คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจกรรมการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและการผูกพันสัญญา แม้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการจัดการ จำเลยที่ 2 ได้ออกใบสั่งให้โจทก์ถมดินให้จำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในใบสั่งนั้นคนเดียวแม้ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จะมีว่า 'กรรมการสามนายร่วมกันลงลายมือชื่อในเอกสารสำคัญแทนบริษัทและต้องประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย' ก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ผูกมัดให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเพราะถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และใบสั่งมิใช่เอกสารที่ผู้แทนจำเลยที่ 1 กระทำ
สัญญาจ้างถมที่ดินไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผูกพันบริษัท: ข้อจำกัดที่จดทะเบียนและประกาศแล้วเป็นที่รับรู้ของบุคคลทั่วไป
ข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการที่จะผูกพันบริษัทจำกัดนั้น เมื่อได้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไป ฉะนั้น การที่กรรมการผู้จัดการได้แลงนามในนามบริษัทจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยไม่ประทับตราบริษัทอันเป็นการขัดกับข้อบังคับดังกล่าวแล้ว การนั้นย่อมไม่ผูกพันบริษัทจำเลยอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผูกพันบริษัท: ข้อจำกัดที่จดทะเบียนและประกาศแล้วย่อมเป็นที่รู้ของบุคคลทั่วไป
ข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการที่จะผูกพันบริษัทจำกัดนั้นเมื่อได้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วย่อมเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปฉะนั้น การที่กรรมการผู้จัดการได้ลงนามในนามบริษัทจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยไม่ประทับตราบริษัทอันเป็นการขัดกับข้อบังคับดังกล่าวแล้ว การนั้นย่อมไม่ผูกพันบริษัทจำเลยอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดสัญญาระหว่างบริษัทกับคู่สัญญา แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจกรรมการผู้จัดการ สัญญาบังคับคดีได้หากมีการวางมัดจำ
โจทย์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม้เสากับบริษัทโจทก์ จำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เซ็นชื่อในสัญญาซื้อขายโดยไม่มีอำนาจเป็นโมฆะ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาขายไม้กับบริษัทโจทก์และได้รับเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว ก็ย่อมเกิดสัญญารระหว่างจำเลยกับบริษัทโจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ฉะนั้นปัญหาว่ากรรมการผู้จัดการมีอำนาจเซ็นสัญญากับจำเลยหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้เสา: การเกิดสัญญาจากเงินมัดจำและการรับชำระหนี้บางส่วน แม้มีปัญหาอำนาจกรรมการ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม้เสากับบริษัทโจทก์จำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เซ็นชื่อในสัญญาซื้อขายโดยไม่มีอำนาจเป็นโมฆะ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาขายไม้กับบริษัทโจทก์และได้รับเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว ก็ย่อมเกิดสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัทโจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ฉะนั้นปัญหาว่ากรรมการผู้จัดการมีอำนาจเซ็นสัญญากับจำเลยหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการฟ้องคดี: ผู้แทนตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 75 ไม่ใช่ตัวแทนตามมาตรา 801
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุให้อำนาจกรรมการ 2 คนทำนิติกรรมแทนบริษัทได้ ฉะนั้นกรรมการของบริษัท 2 คนจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนบริษัทในการฟ้องคดีได้ และในกรณีเช่นนี้กรรมการ 2 คนนั้นได้ชื่อว่า ผู้แทนของบริษัทตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 75 หาใช่ตัวแทน ตามมาตรา 801 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ-ผู้จัดการ: แม้มีข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการ ผู้จัดการก็ยังผูกพันบริษัทได้
แม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีระบุไว้ว่ากรรมการผู้มีชื่อคนหนึ่งแต่ผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราผูกพันบริษัทได้ก็ตาม ก็เป็นข้อบังคับในเรื่องอำนาจของกรรมการ ถ้าไม่มีข้อห้ามไว้เป็นอย่างอื่นแล้วผู้จัดการของบริษัทก็อาจที่จะลงนามในสัญญาผูกมัดบริษัทได้ ดังตัวอย่างฎีกาที่ 645/2486 และ 892/2486)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, อำนาจกรรมการ, การยกประเด็นใหม่, การอ้างพยาน: หลักเกณฑ์และข้อจำกัด
สัญญาค้ำประกันไม่จำต้องระบุสถานที่ทำ และไม่ต้องมีชื่อพยานและผู้เขียนค้ำประกันหนี้ในอนาคต และไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้ผ่อนให้ลูกหนี้ชำระเป็นงวดๆ และให้หาประกันมาใหม่อีกได้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเดิมหลุดพ้น ข้อบังคับของบริษัทให้อำนาจกรรมการคนเดียวลงนามแทนบริษัทได้ก็ย่อมมีอำนาจลงนามผู้เดียวมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องความได้ ตาม มาตรา 1144 ไม่เกี่ยวกับ มาตรา 801 ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่าง จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ คำแถลงในศาลล่างนั้นไม่ถือว่าเป็นประเด็นที่ยกขึ้นว่ากล่าว ในชั้นนั้นเพราะคำแถลงเป็นเพียงอธิบายประเด็นแห่งคดี การที่จะอ้างพยานเป็นครั้งแรกในศาลอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้นหากอ้างได้ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการจัดการหนี้สิน: คณะกรรมการต้องดำเนินการร่วมกัน ผู้เดียวไม่มีอำนาจขัดทรัพย์
เมื่อในสัญญาตั้งผู้จัดการไว้หลายคนเพื่อกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ถ้าไม่มีข้อความให้อำนาจผู้จัดการผู้เดียวจัดการแทนรายผู้อื่นได้ดังนี้ ผู้จัดการแต่ผู้เดียวหามีสิทธิร้องขัดทรัพย์ต่อศาลเกี่ยวแก่ทรัพย์ที่ถูกยึดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5275/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาเดิม สั่งให้สืบพยานเพิ่มเติม กรณีข้อพิพาทอำนาจกรรมการและเจตนาซื้อขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงเพียงพอวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นพิพาทข้อแรกว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการผูกพันโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยรับฟังข้อเท็จจริงตามรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงว่าเป็นเอกสารที่เป็นเท็จ และวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้อหลังว่าเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จำเลยที่ 2 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน ต้องรับฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยสุจริต ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยอาศัยข้อเท็จจริงจากคำฟ้องและคำให้การของคู่ความ อันจะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำแถลงรับของคู่ความทั้งสองฝ่าย และนำข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันมาวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นพิพาททั้งสองข้อ และที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคู่ความทั้งสองไม่ติดใจสืบพยานแล้วนั้น ประเด็นข้อพิพาทข้อแรก การที่คู่ความไม่ติดใจสืบพยาน จึงหมายความแต่เฉพาะในข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันตามที่บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาเท่านั้น มิได้หมายความว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจสืบพยานใด ๆ เสียทีเดียว ส่วนข้อความตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าประเด็นพิพาทข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายและข้อความต่อไปที่ว่า เมื่อทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีจึงไม่ต้องสืบพยาน เห็นได้ชัดว่าเป็นเพียงคำสั่งที่ให้มีผลว่า ก่อนศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ววินิจฉัยเบื้องต้นในปัญหานั้น อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผลต่อคู่ความอันจะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่โจทก์จะต้องโต้แย้งไว้เพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์ดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังมีข้อโต้เถียงกันว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยนอกเหนืออำนาจและนอกวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ จึงสมควรที่จะให้คู่ความทุกฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีมานั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา จึงมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
of 5