คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อายุความมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ใช่ทายาทเจ้ามรดก ไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกจะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561-562/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองมรดกโดยทายาทและคู่สมรส, ผลต่อการฟ้องแบ่งมรดก
ม. ถึงแก่กรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ร. สามี ม. ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่มรดกของ ม. ร่วมกับ จำเลยซึ่งเป็นภริยาคนใหม่ของ ร.จนกระทั่งร. ได้ถึงแก่กรรมในวันที่ 3 มกราคม 2517 แล้วโจทก์สำนวนแรกจึงมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองมรดกของ ร. เพื่อขอแบ่งมรดกของ ม. เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518 พ้นกำหนด 1 ปี ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 แล้ว หากยังมีชีวิตอยู่ ร. ซึ่งครอบครองที่พิพาทย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์สำนวนแรกได้จำเลยเป็นคู่สมรสและเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิรับมรดกของร. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และ 1635 จึงชอบที่จะใช้สิทธิของ ร. ยกอายุความมรดก ขึ้นต่อสู้โจทก์สำนวนแรกได้ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการฟ้องผู้จัดการมรดก/ทายาทรับผิดหนี้เจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามฟ้องขาดอายุความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมให้การดังกล่าวนั้น เป็นคำให้การที่ยกอายุความมรดกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสก่อน/หลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 และอายุความมรดก กรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมายแม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล.ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตายความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียวล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล.ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสก่อน-หลัง บรรพ 5, การหย่า, อายุความมรดก: การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตามกฎหมายก่อน/หลังใช้ บรรพ 5, การหย่าโดยไม่ได้จดทะเบียน, และอายุความมรดก
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมาย แม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล. ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียว ล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองมรดกโดยทายาทและผู้ครอบครองแทนกันต่อเนื่อง แม้พ้นกำหนดอายุความตามกฎหมาย
เมื่อบิดาถึงแก่กรรม ทายาทมิได้ขอแบ่งมรดกหากแต่มารดา ได้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งเพื่อตนเองและแทนบุตรทุกคน เมื่อมารดา ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ กับ ส.ซึ่งต่างก็เป็นบุตรยังคงครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันและแทนกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องให้แบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดามารดาได้ตาม มาตรา1748แม้ว่าจะเป็นเวลาภายหลังที่บิดามารดาถึงแก่กรรมไปแล้ว 40 ปีเศษและ 4 ปีเศษ ตามลำดับ ล่วงพ้นกำหนดเวลาตาม มาตรา1754 แล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความมรดกและการใช้สิทธิของเจ้าของรวม ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ม.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความมรดกและการฟ้องขับไล่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความมรดกเป็นประเด็นไว้และจำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอายุความมรดก จำเลยย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความมรดก จึงเป็นการนอกประเด็น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ซึ่งไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของม. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ และมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนี้ด้วย จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมาตั้งแต่เจ้ามรดกยังไม่ตาย หลังจากเจ้ามรดกตายก็ยังคงอยู่ต่อมา จำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสและการยกอายุความมรดก: สามีมีอำนาจใช้สิทธิทายาทเพื่อต่อสู้คดีได้
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน เมื่อทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระหนึ่งจึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีย่อมมีอำนาจจัดการและฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ บรรพ 5 (เดิม) แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์พิพาทต่อไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจใช้สิทธิจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสและอายุความมรดก: สามีใช้อายุความแทนทายาทได้
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันเมื่อทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีย่อมมีอำนาจจัดการและฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(เดิม) แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 แล้ว จำเลยที่ 1ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์พิพาทต่อไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทยกอายุความ 1 ปีขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
of 11