พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา แม้ไม่ได้ระบุสถานที่เกิดเหตุ โดยพิจารณาจากเอกสารประกอบสำนวนและพฤติการณ์ของจำเลย
แม้คำฟ้องของโจทก์จะไม่ได้ระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดก็ตาม แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องกล่าวไว้ว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขดำที่ พ. 17/2540 ซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้อง และปรากฏว่าในสำนวนคดีดังกล่าวซึ่งรวมอยู่กับสำนวนคดีนี้ พนักงานสอบสวนที่ขอฝากขังจำเลยในขณะที่เป็นผู้ต้องหาได้ระบุสถานที่เกิดเหตุว่า เหตุเกิดที่โรงครัววัดอ่าวพร้าว เลขที่ 70 หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะกูด กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน และได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนระบุว่ามูลคดีมีเบื้องหลังเกิดจากกระบวนการกลั่นแกล้งของผู้มีอิทธิพลเกี่ยวกับผลประโยชน์ในเขตใกล้เคียงกับวัดอ่าวพร้าว ซึ่งจำเลยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่า จำเลยย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุเกิดที่ใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา แม้ไม่ได้ระบุสถานที่เกิดเหตุ แต่มีข้อมูลในสำนวนคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้องโดยไม่คำนึงว่าคำร้องขอฝากขังเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ เมื่อปรากฏในสำนวนคำร้องขอฝากขังซึ่งติดอยู่ตอนหน้าของสำนวนระบุสถานที่เกิดเหตุไว้แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5142/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถเช่าซื้อหลังเกิดเหตุอาญา: ผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลซึ่งการให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของผู้ร้อง เมื่อ ส. เช่าซื้อรถของกลางจากผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะนำรถของกลางไปใช้กระทำผิดเมื่อใดการที่ผู้ร้องมาขอคืนรถของกลางภายหลังเกิดเหตุ 1 ปีเศษ ไม่พอฟังว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะได้รถของกลางคืนแต่เป็นการขอคืนเพื่อประโยชน์ของ ส. ผู้เช่าซื้อทั้งการที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทั้งที่ ส. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 5 งวดสุดท้ายนั้น ก็น่าจะเป็นการให้โอกาสแก่ ส.ซึ่งเป็นลูกค้าชั้นดีและตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าส.รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิวาทและการป้องกันตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงเหตุบันดาลโทสะที่ไม่สามารถอ้างได้
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายได้มาโต้เถียงกับจำเลยเป็นเวลานาน จำเลยย่อมจะมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่าจำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตาย เป็นการเข้าสู้ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาซ้ำกระทง: การพิจารณาตัวบุคคลเดียวกันและการยกข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ชั้นพิจารณาศาลได้สอบถามเรื่องที่จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนหรือไม่แล้ว จำเลยให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยมิได้โต้แย้งทักท้วง ประกอบกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรรมระบุว่า ลายนิ้วมือของจำเลยคดีนี้และคดีก่อนเป็นบุคคลเดียวกัน ดังนี้ศาลย่อมเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ชั้นพิจารณาศาลได้สอบถามเรื่องที่จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนหรือไม่แล้ว จำเลยให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยมิได้โต้แย้งทักท้วง ประกอบกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรรมระบุว่า ลายนิ้วมือของจำเลยคดีนี้และคดีก่อนเป็นบุคคลเดียวกัน ดังนี้ศาลย่อมเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: วันพ้นโทษสำคัญกว่ากำหนดรอการลงโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 92 นั้นผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการ ลงโทษไว้ จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษเมื่อจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา มาตรา 92 ต้องมี 'วันพ้นโทษ' จากการรับโทษจำคุกจริง ไม่นับรวมระยะรอการลงโทษ
ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำความผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานที่ไม่เป็นจำเลย และการยกฟ้องอาญาในข้อหาบางกระทง
ล. มิได้เป็นจำเลยในคดีนี้ กรณีจึงมิต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 232 ซึ่งห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินเพื่อแลกอิสรภาพไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่า ผู้เสียหายได้รับเงินคืนจากจำเลยแล้ว แต่ยังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)