คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจ, การแจ้งข้อหา, ความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอดอนสัก จังหวัด-สุราษฎร์ธานี หรือเกิดในเขตอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานี-ตำรวจภูธรอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้ การสอบสวนจึงชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 แล้ว ทั้งการทำไม้หวงห้าม การแปรรูปไม้ในเขตควบคุม การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง และการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่ 4 และที่ 7 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 4 และที่ 7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: พิจารณาจากภูมิลำเนาจำเลย และการสอบสวนความผิดต่างกรรม
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและขอบเขตการสอบสวนความผิดหลายกระทง
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีค้ามนุษย์ของหน่วยเฉพาะกิจ: การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจไม่จำเป็นต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ร้อยตำรวจโทอ.และพันตำรวจโทพ.เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 1502/2530 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามการปลอมหนังสือเดินทางไปต่างประเทศการล่อลวงหญิงไปเพื่อการค้าประเวณีหรือในทางมิชอบในต่างประเทศการจัดส่งคนงานไปต่างประเทศโดยมิชอบ จึงเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจ และตามข้อ 5.3 ของคำสั่งดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจมีอำนาจเสนอขออนุมัติกรมตำรวจให้พนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจสอบสวนคดีความผิดตามคำสั่งดังกล่าวได้ และพันตำรวจโทพ.รักษาราชการแทนหัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจได้ขออนุมัติอธิบดีกรมตำรวจให้พันตำรวจโทพ.และร้อยตำรวจโทอ.ทำการสอบสวนคดีความผิดตามคำสั่งดังกล่าวและกรมตำรวจก็ได้อนุมัติแล้ว ร้อยตำรวจโทอ.และพันตำรวจโทพ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวนคดีดังกล่าว การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็น เพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ ไม่จำต้องตรา เป็นพระราชกฤษฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนหน่วยเฉพาะกิจ และความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนคดีค้ามนุษย์
ร้อยตำรวจโทอ. และพันตำรวจโทพ.เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา18วรรคสองและเป็นเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งกรมตำรวจที่1502/2530เรื่องการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามการปลอมหนังสือเดินทางไปต่างประเทศการล่อลวงหญิงไปเพื่อการค้าประเวณีหรือในทางมิชอบในต่างประเทศการจัดส่งคนงานไปต่างประเทศโดยมิชอบจึงเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจและตามข้อ5.3ของคำสั่งดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจมีอำนาจเสนอขออนุมัติกรมตำรวจให้พนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจสอบสวนคดีความผิดตามคำสั่งดังกล่าวได้และพันตำรวจโทพ.รักษาราชการแทนหัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจได้ขออนุมัติอธิบดีกรมตำรวจให้พันตำรวจโทพ.และร้อยตำรวจโทอ.ทำการสอบสวนคดีความผิดตามคำสั่งดังกล่าวและกรมตำรวจก็ได้อนุมัติแล้วร้อยตำรวจโทอ.และพันตำรวจโทพ.จึงมีอำนาจทำการสอบสวนคดีดังกล่าว การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจมิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3623/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปิดแสตมป์ไม่ครบ ไม่กระทบอำนาจสอบสวนคดีอาญา
ตราสารที่ปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงคดีอาญา แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์จะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรก็เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดแจ้งความเท็จที่เกิดต่างท้องที่ และการรอการลงโทษจากคุณงามความดี
จำเลยขายลดเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ต่อมาผู้เสียหายนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัดสาขานราธิวาสซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสและธนาคารดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสให้ดำเนินคดีจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 แต่จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลก ว่าเช็คฉบับดังกล่าวหายไปพนักงานอัยการเห็นว่าการแจ้งความดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จ จึงสั่งให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาสสอบสวนเพิ่มเติมและแจ้งข้อหาต่อจำเลยเพิ่มเติมดังนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และเมื่อเป็นความผิดหลายกระทงย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จโดยไม่ต้องขอผัดฟ้อง พร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่ และความเกี่ยวพันของความผิดอาญา
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ.อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวนสภ.อ. เมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกันซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ข้อโต้แย้งเรื่องสถานที่เกิดเหตุและอำนาจสอบสวน เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4(1)(3)ลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยให้จำคุก 2 เดือน มิได้แก้บทกฎหมายที่จำเลยกระทำความผิดเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก ฎีกาจำเลยในปัญหาเรื่องอำนาจสอบสวนนั้นเหตุที่จำเลยอาศัยเป็นหลักแห่งข้อโต้แย้งคือ จำเลยมีพยานรู้เห็นว่าจำเลยได้มอบเช็คพิพาทให้แก่ ป. มิใช่ให้แก่โจทก์ร่วม ดังนั้น สถานที่เกิดเหตุอยู่ที่ธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งอยู่ในท้องที่การสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลพญาไท หาใช่สถานีตำรวจนครบาลสามเสนซึ่งเป็นท้องที่ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายโดยตรง การร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสามเสนไม่มีอำนาจสอบสวนฎีกาจำเลยดังกล่าวนี้มีเนื้อหาสาระเป็นการโต้แย้งข้อวินิจฉัยของศาลในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยตรงหรือไม่ ท้องที่เกิดเหตุเป็นท้องที่ใดเป็นหลักส่วนเรื่องอำนาจสอบสวนเป็นเพียงผลสรุปแห่งข้อโต้แย้งในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวเท่านั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการกล่าวหาในความผิดอาญา และอำนาจการสอบสวน/ฟ้องคดี
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นาย ส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์ และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นการกล่าวหาเฉพาะนาย ส.กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วย ทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนาย ส.จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษ ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา2 (7), 123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 19