พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนในการทำสัญญาเช่า และการให้สัตยาบันของตัวการ
บุตรเอาที่ดินของบิดามารดาไปให้ผู้อื่นเช่าโดยทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือลงชื่อบุตรเป็นผู้ให้เช่าแล้วนำสืบว่าที่ทำสัญญาให้เช่าที่รายนี้ ก็โดยได้อำนาจมาจากบิดามารดาการสืบดังกล่าวนี้มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาเช่าแต่อย่างใด
การที่ตัวการให้สัตยาบันการกระทำของตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 นั้น หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
การที่ตัวการให้สัตยาบันการกระทำของตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 นั้น หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน: โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การตั้งตัวแทน หากจำเลยรับรองว่าตัวแทนมีอำนาจ
โจทก์ฟ้องวส่า ตัวนแทนโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า ตัวแทนโจทก์ไม่ชอบอย่างไรไว้แล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องนำสืบแสดงการตั้งตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการรับผิดในหนี้ที่ตัวแทนก่อจากการจัดการร้านค้า
ตั้งตัวแทนจัดการร้านค้าของตัวการแล้ว ตัวการไปต่างประเทศเสียชั่วคราวในระหว่างที่ตัวการไปอยู่ต่างประเทศนั้น ตัวแทนซึ่งเป็นผู้จัดการร้านได้กู้ยืมเงินของบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายในกิจการค้าของร้านตัวการผู้ให้กู้ก็เข้าใจว่าตัวแทนมีสิทธิทำการกู้ยืมเงินไปใช้ในกิจการค้านั้นได้เช่นนี้ เข้าลักษณะตัวแทนตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 821, 822 แม้ตัวการจะไม่ได้ตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ ตัวการก็ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ตัวแทนไปกู้เขามาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนและการกระทำนอกเหนืออำนาจ: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากประเด็นข้อเท็จจริง
ตัวแทนกระทำการนอกอำนาจและสมประโยชน์ตัวการหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทน: การมอบเงินให้ตัวแทนชำระหนี้ แม้ตัวแทนไม่ชำระ ไม่ทำให้ตัวการพ้นความรับผิด
การที่ตัวแทนรับเงินไปจากตัวการเพื่อชำระหนี้ แล้วตัวแทนไม่ชำระนั้น หาถือว่าเป็นการนอกขอบอำนาจของตัวแทนอันเป็นเหตุให้ตัวการพ้นจากความรับผิดชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6542/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยมีเจตนาจำกัดขอบเขต แต่จำเลยที่ 1 เพิ่มข้อความเกินขอบเขตและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยสุจริต ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ
ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ ด้านหลังมี ณ. เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ 5 ลงลายมือชื่อรับรองว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือซ้ายของโจทก์ ที่พิมพ์ลงในหนังสือมอบอำนาจจริง และมีเจตนาในการทำนิติกรรมการโอนที่ดินโดย ณ. ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และในวันเดียวกันก็มีหนังสือมอบอำนาจอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งรับรองโดย ณ. เช่นเดียวกัน แต่เป็นการมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกเฉพาะส่วนพร้อมสิ่งปลูกสร้างตลอดจนให้ผู้รับมอบอำนาจให้ถ้อยคำต่างๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดินแทนโจทก์จนเสร็จการ การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีพยานรับรอง 2 คน จึงเป็นการสมบูรณ์ ถือเสมอกับการลงลายมือชื่อ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสอง และตามมาตรา 822 การที่โจทก์กล่าวอ้างว่าลงลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความ ทั้งมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยที่ 1 ไป แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 2 จนจำเลยที่ 2 หลงเชื่อว่าโจทก์มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่จำเลยที่ 2 รับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนเชิดและการผูกพันตามสัญญา: ข้อตกลงเกินอำนาจตัวแทน
ส. เดินทางไปกับ ก. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์และร่วมกันเจรจาขอรับรถยนต์คืนตลอดจนทำบันทึกการตรวจสภาพรถมอบให้แก่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ ส. แสดงออกเป็นตัวแทนของโจทก์ และโจทก์ก็รับเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปจากการยึด เห็นได้ว่าโจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 แต่อำนาจหน้าที่ของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดมีเพียงเท่าที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์มีอยู่ คือ ติดตามเอาคืน ยึดเข้าครอบครองเคลื่อนย้ายรถ แจ้งความร้องทุกข์ และกระทำการตามความจำเป็นตามกฎหมายเพื่อนำรถยนต์คันที่เช่าซื้อกลับคืนโจทก์ ส. ไม่มีอำนาจที่จะไปตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับจำเลยที่ 1 นอกเหนือไปจากความจำเป็นเพื่อยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนได้ การที่ ส. ไปทำข้อตกลงในหนังสือรับรองว่าไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนอกเหนืออำนาจในการเป็นตัวแทน โดยโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนจำนองที่ดิน & ผลผูกพันสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง: การกู้ยืมเงินร่วมกับจำเลยอื่น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระ ให้บังคับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ในการบังคับจำนองหากได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีปัญหาข้อใดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้
จำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจจัดการจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์ เพื่อประกันหนี้เงินกู้จำเลยที่ 1 และทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย สอดคล้องกับสัญญาจำนองที่ดินข้อ 1 ซึ่งมีข้อความระบุว่า คู่สัญญาให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กู้ยืมเงินโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สามารถใช้ฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ได้สิ้นเชิงอย่างหนี้สามัญ การทำข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5 อันเป็นการตกลงกันเป็นพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ เพื่อให้มีผลบังคับกันว่าจำเลยที่ 3 ต้องชำระหนี้แก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จึงเป็นการที่จำเลยที่ 2 ได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจจัดการจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์ เพื่อประกันหนี้เงินกู้จำเลยที่ 1 และทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย สอดคล้องกับสัญญาจำนองที่ดินข้อ 1 ซึ่งมีข้อความระบุว่า คู่สัญญาให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กู้ยืมเงินโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สามารถใช้ฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 3 ให้ชำระหนี้ได้สิ้นเชิงอย่างหนี้สามัญ การทำข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5 อันเป็นการตกลงกันเป็นพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้ เพื่อให้มีผลบังคับกันว่าจำเลยที่ 3 ต้องชำระหนี้แก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จึงเป็นการที่จำเลยที่ 2 ได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนในการดำเนินคดี: การมอบอำนาจให้ตั้งทนายความเป็นอำนาจจำเป็นในการดำเนินคดี
วัดผู้ร้องมอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและดำเนินคดีได้จนถึงที่สุด ก. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในสิ่งจำเป็นเพื่อให้กิจอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนสำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความเป็นการกระทำที่จำเป็นในการดำเนินคดี ก. จึงมีอำนาจตั้งทนายความยื่นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง