พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรส: การจำนองที่ดินโดยสามีแต่ผู้เดียวตามกฎหมายเดิม และสิทธิในการขอกันส่วนของภริยา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิมก่อนแก้ไขให้อำนาจสามีเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวเว้นแต่ในสัญญาก่อนสมรสจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การที่จำเลยจำนองที่ดินสินสมรสกับโจทก์ขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 เดิมมีผลใช้บังคับอยู่จึงมีผลผูกพันที่ดินที่จำนองทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน และกรณีนี้เป็นเรื่องการจัดการสินบริคณห์ มิใช่เรื่องการชำระหนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าเป็นหนี้ร่วมที่จะต้องใช้จากสินบริคณห์และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินร่วม การขายสินสมรสโดยไม่ยินยอม และความรับผิดทางอาญาจากการแจ้งข้อมูลเท็จ
หลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน ไว้เป็นพิเศษ อำนาจการจัดการที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นสามี และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาตามฟ้องซึ่งรวมถึงอำนาจการจำหน่ายด้วย ย่อมเป็นอำนาจของโจทก์และจำเลยที่ 1 รวมกันตามมาตรา 1476 และมาตรา 1477 แม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1เป็นหญิงหม้ายหย่ากับสามี ยังไม่มีสามีใหม่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสหลัง พ.ร.บ. 2519: สามีมีอำนาจจำหน่ายมรดกที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องมียินยอมภรรยา
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องในระยะเริ่มแรกที่ประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินบริคณห์อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมคงมีอำนาจจัดการต่อไป ไม่ขัดต่อหลักการชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477 บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1 (สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477 บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1 (สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสหลัง พ.ร.บ. 2519: สามีมีอำนาจจำหน่ายมรดกที่เป็นสินสมรสได้หากไม่มีข้อตกลงอื่น
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 7 บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดข้องในระยะเริ่มแรกที่ประกาศใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินบริคณห์อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมคงมีอำนาจจัดการต่อไป ไม่ขัดต่อหลักการชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1(สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1477บัญญัติว่า อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้น ที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจ จำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทเป็นสินสมรสที่จำเลยที่1(สามี) ได้รับมรดกจากบิดา ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากโจทก์ (ภรรยา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสและการยกอายุความมรดก: สามีมีอำนาจใช้สิทธิทายาทเพื่อต่อสู้คดีได้
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน เมื่อทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระหนึ่งจึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีย่อมมีอำนาจจัดการและฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ บรรพ 5 (เดิม) แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์พิพาทต่อไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจใช้สิทธิจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสและอายุความมรดก: สามีใช้อายุความแทนทายาทได้
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันเมื่อทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีย่อมมีอำนาจจัดการและฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกซึ่งเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(เดิม) แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 แล้ว จำเลยที่ 1ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์พิพาทต่อไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทยกอายุความ 1 ปีขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก. ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่างๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเปลี่ยนแปลงตามผู้มีอำนาจจัดการของบริษัท: การถอนฟ้องโดยผู้มีอำนาจปัจจุบันชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในขณะยื่นฟ้องกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ได้ แต่ต่อมาผู้ที่มีอำนาจกระทำการเป็นผู้แทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว สิทธิที่จะจัดการแทนโจทก์ของกรรมการผู้จัดการคนเดิมย่อมสิ้นสุดลง
การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
การพิจารณาถึงตัวผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนบริษัทโจทก์ในปัจจุบันย่อมต้องถือเอาข้อความในทะเบียนนิติบุคคลของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นหลักฐาน แม้กรรมการผู้จัดการคนเดิมจะคัดค้านว่า การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทได้กระทำไปโดยมติที่ไม่ชอบด้วยหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกกรณีศาลตั้งผู้จัดการหลายคนและการขอคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ศาลตั้งให้โจทก์กับ อ. เป็นผู้จัดการมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม เมื่อ อ. ตายโจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินการจัดการมรดกต่อไปตามลำพังไม่มีอำนาจเบิกเงินกองมรดกจากธนาคาร โดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาลอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้จัดการสมาคม: อำนาจจัดการทรัพย์สินเป็นสำคัญ
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการสมาคมชาวจีนไหหลำแห่งภาคใต้มีหน้าที่เขียนแจ้งคำบอกกล่าวสมาชิก เขียนใบรับเงิน ลงนามรับเงินในใบรับเงินเก็บเงิน รับเงินและออกใบรับเงินต่าง ๆ จำเลยได้รับเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกเงินบำรุงและค่ามรณะสงเคราะห์ฌาปนกิจไว้หลายคราวแล้ว จำเลยยักยอกเงินนั้นบางส่วนเช่นนี้เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หลายกรรม แต่ละกรรมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 บทเดียว ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 353 เพราะแม้จำเลยจะเป็นผู้เก็บรักษาเงิน แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจจัดการกับเงินนั้น และสมาคมนี้มีสมาชิกเฉพาะชาวจีนไหหลำจำเลยเป็นผู้จัดการสมาคมนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้มีอาชีพอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามมาตรา 354