ายของ มาตรา 8(5) ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าว ดังนั้น หากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว แม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้าย พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8(5) มุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคารป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังอาคารผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ก็ไม่เป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายพ.ศ. 2510

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ข้อจำกัดในการฟ้องร้อง
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ มิได้อ้างเหตุว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาต จึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้างในการซ่อมแซมอาคาร: ระยะเวลา 1 ปี vs. 5 ปี
ตามสัญญาจ้างปรับปรุงพื้นดาดฟ้า หลังคา ซ่อมแซมห้องน้ำห้องส้วมของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ก่อนแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รับมอบงานเมื่อมีรอยแตกร้าวบนพื้นดาดฟ้าเกิดขึ้นภายใน 1 ปี จำเลยได้ซ่อมแซมและโจทก์รับมอบงานซ่อมแซมแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในรอยแตกร้าวเดิมที่เกิดขึ้นอีกเมื่อพ้น 1 ปีแล้ว และความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการปรับปรุงพื้นดาดฟ้าหลังคาเช่นนี้ก็ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินซึ่งผู้รับจ้างต้องรับผิดภายใน 5 ปี นับแต่วันส่งมอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 วรรคแรก ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้เป็นอาคารในที่ดินราชพัสดุ
แม้อาคารที่จำเลยผู้เช่าก่อสร้างขึ้นอยู่ในที่ดินราชพัสดุและอาคารดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงการคลังผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุแต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและมิได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้จำเลยจะอ้างว่าไม่มีหน้าที่ต้องรื้อถอนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตบนที่ดินราชพัสดุ เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอน แม้กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของรัฐ
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในที่ดินราชพัสดุที่จำเลยเช่าและแม้อาคารดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงการคลังตามสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุแต่อาคารดังกล่าวมิใช่อาคารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่ระบุไว้ในข้อ1แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่9(พ.ศ.2528)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็เป็นการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา21เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างรื้อถอนอาคารนั้นได้ตามมาตรา42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4915/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีระหว่างถูกคุมขัง: การกระทำสำเร็จแม้ถูกจับในอาคาร
จำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีชิงทรัพย์ถูกคุมขังอยู่ที่ห้องขังของสถานีตำรวจได้วิ่งออกมาจากห้องขังลงไปทางบันไดของสถานีตำรวจในขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ควบคุมจำเลยได้ไขกุญแจห้องขังเปิดประตูเพื่อนำจำเลยไปพิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ย่อมเป็นการหลบหนีไปในระหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะติดตามจับกุมจำเลยได้ภายในตัวอาคารสถานีตำรวจก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกอนุญาตต่อเติมอาคารล่าช้า ไม่ทำให้คำสั่งรื้อถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาและออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์ที่ 3 แก้ไขแบบแปลนและต่อเติมอาคารจาก 4 ชั้นเป็น 11 ชั้น ภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารที่สร้างโดยไม่รับอนุญาตตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์ต่อรูปคดีของโจทก์และฟังไม่ขึ้น เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่ล่าช้าตกเป็นเสียเปล่าหรือก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด เหตุล่าช้าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุถึงขนาดว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นตกเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือจำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง,67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่งรวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่าความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1(ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา-ตราดแขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1(ข)และ(ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้นระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม22 วัน และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท.9009/5082 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16สิงหาคม 2534 ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไรเชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นเชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
of 12