พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานไม่ระงับด้วยการตายของนายจ้าง หากหน่วยงานยังดำเนินอยู่ และอำนาจฟ้องเกิดขึ้นเมื่อมีการยุบหน่วยงาน
ว. จ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างในหน่วยวิคตอรี่ของบริษัท อ. แม้ต่อมา ว. จะถึงแก่ความตาย แต่หน่วยวิคตอรี่ก็ยังคงสามารถดำรงอยู่และบริการลูกค้าของบริษัท อ. ต่อไปได้โดยมิได้ยุบไปในทันทีที่ ว. ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. จึงหามีสาระสำคัญอยู่ที่ตัว ว. ผู้เป็นนายจ้างไม่ แม้ ว. จะถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวก็ไม่ระงับสิ้นไป
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. ระบุว่า "ข้าพเจ้า (นาย ว.) ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า บัญชีฝากประจำธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุรวงศ์ บัญชีเลขที่ 125 - 2 - 10103 - 8 ให้แก่ ส. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม ขอมอบให้ ส. (โจทก์) มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวของ ว. ครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องทายาทโดยธรรมของ ว. ให้แบ่งเงินฝากของ ว. ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะเรียกร้องเงินดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. ระบุว่า "ข้าพเจ้า (นาย ว.) ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า บัญชีฝากประจำธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุรวงศ์ บัญชีเลขที่ 125 - 2 - 10103 - 8 ให้แก่ ส. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม ขอมอบให้ ส. (โจทก์) มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวของ ว. ครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องทายาทโดยธรรมของ ว. ให้แบ่งเงินฝากของ ว. ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะเรียกร้องเงินดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานโดยให้มีผลนับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลไม่ จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะมีการผิดนัดชำระหนี้บางส่วน
ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ โจทก์ให้จำเลยผ่อนชำระเงินเป็นงวด งวดละ 7,000 บาท โดยโจทก์หักเงินเดือนจำเลยทุก ๆ สิ้นเดือน และจะหักเงินโบนัสประจำปีของทุก ๆ ปี เป็นเงื่อนไขสำคัญในการชำระหนี้ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลย วิธีการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันย่อมไม่สามารถกระทำต่อไปได้อีก แต่ก่อนหนี้จะถึงกำหนดชำระในงวดเดือนกันยายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์เพื่อขอชำระหนี้โดยการโอนเงินค่างวดเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ โดยให้โจทก์แจ้งหมายเลขบัญชีและธนาคารที่โจทก์ให้โอนเงินให้จำเลยทราบเพื่อจะได้โอนเงินให้ทุกวันสิ้นเดือน โจทก์ได้รับหนังสือแล้ว แต่หาแจ้งให้จำเลยทราบไม่ จำเลยจึงต้องแจ้งโจทก์อีก 2 ครั้ง แต่โจทก์กลับเพิกเฉยเช่นเดิม จำเลยจึงได้ชำระหนี้โจทก์โดยส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ แต่โจทก์กลับปฏิเสธไม่ยอมรับ ซ้ำกลับทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดโดยอ้างว่าจำเลยผิดนัดจนจำเลยต้องนำเงินไปวางชำระหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แสดงให้เห็นถึงความขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อขอบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่อีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์โดยผู้เสียหายที่ชักจูงให้เกิดความผิด อำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์ไม่ชอบ
การที่ผู้เสียหายได้ใช้ให้ อ. สั่งให้จำเลยซื้อแผ่นซีดีละเมิดสิขสิทธิ์ของกลางจากตลาดนัดมาให้เพื่อที่จะได้หลักฐานในการกระทำความผิด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าด้วยความสมัครใจของตนเองมาก่อนและพร้อมที่จะจัดหาแผ่นซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาได้ทันที นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่ทราบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในคดีนี้ และไม่ทราบเรื่องที่ อ. ได้ติดต่อขอซื้อแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจากจำเลยไว้ก่อน แต่เป็นการที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง แล้วแจ้งความร้องทุกข์เพื่อนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่ผู้เสียหายได้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และไม่อาจถือว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้เสียหายต้องแสดงเจตนาการกระทำความผิดของผู้กระทำ การชักจูงให้กระทำความผิดทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
พยานหลักฐานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะขายแผ่นซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีเป็นเรื่องที่ผู้แทนผู้เสียหายชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำผิด จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การชักจูงให้กระทำผิด
จำเลยไม่มีเจตนาแต่แรกที่จะขายแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย แต่เป็นกรณีที่ฝ่ายผู้เสียหายได้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: อำนาจฟ้อง, สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว.ยื่นฟ้องต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ หาได้ระบุมอบอำนาจให้ ว.ฟ้องผู้คัดค้านเป็นการเฉพาะคดีแต่ประการใดไม่ ว.จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้รับมอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าผู้คัดค้านก็ได้มีคำชี้ขาดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อ 5 (1) โดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามความจำเป็นในการยกเลิกทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือโอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วแต่ผู้คัดค้านจะเลือก อันเป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาหรืองดเว้นจากการกระทำตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่ข้อพิพาทที่ไม่อาจระงับได้โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน ข้อ 31, 32 ได้กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไว้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านจึงต้องตระหนักและผูกพันตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับที่ใช้แก่คู่สัญญาทั่วไปที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกันโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศหรือสัญชาติของคู่สัญญา
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าผู้คัดค้านก็ได้มีคำชี้ขาดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อ 5 (1) โดยให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามความจำเป็นในการยกเลิกทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือโอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วแต่ผู้คัดค้านจะเลือก อันเป็นคำชี้ขาดให้คู่สัญญากระทำการตามสัญญาหรืองดเว้นจากการกระทำตามสัญญาต่อไป จึงไม่ใช่ข้อพิพาทที่ไม่อาจระงับได้โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกัน ข้อ 31, 32 ได้กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไว้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นฝ่ายนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านจึงต้องตระหนักและผูกพันตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับที่ใช้แก่คู่สัญญาทั่วไปที่เข้าสู่กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของสมาคมอนุญาโตตุลาการอเมริกันโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศหรือสัญชาติของคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าหนี้/ผู้จัดการทรัพย์สิน vs. กรรมการ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกพิพากษาให้ล้มละลายบริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรกซึ่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และมาตรา 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ โดยการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่กระทบต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการดำเนินการตามมาตรา 22 (3) สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาหรือฐานความผิดบุกรุกขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 22 (3) ดังกล่าวที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. กรรมการ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกศาลแพ่งพิพากษาให้ล้มละลาย บริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรก ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 25 จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: การจัดการทรัพย์สิน vs. การดำเนินคดีอาญา
บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกโดยมิได้มีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) หรือจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนก็ได้