คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจปกครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์: ความสัมพันธ์ผู้ดูแลตามกฎหมายและการใช้อำนาจปกครอง
คำว่า"ผู้ปกครอง"ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดาผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะน้าและนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองการที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: บิดายังมีอำนาจ แม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอน
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราว ซึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 1585 และ 1586 กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้อง ก่อนที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.จดทะเบียนหย่าขาดกัน อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.ตามมาตรา1566 เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกัน มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่ 1 และ ด.ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด แต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.เพียงตกลงกันให้ ด.มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้น ไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด อำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่ 1 และ ด.ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสาม และเมื่อ ด.ตาย ป.พ.พ.มาตรา 1566 (1) ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่า ให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่ 1 โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่า ด.และพยายามฆ่า ส.โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา 1582 บัญญัติไว้ ผู้ร้องที่ 1 ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่ กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 ขึ้นอีกได้ เนื่องจากผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าร้าง: บิดายังมีอำนาจ แม้มีประวัติอาชญากรรม การขอตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ชอบ
ผู้ร้องที่1และที่3เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราวซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585และ1586กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองแต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อนที่ผู้ร้องที่1กับด. จดทะเบียนหย่าขาดกันอำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่1กับด. ตามมาตรา1566เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกันมาตรา1520วรรคหนึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่1และด. ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดแต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าผู้ร้องที่1กับด. เพียงตกลงกันให้ด. มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้นไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดอำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่1และด. ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสามและเมื่อด. ตายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1566(1)ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่าให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่1โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่าด. และพยายามฆ่าส. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา1582บัญญัติไว้ผู้ร้องที่1ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585ขึ้นอีกได้เนื่องจากผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่1และที่3จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์, อำนาจปกครอง, และความผิดฐานอนาจาร: การกระทำต่อผู้เยาว์โดยไม่ยินยอม
นางสาว ก. ผู้เสียหาย อายุ 15 ปีเศษ ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับมารดา เพราะมารดานำไปฝากให้อยู่กับผู้อื่นก็ไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปโดยมารดามิได้ยินยอม ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาแม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากมารดา การกระทำเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 282 และ 319 นั้น หมายความถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่น ซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวของบุคคลโดยตรง จะกระทำในที่รโหฐานหรือสาธารณสถาน ก็ไม่มีผลที่แตกต่างกัน การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ถูกจำเลยพาไปในห้อง ของโรงแรมแม้จะเป็นที่มิดชิดแต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ในทางเพศต่อร่างกายของผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำเพื่ออนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์และการกระทำอนาจาร แม้ผู้เสียหายยินยอม การกระทำผิดยังคงมีอยู่
ถึงแม้ผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับมารดาเนื่องจากมารดานำไปฝากให้อยู่กับผู้อื่นก็ตามกรณีก็ยังถือว่าอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาการที่จำเลยที่1พาผู้เสียหายไปโดยมารดาของผู้เสียหายมิได้ยินยอมย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายแล้วถึงแม้ว่าผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เสียหายการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากมารดา การกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญาหมายความถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายบุคคลอื่นเช่นกอดจูบลูบคลำร่างกายของหญิงหรือชายเป็นการแสดงความใคร่ในทางเพศซึ่งต้องเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวของบุคคลโดยตรงซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นความประพฤติที่น่าอับอายนอกรีตนอกแบบอยู่แล้วจะกระทำในที่รโหฐานหรือสาธารณสถานก็หามีผลแตกต่างกันไม่การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในห้องของโรงแรมแม้จะเป็นที่มิดชิดแต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของบุคคลอื่นคือผู้เสียหายอันเป็นการกระทำอนาจารแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง ถือเป็นความผิดอาญา
ผู้เสียหายออกจากบ้านโดยหลบหนีมารดาแล้วไปกับจำเลยย. และ ป.เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากมารดา ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุเพียง ๑๓ ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยกับ ย.และ ป.ได้พาผู้เสียหายไปโดยมารดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้น ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยและพวกก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าว จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากมารดาแล้ว ทั้งเมื่อจำเลย และ ย.ได้หลบหนีออกจากบ้านงานไปก่อนโดยไม่นำผู้เสียหายกลับบ้าน ประกอบกับบ้านงานมีการเลี้ยงสุราและดมกาวซึ่งเป็นสารระเหย ทั้งบ้านงานก็ไม่มีผู้หญิง มีแต่พวกของจำเลยซึ่งเป็นชายทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันพรากผู้เสียหายไป จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง, ๘๓

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานและการตีความอำนาจปกครองในคดีอาญา
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นพยานบอกเล่าจะรับฟังดังเช่นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาหาได้ไม่ แต่อาจรับฟังว่าผู้เสียหายได้ให้การเช่นนั้นไว้ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อวิเคราะห์สอดส่องถึงข้อเท็จจริงในคดีได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของผู้เสียหายไว้โดยไม่ถูกต้อง และคำให้การของผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในชั้นสอบสวนก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังประกอบพยานอื่นดังนั้น ศาลพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานประกอบพยานหลักฐานอื่นลงโทษจำเลยได้
คำว่า "ผู้อยู่ในความปกครอง" ตาม ป.อ. มาตรา 285ต้องตีความโดยเคร่งครัด จำเลยมิใช่บิดาของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นเพียงบุตรติดนาง ป.มา แล้วนาง ป.อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลย อำนาจปกครองของผู้เสียหายจึงตกแก่นาง ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1568 จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองเด็กและการข่มขืนโดยบิดาเลี้ยง: การตีความ 'ผู้อยู่ในความปกครอง' ตามมาตรา 285
จำเลยมิใช่บิดาเด็กหญิง ม. โดยเด็กหญิง ม. เป็นบุตรติด ป. มาแล้ว ป. อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยฉะนั้น อำนาจปกครองเด็กหญิง ม. จึงตกอยู่แก่ ป.มารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1568 หาใช่อยู่ในความปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเลี้ยงไม่ และคำว่า"ผู้อยู่ในความปกครอง" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 หมายถึงความปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่เป็นความปกครองโดยพฤตินัย จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง ม.จึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กหญิงโดยบิดาเลี้ยง: อำนาจปกครองทางกฎหมายและบทบัญญัติอาญามาตรา 285
จำเลยมิใช่บิดาเด็กหญิงม. โดยเด็กหญิงม. เป็นบุตรติดป. มาแล้วป. อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยฉะนั้นอำนาจปกครองเด็กหญิงม. จึงตกอยู่แก่ป. มารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1568หาใช่อยู่ในความปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเลี้ยงไม่และคำว่า"ผู้อยู่ในความปกครอง"ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา285หมายถึงความปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มิใช่เป็นความปกครองโดยพฤตินัยจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงม.จึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองเด็ก: การกระทำชำเราเด็กที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่บิดามารดายังมีอำนาจปกครอง
บิดามารดาทอดทิ้งผู้เสียหายไปโดยไม่ทราบว่าบิดามารดาผู้เสียหายไปอยู่ที่แห่งใดส่วนจำเลยและภรรยาเป็นเพียงผู้รับผู้เสียหายมาอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาอำนาจปกครองผู้เสียหายจึงยังตกอยู่แก่บิดามารดาผู้เสียหายผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในความปกครองของจำเลยและภรรยาการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจะปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา285ไม่ได้
of 13