พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเอง ต้องส่งศาลอุทธรณ์-กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งกรณีนี้ตามมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองเป็นการไม่ชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งตามมาตรา 229 กรณีมิใช่การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน ตามมาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้ยื่นฟ้อง ทำให้ขาดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ถอนฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงยุติ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4033/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อหาพาอาวุธและประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถรับฟังได้ในคดีทำร้ายร่างกาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ลงโทษปรับ 100 บาท ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ขอให้พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาดังกล่าว ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกข้อหานี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อแจ้งประเมิน, การไม่อุทธรณ์ทำให้สิ้นสิทธิโต้แย้ง
จำเลยได้รับการแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระต่อพนักงานเก็บภาษีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการแจ้งประเมิน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 และมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 และ 2536 ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระแล้ว ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 และ 2536 จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยุ่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจกฎหมายกำหนดวิธีการให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน หากจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปในชั้นการประเมินแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจกฎหมายกำหนดวิธีการให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน หากจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปในชั้นการประเมินแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ทำให้คดีถึงที่สุด จำเลยไม่อาจขอวางเงินค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย และให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายใน 15 วัน แต่จำเลยไม่ชำระภายในกำหนด กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการวางเงินศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย ดังนี้ ทางแก้ของจำเลยคือจำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ และนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดระยะเวลา คดีย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมศาลได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่และการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยตามคำร้องลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยตามคำร้องลงวันที่ 23 สิงหาคม 2544 และวันที่ 9 มกราคม 2546 ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของคำร้องทั้งสองฉบับแล้วว่าไม่ครบหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสองและมาตรา 199 เบญจ วรรคสอง การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง ดังนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาเป็นประการใด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุด ตามมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ว่า อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและรับฟังว่าสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครรับจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไว้โดยมีการมอบอำนาจไม่ขาดสาย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงโดยอ้างว่าเป็นข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ชี้เป็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ขณะที่ทำคำขอสินเชื่อ สัญญากู้เงิน และสัญญาค้ำประกันเงินกู้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนจันทร์ สะพาน 5 ยังไม่ได้จดทะเบียนสาขา ไม่อาจมีการมอบอำนาจจากโจทก์ให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการสาขา นิติกรรมที่ทำที่สาขาถนนจันทร์ สะพาน 5 ไม่อาจใช้บังคับได้ สัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันเงินกู้จึงตกเป็นโมฆะนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เป็นการยกเหตุแห่งการต่อสู้ขึ้นใหม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คดีเยาวชน: การพิจารณาอัตราโทษตามฟ้อง มิใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งต้องระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมิได้มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ก็ตาม จำเลยยังมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้องว่าต้องห้ามหรือไม่ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยมิได้กระทำผิดอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว