พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิหน้าที่สัญญาซื้อขายอาคารชุด, การก่อสร้างเกินแบบ, และการติดตั้งมิเตอร์น้ำ
การสร้างอาคารพิพาทสูง 30 ชั้น จำเลยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ก่อสร้างได้ตามกฎหมายแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะก่อสร้างอาคารได้ตามที่ได้รับอนุญาตนั้น หากจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอย่างใดก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะว่ากล่าวกับจำเลยเป็นอีกกรณีหนึ่ง
เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลงระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่
ตามสัญญาซื้อขายอาคารชุดระบุว่าจำเลยจะต้องติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกต่างหากในแต่ละห้องชุดและร้านค้า แต่จำเลยไม่ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกแต่ละห้องชุดและร้านค้าเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว และโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ซื้อรายอื่นให้ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นได้
ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ระบุว่าห้องชุดมีพื้นที่ 74.29 ตารางเมตร และระบุในสารบัญจดทะเบียนว่ารายการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุดมีเนื้อที่ 5.28 ตารางเมตรดังนี้ ห้องชุดพิพาทต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร รวมเข้าเป็นเนื้อที่ของห้องชุดพิพาทด้วย ตามมาตรา 4 สัญญาซื้อขายห้องชุดรายพิพาทนี้จึงมีเนื้อที่ 79.57 ตารางเมตร
เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลงระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่
ตามสัญญาซื้อขายอาคารชุดระบุว่าจำเลยจะต้องติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกต่างหากในแต่ละห้องชุดและร้านค้า แต่จำเลยไม่ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกแต่ละห้องชุดและร้านค้าเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว และโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ซื้อรายอื่นให้ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นได้
ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ระบุว่าห้องชุดมีพื้นที่ 74.29 ตารางเมตร และระบุในสารบัญจดทะเบียนว่ารายการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุดมีเนื้อที่ 5.28 ตารางเมตรดังนี้ ห้องชุดพิพาทต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร รวมเข้าเป็นเนื้อที่ของห้องชุดพิพาทด้วย ตามมาตรา 4 สัญญาซื้อขายห้องชุดรายพิพาทนี้จึงมีเนื้อที่ 79.57 ตารางเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พื้นที่ห้องชุดตามสัญญาอาคารชุด: การรวมพื้นที่ระเบียงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ห้องชุด
แม้ในสัญญาขายห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจะระบุพื้นที่ห้องชุดไว้86.5 ตารางเมตร แต่เมื่อ พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ให้คำนิยาม"ทรัพย์สินส่วนบุคคล" หมายความว่า ห้องชุดและหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย และให้คำนิยาม "ห้องชุด" หมายความว่าส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนเฉพาะของแต่ละบุคคล ห้องชุดพิพาทจึงต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลรวมเข้าด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น พื้นที่ห้องชุดที่จำเลยสร้างเสร็จซึ่งมีเนื้อที่79.57 ตารางเมตร จึงถูกต้องตามสัญญาซื้อขายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารชุดในการฟ้องเปิดทางพิพาท: ไม่มีหน้าที่ตามคำฟ้องจึงไม่สมควรเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ อันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กระทำการหรืองดเว้นการกระทำในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาท ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้ผู้ร้องสอดทั้งสี่มีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็หาได้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ เพราะผู้ร้องสอดทั้งสี่ไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดกับการฟ้องเปิดทางจำเป็น: ผู้ร้องสอดไม่มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดให้เปิดทางจำเป็น ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาทตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลย อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง แม้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดไม่มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์เพราะผู้ร้องสอดไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของห้องชุดในคดีทางจำเป็น: ไม่มีส่วนได้เสียในผลคดีหากไม่มีอำนาจจัดการตาม พ.ร.บ.อาคารชุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ อันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 กระทำการหรืองดเว้นการกระทำในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาท ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้ผู้ร้องสอดทั้งสี่มีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็หาได้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ เพราะผู้ร้องสอดทั้งสี่ไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของห้องชุดในคดีทางจำเป็น: ไม่มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีหากไม่มีอำนาจจัดการตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลกับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ให้เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะอันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่1กระทำการหรืองดเว้นการกระทำในที่ดินของจำเลยที่1เพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ส่วนผู้ร้องสอดทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาทตลอดจนสถานที่ต่างๆในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลยที่1อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของจำเลยที่1ดังนี้แม้ผู้ร้องสอดทั้งสี่มีสิทธิดังกล่าวแต่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็หาได้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดๆตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เพราะผู้ร้องสอดทั้งสี่ไม่มีอำนาจจัดการใดๆตามพระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ.2522แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีผู้ร้องสอดทั้งสี่ก็ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากรู้ถึงภาวะปูนซีเมนต์ขาดแคลนก่อนทำสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2532 เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จำเลยและผู้รับเหมาของจำเลย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดี โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2533 เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน 24 เดือน เช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด แต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายใน24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา คือภายในวันที่ 9 เมษายน 2535 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ 13 วัน และในเดือนมีนาคม 2535 นั้น จำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี 8 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายใน24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา คือภายในวันที่ 9 เมษายน 2535 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ 13 วัน และในเดือนมีนาคม 2535 นั้น จำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี 8 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุดล่าช้า: เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนมิอาจใช้แก้ตัวได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี2532เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการจำเลยและผู้รับเหมาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดีโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่9เมษายน2533เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน24เดือนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดแต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้วจำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารขุดให้เสร็จภายใน24เดือนนับแต่วันทำสัญญาคือภายในวันที่9เมษายน2535โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่27มีนาคม2535ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ13วันและในเดือนมีนาคม2535นั้นจำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน2536ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ1ปี8เดือนดังนั้นแม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายระเบียงห้องชุดพร้อมระเบียงเป็นส่วนตัว ไม่ขัดต่อกฎหมายอาคารชุด
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดโดยโจทก์ตกลงจะซื้อห้องชุดจากจำเลย1ห้องพร้อมระเบียงหน้าห้องชุดเพื่อโจทก์ใช้พักผ่อนและจำเลยได้แสดงเจตนาชัดแจ้งในขณะทำสัญญาว่าจำเลยไม่มีความประสงค์จะใช้ระเบียงดังกล่าวเป็นทรัพย์ส่วนกลางโจทก์เป็นผู้ที่จะใช้ประโยชน์ในระเบียงดังกล่าวเท่านั้นดังนี้ระเบียงพิพาทที่จำเลยทำสัญญาโอนให้แก่โจทก์จึงไม่ใช่ทรัพย์ในอาคารชุดที่มีไว้เพื่อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของห้องชุดทั้งหมดหรือทุกคนในตัวอาคารใช้ประโยชน์ได้ร่วมกันไม่เป็นทรัพย์ส่วนกลางตามพระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ.2522มาตรา15(4)(6)และ(7)ข้อตกลงจะซื้อจะขายระเบียงพิพาทจึงหาต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: สัญญาจองซื้อมีผลเหนือกว่าโฆษณา/หนังสือแสดงโครงการ ข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
แม้จำเลยจะประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อขายอาคารชุดที่จำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างโดยมีภาพประกอบ และได้จัดทำหนังสือแสดงโครงการอาคารชุดดังกล่าวโฆษณาแจกจ่ายแก่บุคคลทั่วไป แต่เมื่อโจทก์ไปติดต่อขอซื้อห้องชุดของอาคารชุดจากจำเลย ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาจองและซื้อห้องชุดไว้เป็นหลักฐานสัญญาดังกล่าวระบุว่าแผนที่อาคารชุดแนบท้ายสัญญามีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงแบบที่ตั้ง หมายเลข และขนาดของห้องชุดเท่านั้น แผนที่ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดการรับรองในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใดทั้งสิ้น สำหรับข้อสัญญาอื่น ๆ ได้ระบุรายละเอียดของห้องชุดที่โจทก์จะซื้อ ราคาซื้อขาย กำหนดเวลาแล้วเสร็จ กำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่มีต่อกัน แสดงว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะผูกพันเกี่ยวกับการซื้อขายห้องชุดตามสัญญาที่ทำกันไว้ หาได้ประสงค์จะผูกพันตามประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์หรือหนังสือแสดงโครงการของจำเลยไม่ การซื้อขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมิใช่เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนา
สัญญาจองและซื้อห้องชุดระบุว่า ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมค่าอากรแสตมป์ และค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ผู้ซื้อคือโจทก์จะเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น แต่การที่โจทก์และจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนห้องชุดโดยโจทก์ให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานว่าโจทก์ยินดีชำระค่าธรรมเนียมและอากรในการจดทะเบียน ส่วนภาษีเงินได้ จำเลยต้องเป็นผู้ชำระนั้นเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญา ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วไม่ได้
สัญญาจองและซื้อห้องชุดระบุว่า ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมค่าอากรแสตมป์ และค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ผู้ซื้อคือโจทก์จะเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น แต่การที่โจทก์และจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนห้องชุดโดยโจทก์ให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานว่าโจทก์ยินดีชำระค่าธรรมเนียมและอากรในการจดทะเบียน ส่วนภาษีเงินได้ จำเลยต้องเป็นผู้ชำระนั้นเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญา ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วไม่ได้