คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจวินิจฉัยคดีแรงงาน: อธิบดีศาลแรงงานกลางมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานเห็นสมควรยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาโดยอ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาในประเด็นนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 2,4,56,83 แต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติทางหลวงพ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2535 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2535 จำเลยได้กระทำความผิดและขอให้ลงโทษตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จึงเท่ากับโจทก์ขอให้ ลงโทษ ตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ศาลจะ พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาเรื่องกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งได้ถูกยกเลิกแล้ว มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนอนาถา และการนำมาใช้ในชั้นพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัย
ในชั้นไต่สวนอนาถา โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1ไว้ แม้บัญชีระบุพยานดังกล่าวโจทก์จะได้พิมพ์ข้อความต่อท้ายบัญชีพยานว่า "ไต่สวนอนาถา" แต่ในชั้นพิจารณาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมพร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นอีก แสดงว่าโจทก์ยังประสงค์จะถือเอาบัญชีระบุพยานทั้งสองฉบับที่ยื่นไว้ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 แล้ว โจทก์ชอบที่นำพยานตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวมาสืบได้
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ ในวันนี้โจทก์ไม่มีพยานมาศาล ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ โจทก์ก็ยื่นคำแถลงโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวด้วย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยานอันเป็นเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นไต่สวนอนาถา และการนำมาใช้ในชั้นพิจารณา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัย
ในชั้นไต่สวนอนาถา โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ไว้ แม้บัญชีระบุพยานดังกล่าวโจทก์จะได้พิมพ์ข้อความต่อท้ายบัญชีพยานว่า "ไต่สวนอนาถา" แต่ในชั้นพิจารณาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมพร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นอีก แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะถือเอาบัญชีระบุพยานทั้งสองฉบับที่ยื่นไว้ในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แล้ว โจทก์ชอบที่นำพยานตามบัญชีระบุพยานดังกล่าวมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินชำระหนี้เช็คและการรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยการรอการลงโทษได้แม้จะมีการวางเงินชำระหนี้
การที่จำเลยขอวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามเช็คแก่โจทก์ จำเลยสามารถทำได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลอุทธรณ์ส่วนการที่จำเลยขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในคำพิพากษาจากข้อเท็จจริงในสำนวนซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้ทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว เมื่อจำเลยยังมิได้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามเช็คแก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะต้อง ทำคำพิพากษาใหม่ ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ จำเลยอายุ 50 ปี อาชีพค้าขาย สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีภรรยาและบุตรผู้เยาว์ 4 คน อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู และในระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยได้บรรเทาผลเสียหายโดยวางเงิน จำนวนตามเช็คต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระแก่โจทก์ไม่ปรากฏ ว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน สมควรรอการลงโทษให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่านาเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นายท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง298 ไร่ จากนาง จ. มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนายป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนายป.ยังขีดข้อความว่า "จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นายป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนายป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของนายป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่าการบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31,34,36 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด 15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยค่าเสียหาย แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย หากประเด็นนั้นยกขึ้นว่ากันในคำฟ้องและคำให้การ
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหายเนื่องจากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว แต่ประเด็นข้อนี้ก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ทั้งอุทธรณ์ของโจทก์ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามฟ้องซึ่งถือว่าโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาที่นอกประเด็นข้อพิพาทเดิม ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ท. ทายาทตามพินัยกรรมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านยอมรับว่าพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์เพียงแต่ข้อความที่ถูกขีดฆ่าและต่อเติมไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นจึงได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมพิพาทส่วนที่มีการขีดฆ่าและเพิ่มข้อความสมบูรณ์ถูกต้องหรือไม่ เมื่อสืบพยานเสร็จ ผู้คัดค้านยื่นคำแถลงว่า ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเป็นลายมือชื่อปลอม พินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมทั้งฉบับ คำแถลงของผู้คัดค้านจึงเป็นการกล่าวอ้างนอกประเด็นไม่มีปัญหาที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัย และการที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันในศาลชั้นต้น
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยนั้น ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ มิใช่ข้อเท็จจริงนอกประเด็นนอกสำนวนที่ยกมากล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นอุทธรณ์ และการพิจารณาว่าคำเบิกความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งนั้นเป็นความเท็จแต่มิได้เป็นข้อสำคัญในคดี พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยเบิกความเท็จมีความเห็นพ้อง ด้วยในผล พิพากษายืน ดังนี้กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่อย่างใดและคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมาย กรณีจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 อีกเช่นกัน
การพิจารณาคดีอาญาของศาลอุทธรณ์ไม่จำกัดอยู่เพียงในปัญหาที่คู่ความอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายทั้งปวงที่ปรากฏในสำนวนขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งสิ้น เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้อง ก็ชอบที่จะวินิจฉัยคดีไปตามนั้นและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ซึ่งมาตรา 215 ให้นำมาใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอย่างใด.
(ความในวรรคแรกเป็นการวินิจฉัย มาตรา 220 ก่อนพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้บังคับ)
of 10