พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร ต้องมีวัตถุประสงค์ห้ามค้ากำไรเกินควรโดยตรง การห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของไม่ถือเป็นการห้ามค้ากำไรเกินควร
ประกาศอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ต้องเป็นประกาศเกี่ยวกับการค้ากำไรเกินควรและเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร ในสิ่งของที่ระบุไว้ในประกาศนั้น จะประกาศโดยมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างอื่นมิได้ เพราะเป็นการนอกขอบอำนาจของพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ และในประกาศนั้น ต้องสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งของที่ระบุชื่อไว้ในประกาศนั้นด้วย จะถือว่าประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นแล้วก็เป็นการห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งนั้นอยู่ในตัวมิได้ (อ้างฎีกาที่ 721/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสินค้าต้องควบคู่กับการห้ามค้ากำไรเกินควร ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร
ประกาศอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ต้องเป็นประกาศเกี่ยวกับการค้ากำไรเกินควรและเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร. ในสิ่งของที่ระบุไว้ในประกาศนั้น. จะประกาศโดยมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างอื่นมิได้ เพราะเป็นการนอกขอบอำนาจของพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้. และในประกาศนั้น ต้องสั่งห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งของที่ระบุชื่อไว้ในประกาศนั้นด้วย จะถือว่าประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นแล้วก็เป็นการห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรในสิ่งนั้นอยู่ในตัวมิได้ (อ้างฎีกาที่ 721/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวและการริบข้าวสารที่ไม่ได้แจ้งปริมาณ
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าว
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้น ๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วย ก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว ดังนี้ แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด ต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้น ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511)
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้น ๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วย ก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว ดังนี้ แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด ต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้น ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวและการสั่งแจ้งปริมาณข้าว
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าว.
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว. ได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว. และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้นๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว. ฉะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้. แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วย ก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย.
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว. ดังนี้แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ.
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด. ต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้น. ตามมาตรา 21ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพ.ศ.2489. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511).
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว. ได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว. และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้นๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว. ฉะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้. แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วย ก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย.
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว. ดังนี้แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ.
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด. ต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้น. ตามมาตรา 21ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพ.ศ.2489. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ดิน หรืออาศัยอำนาจตามกฎหมาย หากมิได้อ้างอิงอำนาจตามกฎหมายเฉพาะ ศาลต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องคดีบรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ โจทก์ได้แจ้งการครอบครองที่ดินแปลงนี้ไว้แล้ว โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้พิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์และขอให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาตามฟ้องแล้วเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เอง มิได้อาศัยอำนาจจากอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 และมิได้อ้างอำนาจตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214-215/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การจับกุมและหน่วงเหนี่ยวโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจหลอกให้โจทก์มาด้วยโดยอ้างว่าผู้บังคับกองเรียกให้ไปพบนั้น หาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่
แม้ว่าต่อมาผู้บังคับกองจะสั่งให้จำเลยพาโจทก์ไปหานายร้อยเวรก็ตาม ก็ไม่ถือว่าโจทก์ยอมไปด้วยความสมัครใจ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอตัวกลับ แต่จำเลยยังคงหน่วงเหนี่ยวตัวไว้ จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ซึ่งห้ามไว้เด็ดขาดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ นอกจากในกรณี 4 ประการอันบัญญัติเป็นบทยกเว้น การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้ว่าต่อมาผู้บังคับกองจะสั่งให้จำเลยพาโจทก์ไปหานายร้อยเวรก็ตาม ก็ไม่ถือว่าโจทก์ยอมไปด้วยความสมัครใจ ดังนั้น เมื่อโจทก์ขอตัวกลับ แต่จำเลยยังคงหน่วงเหนี่ยวตัวไว้ จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ซึ่งห้ามไว้เด็ดขาดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ นอกจากในกรณี 4 ประการอันบัญญัติเป็นบทยกเว้น การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารไม่มั่นคงแข็งแรง และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2478 มาตรา 11 ทวิ วรรค 3 การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคาร จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่น รื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่น รื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความอำนาจตาม พ.ร.บ.การประมง: เครื่องมือห้ามใช้เด็ดขาด vs. เครื่องมือห้ามใช้ในฤดูปลามีไข่ และผลต่อการริบของกลาง
เครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติการประมง มาตรา 32 (2) นั้น จะต้องกำหนดลักษณะของเครื่องมือที่ห้ามใช้เป็นอย่าง ๆ ไว้ให้รู้ หากนำเครื่องมือนั้นมาใช้ทำการประมง ก็ต้องริบตามมาตรา 70
เมื่อได้กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้ในฤดูปลามีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก ตามพระราชบัญญัติการประมงมาตรา 32 (5) แล้ว เครื่องมือทำการประมงอย่างอื่นก็เป็นเครื่องมือที่ต้องห้าม แต่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด ตามมาตรา 32 (2) เพราะเพียงแต่ห้ามในฤดูปลามีไข่เท่านั้นการจะริบเครื่องมือหรือไม่จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลตามมาตรา 69.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506).
เมื่อได้กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้ในฤดูปลามีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก ตามพระราชบัญญัติการประมงมาตรา 32 (5) แล้ว เครื่องมือทำการประมงอย่างอื่นก็เป็นเครื่องมือที่ต้องห้าม แต่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด ตามมาตรา 32 (2) เพราะเพียงแต่ห้ามในฤดูปลามีไข่เท่านั้นการจะริบเครื่องมือหรือไม่จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลตามมาตรา 69.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น แม้พิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน จำเลยไม่มีอำนาจทำลายทรัพย์โจทก์ ต้องฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์จำเลยต่างอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดิน ต่อมาโจทก์เข้าปลูกต้นกล้วยและปักเสารั้วในที่ดิน จำเลยตัดฟันเสียเช่นนี้ ถือว่าเป็นการทำลายทรัพย์ของโจทก์มีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 แล้วเพราะหากจำเลยจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแย่งการครอบครองจำเลยก็ชอบที่จะฟ้องร้องเอาคืนการครอบครองในทางศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ: เหตุอันควรสงสัยและอำนาจตามกฎหมาย
จำเลยต้องหาเรื่องทำร้ายร่างกายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจนได้มีคำสั่งจับของผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว ครั้นเจ้าพนักงานพบจำเลยขี่รถจักรยานจึงได้จับจำเลย เช่นนี้ แม้จะไม่มีหมายจับ ก็ย่อมจับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (3) คือ จับโดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี
นายร้อยตำรวจตรีผู้จับได้เข้าจับรถจักรยานที่จำเลยขี่อยู่ไว้แล้ว แจ้งข้อหาให้ทราบ และว่าจำเลยอยู่ในระหว่างควบคุมตัวแล้ว ขอให้ไปที่สถานีตำรวจ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการจับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 แล้ว
นายร้อยตำรวจตรีผู้จับได้เข้าจับรถจักรยานที่จำเลยขี่อยู่ไว้แล้ว แจ้งข้อหาให้ทราบ และว่าจำเลยอยู่ในระหว่างควบคุมตัวแล้ว ขอให้ไปที่สถานีตำรวจ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการจับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 แล้ว