พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความรับผิดของผู้ขนส่งและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 อันเป็นวันที่จำเลยควรจะส่งมอบกระเป๋าเดินทางสูญหายให้แก่โจทก์ อายุความย่อมเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือยินยอมชดใช่ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะไม่เต็มตามจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องยื่นคำฟ้องพ้นกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่เด็กบรรลุภาวะแล้วจะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ ปรากฏตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านว่า ผู้ร้องเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2512 ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2546 ขณะผู้ร้องมีอายุได้ 34 ปี จึงเป็นการยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันบรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องจึงขาดอายุความ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ตายไม่เคยปฏิเสธว่าผู้ร้องมิใช่บุตรไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายจนเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ผู้ร้องไปติดต่อขอรับเงินสงเคราะห์ครอบครัวสมาชิกคุรุสภา (ช.พ.ค.) แต่เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการให้ อ้างว่าไม่มีหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย นับเป็นเหตุขัดข้องโดยเพิ่งเกิดการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ก็ตาม แต่การใช้สิทธิทางศาลของผู้ร้องก็ยังต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าวด้วย ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ร้องเพิ่งถูกโต้แย้งสิทธิ คดียังไม่ขาดอายุความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: สัญญา, อายุความ, ฟ้องแย้ง, ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยกล่าวอ้างว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนย่อมเป็นโมฆะเช่นนี้ ปัญหาว่าโจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาได้หรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถานก็ย่อมกระทำได้ แต่ประเด็นเรื่องอายุความและฟ้องแย้งที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การมาด้วยนั้น เห็นว่า วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ และวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องซึ่งจำเลยทั้งสองก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาตั้งแต่ต้น หากจำเลยทั้งสองมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความย่อมกระทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน หาใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานแต่อย่างใดไม่ ทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: สัญญาอนุญาตใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า และอายุความ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การในส่วนที่ว่า สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามความผูกพันทางสัญญา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยอ้างว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า ซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนยื่นหลังจากวันชี้สองสถานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา และมีสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามข้อต่อสู้นี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของข้อ 2 ว่า "และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด" โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบถึงเรื่องความรับผิดในกรณีที่สัญญาจะมีผลผูกพันต่อกันหรือไม่อยู่แล้ว ไม่มีเหตุสมควรที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนนี้
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องโจทก์ จำเลยก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาแต่ต้น หากจำเลยมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความ ย่อมสามารถจะทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกันมิใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำให้การส่วนในนี้
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา และมีสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบตามข้อต่อสู้นี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของข้อ 2 ว่า "และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้และค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด" โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบถึงเรื่องความรับผิดในกรณีที่สัญญาจะมีผลผูกพันต่อกันหรือไม่อยู่แล้ว ไม่มีเหตุสมควรที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในส่วนนี้
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องโจทก์ จำเลยก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาแต่ต้น หากจำเลยมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความ ย่อมสามารถจะทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกันมิใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแก้ไขคำให้การส่วนในนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขาย vs. การแย่งการครอบครอง และประเด็นอายุความ
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขายที่ดินและการขาดอายุความฟ้องคดี
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์ จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: พิจารณาจากลักษณะข้อตกลงและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อในลักษณะเป็นค่าขาดราคารถยนต์หาใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วมาหักจากค่าเช่าซื้อทั้งหมดตามสัญญา และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน การฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่ค่าเช่า, ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญารวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การขัดขวางการใช้ทาง และอายุความการฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ปลูกเพิงบนถนนพิพาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำสิ่งของต่าง ๆ จำพวกยางรถยนต์และเศษไม้มาวางบนถนนพิพาทซึ่งเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการขัดขวางมิให้โจทก์และบริวารของโจทก์ได้รับความสะดวกในการใช้ถนนพิพาท ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือขาดความสะดวกแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ แม้โจทก์หรือบริวารของโจทก์สร้างราวตากผ้าในถนนพิพาทด้วย ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพราะจำเลยทั้งสองทำให้ประโยชน์แห่งถนนพิพาทซึ่งเป็นทางภาระจำยอมลดไปหรือขาดความสะดวกแก่โจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
แม้จำเลยทั้งสองปลูกสร้างเพิงและวางสิ่งของจำพวกยางรถยนต์และเศษไม้จำนวนมากบนถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2533 คิดถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2540 อันเป็นวันฟ้องเกิน 1 ปีแล้ว แต่เมื่อเพิงและสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นยังมีอยู่บนถนนพิพาทตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิในการฟ้องขอให้รื้อถอนเพิงและขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ออกไปจากถนนพิพาทซึ่งเป็นทางภาระจำยอมจึงยังคงมีอยู่ตลอดไป คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
แม้จำเลยทั้งสองปลูกสร้างเพิงและวางสิ่งของจำพวกยางรถยนต์และเศษไม้จำนวนมากบนถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2533 คิดถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2540 อันเป็นวันฟ้องเกิน 1 ปีแล้ว แต่เมื่อเพิงและสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นยังมีอยู่บนถนนพิพาทตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สิทธิในการฟ้องขอให้รื้อถอนเพิงและขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ออกไปจากถนนพิพาทซึ่งเป็นทางภาระจำยอมจึงยังคงมีอยู่ตลอดไป คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทน กรณีไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้ขนส่งตามกฎหมายรับขนของทางทะเล
บทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่ว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ นั้นเป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งของว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่ต่างประเทศ โดยโจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าของโจทก์ไม่ยอมรับสินค้า เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หาได้ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเล และให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเลตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จึงจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการเพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 และบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่เมื่อ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30